Sunday, 31 July 2011

การขายปลีกในประเทศญี่ปุ่น

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔

วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับการขายปลีกในประเทศญี่ปุ่นที่น่าสนใจ
บทความนี้บอกว่าการตลาดในญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงเพราะว่ามีจำนวนคนแก่มากขึ้น(ที่ญี่ปุ่นคนแก่มีทรัพย์สินมากดันนั้นการตลาตสำหรับคนแก่ก็เลยมีความสำคัญมากขึ้น)


นักเขียนอธิบายเรื่องนี้โดยใช้ตัวอย่างของร้านกาแฟอุเอะชิม่า
เทียบกับร้านกาแฟอื่นแล้ว ร้านกาแฟอุเอะชิม่าเหมาะสำหรับคนแก่มากกว่าเพราะว่าฟอนต์ของเมนูมีขนาดใหญ่และไม่ค่อยมีภาษาอังกฤษ(ส่วนใหญ่เขียนโดยใช้อักษรจีน) ไม่มีอาหารที่เคี้ยวยาก โต๊ะส่วนใหญ่ไม่สูง พนักงานบริการเอากาแฟกับอาหารมาให้ถึงโต๊ะ(ลูกค้าไม่ต้องไปรับด้วยตัวเอง)
โจก็เคยไปร้านกาแฟนั้นแต่ไม่เคยรู้สึกว่าร้านกาแฟนี้เป็นร้านสำหรับคนแก่
นักเขียนชี้ให้เห็นว่าการตลาดสำหรับคนแก่ต้องไม่บอกให้คนแก่รู้ว่าร้านนั้นเป็นร้านสำหรับคนแก่เพราะว่าคนแก่ไม่อยากให้คิดว่าเขาแก่แล้วและไม่ชอบการโฆษณาสำหรับคนแก่ รู้สึกว่าการตลาดสำหรับคนแค่ยาก

อ้างอิงTurning silver into gold (Jul 30th 2011 From The Economist)
               Ueshima coffee shop (http://www.ueshima-coffee-ten.jp/)

Sunday, 24 July 2011

เอมี ไวน์เฮาส์

วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔
วันนี้โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่านักร้อง เอมี ไวน์เฮาส์ เสียชีวิตแล้ว (เขาอายุเท่ากับโจ)
โจก็เคยฟังเพลงของเขาบ่อยและรู้สึกเสียใจมาก 
ขอให้เขาไปสู่สุคติ

นโยบายของอเมริกา/โปรแกรมแสตมป์อาหาร

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับนโยบายโปรแกรมแสตมป์อาหารของอเมริกา

ตั้งแต่เศรษฐกิจของอเมริกาแย่ลงในปี ๒๕๕๑ จำนวนคนที่รับแสตมป์อาหารเพิ่มขึ้นและตอนนี้ ทุก ๑ ใน ๗คนรับแสตมป์อาหาร แต่เดี๋ยวนี้รัฐบาลคิดว่าอยากให้งบประมาณของโปรแกรมนี้ลดลงเพราะว่าสถานการณ์ทางงบประมาณรัฐบาลก็มีปัญหามาก
บางคนไม่ยอมรับความคิดนี้ของรัฐบาลเพราะว่าเศรษฐกิจของอเมริกายังไม่ดี (เดี๋ยวนี้อัตราการตกงานก็เพิ่มขึ้น) นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายของอาหารสำหรับคนยากจนก็เป็นสิ่งที่จำเป็น ราวๆ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ของคนที่รับแสตมป์อาหารเป็นเด็กกับคนแก่และแค่ ๑๔ เปอร์เซ็นต์ของคนที่รับแสตมป์อาหารมีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจน

