Saturday 28 December 2019

การดูหนัง Sumikko Gurashi (แก็งค์มุมห้อง)

เดือนนี้โจไปดูหนังอะนิเมะชื่อ Sumikko Gurashi เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของ Sumikko (สัตว์แปลกนิดหน่อยที่ชอบอยู่มุมห้อง) เช่น หมีขาวที่ขี้หนาวและเข้ากับผู้คนได้ยาก แมวที่ขี้อายมาก และเพนกวินสีเขียวที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นเพนกวินจริงหรือไม่ เป็นต้น
https://www.dek-d.com/board/view/3491315/
หนังเรื่องนี้เป็นหนังสำหรับเด็ก แต่โจก็รู้สึกสนใจกับเรื่องนี้เพราะว่าความเห็นในอินเตอร์เน็ตหลายคนบอกว่า ผู้ใหญ่ก็สามารถรู้สึกประทับใจด้วยได้แน่นอน ในเรื่องนี้ Sumikko เจอลูกไก่ที่หลงทางและช่วยมันกลับบ้าน(เขาจำไม่ได้ว่าตัวเองมาจากที่ไหนด้วย เพนกวินเลยรู้สึกเห็นใจกับเขา)
https://www.dek-d.com/board/view/3491315/
โจรู้สึกว่าตัวละครในเรื่องนี้ทุกตัวน่ารักมากและตลกดีด้วย นอกจากนี้แล้ว นิสัยที่ใจดี ความมีนำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของพวกเขาทำให้โจรู้สึกอุ่นใจมากด้วย คิดว่าผู้ใหญ่ที่เคยรู้สึกเหงาเพราะไม่แน่ใจว่าที่ไหนเป็นสถานที่ของตัวเอง หรือคนที่เคยรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้อยู่กับคนสำคัญ (เช่นเพื่อนสนิท แฟน และครอบครัวเป็นต้น) อาจจะเข้าใจความรู้สึกของลูกไก่ให้อย่างลึกซึ้งได้  เพราะว่าเรื่องนี้แสดงถึงความสุขที่ได้อยู่ด้วยกันกับคนสำคัญกับความเศร้าที่ไม่ได้อยู่ด้วยกับคนที่อยากจะอยู่ด้วยกับต่อไป และทำให้เรารู้ว่าแม้ว่าเราไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ต่อไป เราสามารถแสดงส่งความห่วงใยต่อคนนั้นต่อไปได้
https://www.dek-d.com/board/view/3491315/
โลกทุกวันนี้โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ต หลายคนเถียงกันและกล่าวร้ายผู้อื่นมากๆ เลยอยากให้พวกเขาได้ดู Sumikko Gurashi ก่อนนินทาใส่ร้ายผู้อื่น 

Sunday 27 October 2019

สังคมไร้เงินสดของญี่ปุ่น


ตั้งแต่เดือนนี้ ภาษีบริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อช่วยเศรษฐกิจและ ส่งเสริมสังคมไร้เงินสด รัฐบาลใช้นโยบายการลดราคา 2-5 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้บริโภคที่จ่ายเงินโดยไม่ใช้เงินสด (เช่นใช้ใช้ บัตรเครดิต หรือ สมาร์ทโฟนแทน) หลายบริษัทเริ่มใช้วิธีใหม่ๆ เช่น Pay Pay, Line Pay แต่อาจจะเพราะว่าโจเป็นคนแก่แล้ว โจยังไม่เคยใช้วิธีเหล่านี้ 
https://plusalphadigital.com/cashless-payment-japan/

ปกติโจใช้ บัตร Suica /Pasmo สำหรับสินค้าราคาถูกและใช้บัตรเครดิตสำหรับสินค้าราคาแพง ใช้เงินสดสำหรับร้านที่ไม่รับบัตรเท่านั้น ดูเหมือนว่าตอนนี้ อัตราส่วนของการบริโภคที่ไม่ใช้เงินสดของญี่ปุ่นอยู่ที่ราวๆ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นอัตราส่วนนี้ต่ำกว่าประเทศอื่น รัฐบาลอยากจะเพิ่มอัตราส่วนนี้เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ก่อนปี  .. 2025
https://www.nippon.com/en/in-depth/d00492/the-state-of-cashless-payments-in-japan.html

