Sunday 30 October 2011

การประชุมเกี่ยวกับนโยบายการค้าเสรี

วันนี้โจเข้าร่วมการประชุมของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจของกลุ่มแคนอนที่เพื่อนทำงานอยู่

การประชุมนั้นมีเรื่องเกี่ยวกับนโนบายการค้าเสรีและสำนักงานนี้คิดว่าญี่ปุ่นจะต้องเข้าร่วมการเจรจาTPP (ตอนนี้รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังคิดว่าการเข้าร่วมกลุ่ม TPP จะมีผลดีผลเสียอย่างไร)




จริงๆแล้วมีคนบอกว่านโยบายนี้จะทำให้การนำเข้าอาหารที่ราคาถูกกว่าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นและยอดขายกับราคาอาหารของญี่ปุ่นลดลง

เกษตรกรส่วนใหญ่ก็เลยไม่ชอบนโยบายนี้ (นักการเมืองบางคนที่คิดถึงฐานคะแนนเสียงจากเกษตรกรก็ไม่ยอมรับนโยบายนี้ด้วย) 
 
แต่นักวิจัยที่อธิบายในการประชุมนี้บอกว่านโยบายนี้ไม่มีผลเสียเลย จริงๆแล้วราคาอาหารกับยอดขายภายในประเทศอาจจะลดลงแต่การที่ราคาลดลงจะทำให้การส่งออกอาหารเพิ่มขึ้น 
เขาบอกว่าความสำคัญของการส่งออกอาหารจะเพิ่มขึ้นสำหรับเกษตรกรเพราะจำนวนประชากรของญี่ปุ่นจะลดลงแต่ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นต่อไป (นักวิจัยบอกว่าถ้ารายได้ของเกษตรกรลดลง รัฐบาลจะต้องช่วยเขาโดยใช้นโยบายการปรับการกระจายรายได้ ไม่ต้องช่วยโดยการจำกัดการนำเข้าจากนโยบายทางภาษีสำหรับการนำเข้า)
โจเข้าใจความคิดของนักวิจัย แต่ไม่ทราบว่าเกษตรกรและกลุ่มคนที่มาเห็นด้วยกับ TPP เข้าใจความคิดนี้หรือไม่ ไม่แน่ใจว่าพสกเขามายอมรับ TPP เพราะว่าไม่ทราบเรื่องที่นักวิจัยอธิบาย หรือว่าทราบแล้วแต่ก็ยังไม่ยอมรับ
(ที่การประชุมนั้นไม่มีนักวิจัยที่คิดว่าการเข้าร่วมกลุ่ม TPP ทำให้มีผลเสีย แต่โจอยากฟังการโต้เถียงระหว่างกลุ่มที่คิดว่าการเข้าร่วม TPP ทำให้มีผลดีกับกลุ่มที่ไม่ยอมรับความคิดนี้)
ภายในอีก ๒ อาทิตย์รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมหรือไม่
 โจก็ยังไม่เคยเข้าร่วมการประชุมของกลุ่มทิ่ไม่ยอมรับนโยบายนี้และไม่ค่อยเข้าใจผลเสียของการเข้าร่วม TPP แต่คิดว่าในอนาคตเราจะไม่ยอมรับกระแสโลกาภิวัตน์ไม่ได้และจะต้องเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งเพื่อทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวได้เข้ากับกระแสโลกาภิวัตน์

หลังจากการประชุมนี้โจกับเพื่องไปร้านกาแฟที่อยู่ในออฟฟิศของเขา จริงๆรู้สึกว่าออฟฟิศของเขาสวยและสะดวกมาก

Tuesday 25 October 2011

ประชากรโลก


วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับจำนวนประชากรโลก

สหประชาชาติคาดว่าจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มมากกว่า ๗ พันล้านคนในเดือนนี้และจะใช้เวลาแค่ ๑๒ ปีเท่านั้นที่จำนวนจะเพิ่มจาก ๖ พันล้านคนถึง ๗ พันล้านคน (ราวๆ ๖๐ ปีที่แล้วมีจำนวนแค่ ๒ พัน ๕ ร้อยล้านคนเท่านั้น )