แต่บางคนชี้ให้เห็นว่านอกจากสถานการณ์ของเศรษฐกิจแล้วการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมนี้ก็ทำให้จำนวนคนที่รับแสตมป์เพิ่มขึ้นด้วย (รัฐบาลผ่อนคลายระเบียบทำให้การรับแสตมป์อาหารง่ายขึ้น)
นอกจากนี้ อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำหรับโปรแกรมนี้สูงกว่าค่าใช้จ่ายของมาตรการอื่นสำหรับคนยากจนด้วย
ในบทความนี้นักเขียนไม่บอกว่ารัฐบาลจะทำอย่างไร โจก็ไม่รู้ว่าการลดลงของงบประมาณโปรแกรมนี้เป็นเรื่องดีหรือเปล่า แต่ดูเหมือนว่าโปรแกรมนี้จะไม่ทำให้คนจนมีความสามารถในการหาเลี้ยงตัวเองได้และเป็นอิสระจากความช่วยเหลือของรัฐบาล
โจคิดว่าการให้แสตมป์อาหารไม่พอ รัฐบาลต้องทำให้คนยากจนมีความสามารถที่จะซื้ออาหารโดยใช้รายได้ของเขาเองด้วย แต่ไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมอะไรในอเมริกาจะเจริญในอนาคต และไม่รู้ว่าคนตกงานจะต้องเข้าร่วมการฝึกอบรมทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมอะไรดี

คิดว่าจะใช้เวลานานในการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นี้
  
อ้างอิง Food stamps /The struggle to eat (Jul 14th 2011)

Sunday, 17 July 2011

เศรษฐกิจของอิตาลีกับยุโรป

วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจยุโรปและรู้สึกว่าโจล้าหลังกว่าความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ 
สมัยโจวิจัยเศรษฐกิจยุโรปและเขียนรายงานเรื่องนั้น(ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้วถึงเดือนมีนาคมปีนี้)ทุกวันโจอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รายงาน เกี่ยวกับยุโรปและตรวจสถิติของหลายประเทศในยุโรป เวลานั้น ประเทศ PIGS(ประเทศกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน)มีปัญหาทางงบประมาณภาครัฐและประเทศกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกสได้ขอความช่วยเหลือจาก  IMF กับ EU  

ตอนนั้นโจคิดว่าประเทศ สเปนก็จะเป็นรายต่อไปด้วย  แต่ตั้งแต่โจเข้าร่วมโปรเจ็คต์ในรัฐบาลโจไม่ค่อยมีเวลาติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและไม่รู้ว่าตลาดการเงินในยุโรปเป็นอย่างไรบ้าง
บทความใน “The Economist” บอกว่าเดี๋ยวนี้นอกจากเศรษฐกิจของ PIGS แล้ว สถานการณ์ทางงบประมาณภาครัฐของประเทศอิตาลีก็ทำให้นักลงทุนกลัวและทำให้อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสูงขึ้น นักเขียนของบทความนี้ชี้ให้เห้นว่าเศรษฐกิจของอิตาลีใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่๓ในยุโรปและจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศอื่น(เศรษซฐกิจโลก)แย่ลงตามไปด้วย

หลังจากโจอ่านบทความนี้โจรู้สึกว่าเศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงเร็วจริงๆและรู้สึกว่าต้องอ่านหนังสือพิมพ์ บ่อยๆ ถึงแม้ว่าไม่ค่อยมีเวลา เพราะไม่อยากล้าหลังเกี่ยวกับเรื่องสำคัญของเศรษฐกิจ
จริงๆแล้วเดี๋ยวนี้โปรเจ็คต์ของโจยุ่งมากขึ้นและทำให้ไม่ได้ทำสิ่งที่โจอยากทำเช่นเรียนภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ไปออกกำลังกาย เป็นต้น (เรื่องนี้เป็นเป้าหมายในปีนี้)
อยากจะใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ้างอิง
On the edge (Jul 14th  2011 From The Economist )
The road to Rome  (Jul 14th  2011 From The Economist )
Huge mess,untidy solutions (Jul 14th  2011 From The Economist )