สถานการณ์นี้จะเปลี่ยนหรือไม่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมผู้สูงอายุ โจรู้สึกว่าผู้สูงอายุยังไม่ค่อยมีความมั่นใจกับวิธีจ่ายเงินใหม่และไม่ค่อยถนัดใช้สมาร์ทโฟนด้วย แต่พวกเขาก็ใช้บัตร Suica /Pasmo บ่อยๆแล้ว เพราะว่าวิธีจ่ายเงินด้วย บัตร Suica /Pasmo ก็ง่ายกว่าการใช้สมาร์ทโฟนและไม่มีความเสี่ยงเหมือนวิธีอื่น  (ไม่ต้องลงทะเบียนบัญชีธนาคารก่อนใช้บัตรนี้  ไม่สามารถยืมเงินได้  เก็บเงินได้สูงสุด 20,000 เยนเท่านั้น ถ้าทำบัตรนี้หายไป จะสามารถทำอันใหม่ได้โดยไม่ต้องเสียเงินที่เก็บในบัตรเก่าคิดว่าในต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยใช้รถไฟ หลายคนยังไม่มีบัตร Suica /Pasmo และร้านที่จะยอมรับบัตรนี้ก็มีไม่มาก
อยากจะรู้ว่าสถานการณ์ในต่างจังหวัดแบบนี้จะเปลี่ยนอย่างไร

๒ เดือนที่ผ่านมา

ระหว่างอาจารย์ภาษาไทยกลับไทยอยู่ โจก็ยุ่งกับหลายเรื่องและไม่ได้เรียนภาษาไทยเลยประมาณ 2 เดือน (จึงรู้สึกว่าการเขียนไดอารี่นี้ใช้เวลานานกว่าปกติ) ๒ เดือนที่ผ่านมา โจมี 3 เรื่องในการทำงาน
เรื่องที่ 1 คือ  โจไปทำงานที่สิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ (บริษัทของโจบริจาคเงินให้โครงการวิจัยระหว่างประเทศและเจ้านายให้โจเข้าร่วมการประชุมแทนเขาในฐานะผู้สังเกตการณ์) โจไม่ต้องทำอะไรในการประชุมนี้ (เข้าร่วมฟังบทสนทนาของคนอื่นเท่านั้น) จึงรู้สึกไม่ค่อยมีประโยชน์ แต่ดีใจที่ได้เจอกับหลายๆคนที่อยู่ที่สิงคโปร์ก่อนและหลังการประชุมนี้

เรื่องที่ 2 คือ โจมีโอกาสเจอกับข้าราชการระดับสูงของประเทศไทยระหว่างพวกเขามาทำงานที่โตเกียว พวกเขามาเยี่ยมบริษัทโจและเราคุยเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย รู้สึกยินดีที่ได้เรียนรู้วิสัยทัศน์ของข้าราชการระดับสูง

เรื่องที่ 3 คือ พนักงานใหม่เข้าร่วมแผนกของโจ โจเคยทำงานกับเขาเมื่อเรา 2 คนทำงานที่รัฐบาล (บริษัทของโจกับเขาเคยส่งเราไปทำงานที่รัฐบาลและเราเคยทำงานพร้อมกัน) เพราะว่าโจรู้ว่าเพื่อนคนนั้นมีความสามารถมากในการวิเคราะห์เศรษฐกิจเอเชียดี โจรู้สึกดีใจที่ได้ทำงานกับเขา เมื่อเขาเข้าร่วมบริษัท ถึงแม้โจไม่ได้มีอำนาจหรือสิทธิที่จะเลือก/จ้างเขา(เจ้านายกับเพื่อนเป็นคนตัดสินใจ) แต่โจรู้สึกมีความรับผิดชอบกับเรื่องนี้เพราะว่าโจแนะนำเขาให้เข้าบริษัทโจ หวังว่าการตัดสินใจนี้จะเป็นเรื่องดีสำหรับทั้งเขากับบริษัท