สหประชาชาติคาดว่าจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มมากกว่า ๑ หมื่นล้านคนในอีก ๔๐ ปี ข้างหน้า มีคนบอกว่าการเพิ่มจำนวนประชากรโลกจะทำให้อัตราการเพิ่มของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นต่อไปแต่สถานการณ์ในอนาคตจะไม่เหมือนกับสมัยก่อน
สมัยก่อนอัตราส่วนของคนรุ่นใหม่ในหลายประเทศเพิ่มขึ่นแต่ในอนาคตอัตรานี้จะลดลงและ อัตราการเพิ่มของคนรุ่งเก่าจะเพิ่มขึ้นแทนซึงทำให้เศรษฐกิจแย่ลง 
นอกจากนี้แล้วเรายังไม่แน่ใจว่าโลกนี้จะรองรับประชากร ๑ หมื่นพันล้านคนได้หรือไม่(ไม่รู้ว่าโลกนี้จะรองรับได้สูงสุดกี่คน)

จริงๆแล้วอัตราการเกิดในโลกกำลังลดลงแต่สถานการณ์นี้ก็ไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ
(บางประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่นจะต้องเพิ่มอัตรานี้แต่ประเทศในแอฟริกาจะต้องทำให้อัตรานี้ลดลง)

บทความนี้ไม่บอกว่าจำนวนประชากรในโลกหลังจากปี ๒๖๐๓(ค.ศ ๒๑๕๐)จะมีจำนวนเท่าไรแต่โจอยากรู้ว่าสถานการณ์เกี่ยวกับจำนวนประชากรกับเศรษฐกิจหลังจากนั้นจะเป็นอยางไร ไม่รู้ว่าทำไมแต่โจคิดว่าจำนวนประชากรโลกจะลดลงในอนาคต

อ้างอิง
The tale of three islands (Oct 22nd 2011 From The Economist)
Now we are seven billion (Oct 22nd 2011 From The Economist)

หูฟัง

ดี๋ยวนี้โจกำลังห้าหูฟังใหม่อยู่เพราะหูฟังที่โจกำลังใช้อนยู่เสียแล้ว(พนักงานในร้านบอกว่าค่าซ่อมจะเท่ากับราคาซื้อของใหม่) แต่ยังห้าอันที่อยากจะซื้อไม่ได้
อยากจะซื้อหูฟังที่คุณภาพเสียงดีและไม่เสียงาย(โจรู้สึกว่าหูฟังที่โจกำลังใช้อยู่เสียง่าย) 
ตอนแรกรู้สึกว่าคุณภาพเสียงของโซนี่ดีและอยากจะซื้อ แต่ดูเหมือนว่าหูฟังมีขนาดใหญ่มากไป
 

มีอีกอันที่ชอบ(หูฟังของมอนสเตอร์) แต่หูฟังนี้มีราคาค่อยข้างแพง   
ลองหานานแล้วๆรู้สึกเหนื่อยมาก

Sunday 23 October 2011

ประธานใหม่ของธนาคารกลางยุโรป


ตั้งแต่เดือนหน้า ประธานของธนาคารกลางยุโรปจะเปลี่ยนเป็นนาย มาริโอ ดรากี
ดูเหมือนว่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลำบากาสำหรับเขาเพราะว่าสถานการณ์ของปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลในประเทศยุโรปยังไม่ดีเลย 
(มีคนบอกว่าเรื่องเกี่ยวกับปัญหานี้ก็ผิดคาดมากเพราะว่าทุกคนพยายามมากเพื่อทำให้สถานการณ์นี้ดีขึ้นโดยการออกนโยบายลดงปประมาณรัฐบาลลง แต่การลดลงของงบประมาณนี้กลับทำให้เศรษฐกิจแย่ลงและทำให้รายได้จากภาษีลดลงและอัตราหนี้ต่อ GDPเพิ่มขึ้น)
ทุกคนคิดว่าประธานอีซีบีใหม่จะต้องดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ทำได้ยากมาก 
(สมัยก่อนคนส่วนใหญ่คิดว่านาย แอ็กเซล เวเบอร์ (ประธานธนาคารกลางเยอรมัน)จะเป็นประธานอีซีบีคนใหม่และเขาจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้นเพราะเขากลัวว่านโยบายของตอนนี้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงมาก)
ไม่รู้ว่าประธานอีซีบีใหม่จะทำให้สถานการณ์ของตอนนี้ดีขึ้นหรือไม่ เพราะว่านอกจากนโยบายของอีซีบีแล้วปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเมืองในงประเทศเยอรมนีด้วย
ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีของประเทศเยอรมนีนาง อังเกลาแมร์เคิลก็อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก(เขารู้ว่าประชาชนเยอรมนีไม่อยากจะช่วยประเทศกรีซ แต่เขาก็รู้ว่าถ้าอยากจะหลีกเลี่ยงวิกฤตที่มาจากการผิดนัดชำระหนี้ ของกรีซ ประเทศเยอรมนีจะต้องช่วยประเทศกรีซ)
ไม่รู้ว่าทำไมแต่นอกจากหลายคนแล้วเดี๋ยวนี้โจก็เริ่มรู้สึกว่าไม่มีใครและไม่มีนโยบายที่ทำให้สถานการณ์นี้ดีขึ้น (ยกเว้นแต่จะมีนโยบายที่ยอมรับการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลกรีซ)