https://www.cognology.com.au/everything-you-need-for-your-new-employee/


Tuesday 3 September 2019

สัมมนา เกี่ยวกับ ESG กับ SDGs


อาทิตย์นี้โจเข้าร่วม ๒ สัมมนาที่เกี่ยวกับ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) กับ SDGs (เป้าหมายการ
https://en.unesco.org/sdgs
พัฒนาที่ยั่งยืน) ผู้นำเสนออธิบายเกี่ยวกับความสำคัญเกี่ยวกับ ESG / SDGs ที่บริษัทควรคำนึง (นอกจากสรางผลกำไรแล้ว บริษัทควรจะรับผิดชอบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย) และแนะนำบริษัทญี่ปุ่นให้ช่วยแก้ไขปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาโดยการขยายธุรกิจไปในประเทศนั้นๆ โจก็เห็นด้วยกับความสำคัญของ ESG/SDGs แต่รู้สึกว่าจะให้บริษัทเริ่มปฏิบัติเหมือนผู้นำเสนอแนะนำ ควรจะสร้างแรงจูงใจที่บริษัทรู้สึกสนใจด้วย (อธิบายความสำคัญก็ไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนบริษัท) ถ้าหลายบริษัทปฎิบัตตาม ESG/SDGs สร้างผลกำไรมากกว่าบริษัทที่ไม่ทำตาม บริษัทอาจจะคิดที่จะทำ ESG/SDGs แต่ถ้ากิจกรรมเกี่ยวกับ ESG/SDGs มีผลกำไรลดลง บริษัทส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกลังเลที่จะปฏิบัติตาม ESG/SDGs แต่ผู้นำเสนอ ไม่มีใครได้พูดถึงผลกระทบ ESG/SDGs ต่อผลกำไร
โจคิดว่ารัฐบาลควรจะสร้างแรงจูงใจโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้บริษัทที่ปฏิบัติตาม ESG/SDGs  หรือ เปลี่ยนระบบเพื่อป้องกันธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตาม ESG/SDGs  (เช่นไม่อนุญาตให้บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตาม ESG/SDGs ทำธุรกิจต่อไป ) หรือ ให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าของบริษัทไหนตาม ESG/SDGs หรือไม่ (ผู้บริโภคอาจจะไม่ชอบซื้อสินค้าของบริษัทที่ไม่ดี) ถ้าไม่มีระบบแบบเหล่านี้ บริษัทอาจจะไม่ค่อยเข้าใจความสำคัญที่จะตาม ESG/SDGs ไม่แน่ใจว่าผู้นำเสนอชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีและทำสิ่งที่ดีโดยไม่เกี่ยวกับตัวเองหรือไม่

ในด้านเมื่อนักเศรษฐศาสตร์วิจัยทฤษฎี เราคิดว่าทุกครัวเรือนกับบริษัทเห็นแก่ตัวและกิจกรรมของบริษัทขึ้นอยู่กับผลกำไรมากกว่าความสุขของประชาชน (ดังนั้นโจจึงรู้สึกแปลกใจกับเรื่องที่ผู้นำเสนอบอก) อยากจะรู้ว่าหลายบริษัทจะปฏิบัติตาม ESG/SDGs หรือไม่ แม้ว่าลดผลกำไรบริษัทลง

Thursday 8 August 2019

การไปเที่ยวอเมริกา (2)


หลังจากเที่ยวเมืองวนิวยอร์กเสร็จแล้ว เราไปเยี่ยมคุณป้าที่อยู่ที่อเมืองวอชิงตัน ดี.ชี
วันแรกที่วอชิงตัน ดี.ซี คุณป้าพาเราไปเที่ยวที่ Steven F. Udvar-Hazy Center(พิพิธภัณฑ์การบินและอวกาศ) ที่คุณพ่อของเพื่อนคนอเมริกาที่เราไปทานอาหารที่นิวยอร์กทำงานเป็นมัคคุเทศก์อาสาสมัคร ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 50 ปีที่มนุษย์เหยียบพื้นดวงจันทร์ โจก็รู้สึกสนใจการแสดงเกี่ยวกับอวกาศ ดีใจที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์  (เคยได้ยินชื่อนี้หลายครั้ง แต่ไม่เคยมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับกระสวยอวกาศนี้)  นอกจากอธิบายให้เราแล้ว คุณพ่อของเพื่อนให้หนังสือที่เขาเขียนปีที่แล้วให้โจด้วย
(คุณพ่อ คณลุง และ เขาเคยทำงานที่การบินนาวี และหลังจากเขาเกษียณแล้ว เขาเขียนเรื่องครอบครัวกับการบินนาวี) หลังจากนั้นเราไปทานอาหารที่บ้านของเพื่อนของคุณป้าเปรียบเทียบกับนิวยอร์ก บ้านอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี ใหญ่มากและมีธรรมชาติมากด้วย บ้านของคุณป้ากับเพื่อนก็บรรยากาศดีมาก อาหารก็อร่อยดีและเรารู้สึกขอบคุณพวกเขา


วันถัดมา เราไปเดนเล่นแถวๆ เนชันแนล มอลล์ และเข้าพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกาด้วย วันที่ ๓  เราไปเที่ยว Mount Vernon (บ้านของ จอร์จ วอชิงตันที่ติดแม่น้ำ Potomac) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจอร์จ วอชิงตัน สิ่งที่โจรู้สึกสนใจคือฟันปลอมที่จอร์จ วอชิงตันใช้ ไม่แน่ใจว่าสมัยนั้น คนอเมริกามียาสีฟันหรือไม่ เพราะตั้งแต่อายุ่ 28 ปี เขาใช้ฟันปลอม ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเกี่ยวกับฟันปลอมสมัยนั้นยังไม่ดี ฟันปลอมที่เขาใช้ดูหนักและไม่สวยเลยเมื่อเขาได้เป็นประธานาธิบดีคนแรก (อายุ่ 57 ปี) ฟันของตัวเองมีแค่ 1 ชี่เท่านั้น เพราะว่าฟันปลอมสมัยก่อนไม่เหมาะสมกับเขา เขาไม่ชอบคุยนานๆโดยใส่ฟันปลอม เขาจึงไม่ได้ยิ้มเลยในธนบัตร1 ดอลลาร์ด้วย 
ระหว่างเราอยู่ที่วอชิงตัน ดี.ซี คุณป้าชอบทำแซนด์วิชไปปิกนิก เดี๋ยวนี้โจไม่ได้ทำอาหารเอง แต่โจพบว่าทำอาหารก็สนุก สะดวกและถูกด้วย  (หลังจากกลับญี่ปุ่นก็ เริ่มทำอาหารกลางวันเอง) วันสุดท้าย ก่อนไปสนานบินเราเดินเล่นแถวๆบ้านคุณป้า บรรยากาศคล้ายกันกับ Karuizawa และรู้สึกดีใจที่ได้รู้ว่าเขาใช้ชีวิตที่ดีที่นั้น ไม่แน่ใจว่า คราวหน้าเมื่อไรจะสามารถไปเยี่ยมคุณป้าได้อีก อยากให้เขาสบายดีไปนานๆ



Wednesday 7 August 2019

การไปเที่ยวอเมริกา (1)


อาทิตย์ที่แล้วโจไปเที่ยวอเมริกากับครอบครัวมา เมื่อโจไปเที่ยวอเมริกาครั้งที่แล้ว โจมีปัญหาอาการเจ็ตแล็กมาก (ในเวลากลางคืนไม่สามารถนอนได้เลย และรู้สึกง่วงนอนมากในกลางวัน)

ครั้งนี้โจจึงเตรียมตัวให้ดีสำหรับปัญหานี้ หลังจากบินออกจาโตเกียว กตอนเช้า(ที่อเมริกาเที่ยงคืน) โจไม่ได้กินอาหารและพยายามนอนแทนโดยใช้ หน้ากากปิดตา ที่อุดหู และยานอนหลับด้วย ดูเหมือนว่าวิธีแก้อาการเจ็ตแล็กนี้มีประโยชน์ ตั้งแต่วันแรก โจไม่ค่อยรู้สึกง่วงนอน