อ้างอิง
The European Central Bank (Oct 22nd 2011 From The Economist)
Time for Super Mario (Oct 22nd 2011 From The Economist)

Sunday 16 October 2011

การเปลี่ยนแปลงของประเทศพม่า


เดี๋ยวนี้นิตยสารกับหนังสือพิมพ์มีบทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศพม่ามากขึ้น
ดูเหมือนว่าตั้งแต่ปีที่แล้วรัฐบาลของประเทศพม่าเริ่มเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมือง(นิดหน่อย)ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วรัฐบาลให้นางอองซานซูจีมีอิสระมากกว่าเมื่อก่อนและมีการเลือกตั้ง(แต่ทุกคนบอกว่าการเลือกตั้งนี้ไม่แสดงว่าประเทศพม่ามีประชาธิปไตยแล้วเพราะว่าการเลือกตั้งนี้ไม่ยุติธรรม)นอกจากนั้นในเดือนนี้รัฐบาลปล่อยนักโทษทางการเมืองราวๆ ๒๐๐ คนให้เป็นอิสระด้วย
รัฐบาลไม่อธิบายว่าทำไมถึงได้เปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมือง แต่หลายคนชี้ให้เห็นว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลพม่าเริ่มเปลี่ยนแป มีคนบอกว่ารัฐบาลของประเทศพม่าอยากให้ต่างประเทศหยุดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่าและอยากให้การลงทุนที่มาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจดีขึ้น
 มีคนบอกว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกับรัฐบาลในประเทศตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือทำให้รัฐบาลพม่าเปลี่ยนแปลงความคิดด้วย
นอกจากนี้แล้วมีคนบอกว่าเดี๋ยวนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพม่ากับประเทศจีนกำลังเปลี่ยนแปลง(ประชาชนบางส่วนไม่ชอบการลงทุนที่มาจากประเทศจีนเพราะว่าบางบริษัทของประเทศจีนคิดถึงแค่ทรัพยากรกับกำไรและไม่ค่อยคิดถึงธรรมชาติกับคุณภาพชีวีตของคนในพม่า)และประเทศพม่าอยากให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นแน่นแฟ้นมากกว่าประเทศจีน
ไม่รู้ว่าปัจจัยไหนก็ถูก แต่ทุกคนบอกว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศพม่าเป็นเรื่องดี การเปลี่ยนแปลงยังไม่เพียงพอแต่สถานการณ์กำลังดีขึ้นและทุกคนหวังว่ากระแสนี้จะคำเนินต่อไป
โจก็หวังว่าระบบการเมืองของประเทศพม่าจะดีขึ้นและความเสี่ยงของการทำธุรกิจในประเทศพม่าจะลดลงคิดว่าเศรษฐกิจพม่ามีศักยภาพมากเพราะมีคนมากกว่า ๕๐ล้านคน อยู่ใกล้ประเทศอินเดียกับจีนและการส่งออกสะดวก  เปรียบเทียบประเทศอื่นค่าแรงยังน้อย สำหรับการเกษตร คุณภาพดินก็ดี
ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจของประเทศพม่าในอนาคตขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการทำธุรกิจเท่านั้น
 
อ้างอิง
A taste of freedom (Oct 15th 2011 From The Economist)
New light in Myanmar (Sep 17th 2011 From The Economist)
A Burmese spring? (Oct 8th 2011 From The Economist)
A change to believe in? (Oct 8th 2011 From The Economist)
        