ครั้งนี้ก็ไปเที่ยวเมืองนิวยอร์กและเยี่ยมคุณป้าที่อาศัยอยู่เมืองอชิงตัน ดี.ซี ที่นิวยอร์ก โจจะต้องจัดการทุกอย่างและพาครอบครัวไปที่สถานที่ท่องเที่ยวเหมือนเป็นมัคคุเทศก์

ก่อนไปเที่ยว โจเข้าใจผิดว่านิวยอร์กเย็นกว่าโตเกียว (เส้นรุ้งของนิวยอร์กอยู่ระดับเดียวกันกับจังหวัด Aomori และเมื่อโจไปเที่ยวนิวยอร์กสิ้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว โจรู้สึกหนาวมากกว่าโตเกียว) แต่ครั้งนี้นิวยอร์กร้อนมากกว่าโตเกียวเยอะ ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยได้ง่าย

วันแรกที่นิวยอร์ก เราเดินเล่นแถวๆโรงแรมและไปกินอาหารกลางวันที่ร้าน Sarabeth's ร้านอาหารที่มีชื่อเสี่ยงกับ Breakfast Queen of New York (พระราชินีทางอาหารเช้าของนิวยอร์ก)”  จริงๆแล้ว โจเคยไปสาขาที่โตเกียวแต่ความรู้สึกที่ทานที่นิวยอร์กดีกว่าโตเกียว


หลังจากนั้น เรากลับโรงแรมพักผ่อนนิดหน่อยและไปดูวิวที่ตึกเอ็มไพร์สเตต เรารู้สึกตกใจที่รู้ว่าเวลากลางวันของนิวยอร์กนานมาก เมื่อเราไปถึงตึกนี้ก็ประมาณสองทุ่มแล้ว แต่พระอาทิตย์ยังไม่ตก ดังนั้นเราจึงสามารถดูพระอาทิตย์ตกที่สวยมากได้


วันที่ ๒ เราไปดูอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ ครั้งที่แล้วเมื่อโจมาที่นี้ อากาศหนาวมากเกินไปและ โจไม่สามารถอยู่ข้างนอกนานได้ (อยู่ที่เกาะลิเบอร์ตี้แค่ประมาณ 20 นาทีเท่านั้น) ครั้งนี้อากาศร้อนมากเกินไป แต่ยังดีกว่าหนาวมากเกินไป
โจจึงสามารถเดินเล่นได้ ดีใจที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพโดยเข้าพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่ปีนี้


หลังจากน้นเราไปพิพิธภัณฑ์รำลึกเหตุการณ์ 9/11 และไปทานอาหารกับเพื่อนคนอเมริกาที่เคยมาเรียนที่โตเกียวเพราะว่าเพื่อนคนนี้เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นนิดหน่อยและหลานสาวโจก็เพิ่งเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ คิดว่าครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับทั้งสองคนที่จะได้ใช้ภาษาต่างประเทศ  โจเข้าใจว่าตัวเองอายุมากกว่าเพื่อน 13-14 ปี และเพื่อนก็อายุมากกว่าหลานสาว 13-14 ปี ด้วย ตอนนี้หลานสาวยังเด็กมากและ ไม่สามารถพูดภาษาอังกษได้ แต่หวังว่าอีกประมาณ13-14 ปีหน้าหลานสาวจะสามารถคุยกับเค้าโดยใช้ภาษาอังกฤษได้และเป็นเพื่อนกับเค้าเหมือนโจกับเพื่อนคนนั้น


วันที่ ๓ ครอบครัวพี่สาวเข้าร่วมทัวร์หนึ่งวันเพื่อไปดูน้ำตกไนแอการา แต่ทัวร์นี้ดูยุ่งยากมาก (จะต้องตื่นนอนตี ๔ และจะกลับตอนเที่ยงคืน ) โจกลัวว่าตัวเองจะเหนื่อยมากเกินไปและไม่สบายเมื่อกลับมาญี่ปุ่น พ่อกับโจจึงไม่ได้เข้าร่วมทัวร์นี้ เราเลยไปเที่ยวที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันแทน  เรารู้สึกประทับใจที่รู้ว่าถ้าไปนอกนิวยอร์กนิดหน่อย บรรยากาศก็เปลี่ยนไปมาก แถวๆมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันมีธรรมชาติมากและบรรยากาศเงียบสงบดี


วันที่ ๔ ตอนเช้าอากาศเย็นสบายดี เราจึงไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันโดยเดินผ่าน เซ็นทรัลพาร์ก
ในตอนกลางคืน เราไปดูละครบรอดเวย์ ครั้งนี้ โจเลือกเรื่อง Aladdin ที่หลานสาวก็เข้าใจได้ง่าย การแสดงก็สนุกดี แต่ตอนที่ร่วมดูการแสดงนี้ หลายครั้งโจรู้สึกแย่กับความสามารถทางภาษาอังกฤษตัวเอง เช่นเมื่อนักแสดงพูดเรื่องตลก คนอื่นหัวเราะกันมาก แต่โจฟังไม่ทันเลยและไม่สามารถหัวเราะกับคนอื่นได้


ประสบการณ์นี้ทำให้โจเข้าใจความสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤมากกว่านี้ ปกติโจใช้ภาษาอังกฤษเมื่อคุยเรื่องเศรษฐกิจกับคนเอเชีย แต่คิดว่าจะต้องพัฒนาความสามารถทางการฟังจากเจ้าของภาษาและคำศัพท์ที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ นอกจากเรียนภาษาอังกฤษแล้ว คิดว่าจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ค่อยคุ้นเคยไม่ค่อยเข้าใจเช่น วิทยาศาสตร์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ และศิลปะด้วย

Saturday 13 July 2019

ขยะพลาสติก

อาทิตย์นี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับนโยบายสิ่่งแวดล้อมของประเทศไทย ดูเหมือนว่ารัฐบาลอยากจะห้ามการใช้สินค้าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (เช่น ถุงพลาสติกของร้านขายของ ภาชนะใส่อาหาร หลอดพลาสติก) ภายใน ๓ ปี 

ตอนนี้รัฐบาลแนะนำให้ประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่รับถุงพลาสติกที่ร้านขายของ แต่นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลกำลังคิดว่าจะเปลี่ยนกฎหมายและห้ามการผลิตหรือการใช้สินค้าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งด้วย 

โจรู้ว่าหลายประเทศรวมถึงญี่ปุ่นก็กำลังพยายามช่วยสิ่งแวดล้อมโดยลดการใช้สินค้าพลาสติก เช่น ที่ญี่ปุ่น UNIQLO ประกาศว่าตั้งแต่ปีหน้า จะเริ่มใช้ถุงกระดาษรีไซเคิลแทนถุงพลาสติก  ร้านสะดวกซื้อก็จะเริ่มให้ลูกค้าซื้อถุงพลาสติกโดยจ่ายถุงละ 2-3 เยน แต่ถ้ายอดขายของสินค้าพลาสติกลดลง ก็จะมีความเสี่ยงที่แรงงานในอุตสาหกรรมเคมีจะตกงาน ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ห้ามการผลิตหรือการใช้ถุงพลาสติก  

ยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลไทยจะสามารถห้ามการใช้ถุงพลาสติกได้จริงๆหรือไม่ แต่รู้สึกตกใจที่รู้ว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเศรษฐกิจ  มีคนบอกว่าเรื่องปลาวาฬในจังหวัดสงขลา (เจอปลาวาฬหลายตัวที่ตายในจังหวัด สงขลาและเจอขยะพลาสติกในท้อง) ทำให้รัฐบาลกับคนทัวไปเข้าใจความสำคัญแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก
https://www.yourselfquotes.com/world-environment-day-slogans-quotes/