Saturday 15 October 2011

มีเรื่องที่อยากจะเขียนมากแต่ไม่ค่อยมีเวลา

ช่วงนี้โจคิดหัวข้อเกี่ยวกับเศรษฐกิจประเทศไทยที่โจอยากจะเขียน จริงๆแล้วตอนนี้โจกำลังเขียนรายงานเรื่องเกี่ยวกับระบบ GDP ของประเทศไทย แต่นอกจากเรื่องนี้แล้วเดี๋ยวนี้ก็เริ่มรู้สึกว่าอยากจะเขียนเรื่องอื่นด้วย ยังไม่แน่ใจว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีแต่อยากจะเขียนเรื่องที่คนอื่นยังไม่ค่อยเขียนและหลายคนก็รู้สึกสนใจ
หัวข้อ ที่ ๑  เรื่องเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  มีคนบอกว่าอัตราส่วน GDP ของอาเซียนในโลกจะสูงขึ้นต่อไป แต่อัตราส่วน GDP ของประเทศไทยในอาเซียนจะลดลงเพราะ อัตราการพัฒนาของประเทศอื่นเช่นประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนามสูงกว่าประเทศไทย ในสถานการณ์แบบนี้สำหรับประเทศไทยการรวมกลุ่มทางเศรษกิจจะมีความสำคัญมากกว่าประเทศอื่น

หัวข้อที่ ๒ เรื่องเกี่ยวกับ สถานการณ์ทางงบประมาณของรัฐบาลในอาเซียน ตอนนี้ทุกคนมุ่งเน้นไปที่ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลในประเทศพัฒนาแล้ว แต่โจอยากรู้ว่าประเทศในอาเซียนก็มีความเสี่ยงนี้เหมือนกับประเทศในยุโรปหรือไม่
หัวขอที่ ๓  เรื่องเกี่ยวกับตลาดการเงิน เคยอ่านบทความเกี่ยวกับตลาดพันธบัตร(ไม่รู้ว่าเพราะอะไรเหมือนกันแต่ดูเหมือนว่ามีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี่มาก) แต่ไม่ค่อยเห็นรายงานเกี่ยวกับตลาดอื่นเช่นตลาดตราสารอนุพันธ์ (แต่โจไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับระบบตลาดเงินนี้และคิดว่าจะต้องใช่เวลานานในการทำความเข้าใจ)
หัวข้อที่ ๔  เรื่องเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางด้านคุณภาพชีวิตระหว่างในเมืองกับต่างจังหวัด ทุกคนบอกว่ามีความเหลื่อมล้ำขนาดใหญ่ระหว่างในเมืองกับต่างจังหวัดและบางคนบอกว่าความเหลื่อมล้ำนี้ยังไม่ค่อยลดลงและจะทำให้เกิดปัญหา 
แต่ดูเหมือนว่าคนๆนั้นไม่ค่อยคิดถึงเรื่องคุณภาพชีวิต (โจก็คิดว่าระหว่างเมืองกับต่างจังหวัดมีความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจแต่คิดว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านคุณภาพชีวิตน้อยกว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจเพราะที่ต่างจังหวัดมีธรรมชาติเยอะ มีความเครียดน้อย บ้านมีขนาดใหญ่ และสิงของราคาถูก) นอกจากเรื่องความเหลื่อมล้ำในตอนนี้แล้วอยากวิจัยนโยบายกับระบบการศึกษาที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำน้อยลง
หัวข้อที่ ๕  เรื่องเกี่ยวกับตลาดแรงงาน ไม่ค่อยรู้ว่าทำไมแต่อัตราการตกงานในประเทศไทยน้อยกว่าประเทศอื่น อยากรู้ว่านอกจากปัญหาเกี่ยวกับสถิติกับคำจำกัดความคนตกงานแล้วมีปัจจัยอื่นด้วยหรือไม่
หัวข้อที่ ๖ เรื่องเกี่ยวกับสาวประเภทสอง มีคนบอกว่าประเทศไทยมีสาวประเภทสองมากกว่าประเทศอื่นและมีหลายปัจจัยเช่นศาสนา ลักษณะนิสัยของคนไทย และความสะดวกจองการผ่าตัดเป็นต้น ทำให้สังคนไทยยอมรับสาวประเภทสองแต่ไม่เคยอ่านบทความที่มุ่งเน้นไปที่ด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ(อยากรู้ว่ามีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ทำให้เขาแปลงเพศหรือไม่ และอยากรู้ว่าการเพิ่มจำนวนสาวประเภทสองจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อเศรษฐกิจในอนาคตหรือไม่
สำหรับโจแล้วทุกเรื่องก็ดูน่าส่นใจมากแต่ยังไม่แนใจว่าเขียนเรื่องอะไรดี (จะต้องเลือกเรื่องที่สนใจและสามารถเขียนได้)ถ้าโปรเจ็คต์ที่โจกำลังเข้าร่วมเสร็จแล้ว โจอยากจะมีเวลาเขียงเรื่องนี้ (ถ้าทำได้อยากจะวิจัยแค่เศรษฐกิจในอาเชียน)