Saturday 6 July 2019

ดัชนี SDGs ของประเทซไทย


หลังจากสหประชาชาติประกาศ SDGs (Sustainable Development Goals เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) ประมาณ 4 ปีผ่านไปและ โจรู้สึกว่าจำนวนคนทั่วไปที่รู้เกี่ยวกับ SDGs ก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย
เพื่อเช็คสถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย SDGs สหประชาชาตีพิมพ์รายงานประจำปี โดยาตีพิมพ์รายงานล่าสุดสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รายงานประจำปีนี้ก็มี ดัชนี SDGs”และปีนี้ประเทศไทยเลื่อนขึ้น 19 อันดับเป็นอันดับที่ 40 ใน 162 ประเทศ โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าไทยเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน แต่สิงคโปร์เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน(อันดับ 66 ในโลก) โจรู้สึกแปลกใจกับผลนี้เพราะว่าสิงคโปร์พัฒนามากกว่าไทย นอกจากนี้แล้วปีที่แล้ว อันดับสิงคโปร์ (อันดับ 43) ดีกว่าไทย (อันดับ 59) ด้วย
ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีสร้างดัชนี SDGs ก็เกี่ยวกับการเปลี่ยนอันดับปีนี้ทำให้เราไม่สามารถเปรียบเทียบอันดับปีนี้กับอันดับปีที่แล้วได้ ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าวิธีสร้างดัชนีปีนี้ดีกว่าปีที่แล้วหรือไม่ แต่โจยังสงสัยคุณภาพดัชนีปีนี้เพราะว่าการขจัดความยากจนยังเป็นความท้าทายสำคัญของประเทศไทย ในด้านการขจัดความยากจน ประเทศไทยได้ 100 คะแนน (คะแนนดีกว่าสิงคโปร์กับญี่ปุ่น) คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่อันดับของประเทศไทยจะลดลง ถ้าสหประชาชาติจะเปลี่ยนวิธีสร้างปีหน้า
อยากให้รัฐบาลไทยพยายามบรรลุ SDGs ต่อไป โดยไม่พอใจกับอันดับปีนี้มากไป
https://sdgindex.org/reports/sustainable-development-report-2019/



Monday 1 July 2019

ระบบการศึกษาของโรงเรียนประถมในไทยกับญี่ปุ่น


อาทิตย์ที่แล้วโจได้มีโอกาสเช็คข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาของรงเรียนในไทยกับญี่ปุ่น และรู้สึกตกใจที่รู้ว่านักเรียนคนไทยเรียนนานกว่าญี่ปุ่นเยอะ หลักสูตรของรัฐบาลแสดงว่านักเรียนไทยเรียนปีละ 1,000 ชั่วโมง (ไม่เกี่ยวกับชั้นปี) แต่นักเรียนญี่ปุ่นเรียนปีละ 850 ถึง 1,015 คาบเรียน เพราะว่า หนึ่งคาบเรียนของญี่ปุ่น คือ 45 นาที นักเรียนญี่ปุ่นเรียน ระหว่าง 638 ถึง 761 ชั่วโมง  สงสัยว่าการเรียนปีละ 1,000 ชั่วโมงนานเกินไปสำหรับเด็ก (โดยเฉพาะ ป.1)


การเปลี่ยนเจ้านาย


ตอนนี้โจกำลังจะถูกเปลี่ยนเจ้านายตั้งแต่เดือนนี้ เจ้านายเก่าเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของแผนการวิจัย และเจ้านายใหม่จะมาอีกใน ๒-๓ อาทิตย์ (ตอนนี้เขาทำงานที่โอซาก้าและจะต้องให้ลูกน้องรับงานก่อนย้ายมาโตเกียว) เพราะว่าโจไม่เคยทำงานกับเจ้านายใหม่คนนี้ เลยไม่แน่ใจว่าสถานการณ์การทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร สำหรับเจ้านายเก่า โจใช้เวลาประมาณ ๒ ปี เพื่อปรับตัวกับสไตล์การทำงานของเขา หวังว่าตัวเองจะปรับตัวกับเจ้านายใหม่เร็วกว่าเมื่อก่อน

https://www.azquotes.com/quotes/topics/adaptability.html


Monday 3 June 2019

รัฐบาลดิจิทัลญี่ปุ่น


วันนี้โจเข้าร่วมงานประชุมที่เกี่ยวกับรัฐบาลดิจิทัล ผู้นำเสนออธิบายเกี่ยวกับระบบ “my number บัตรประจำตัวประชาชนทางดิจิทัลประมาณ ๔ ปีที่แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มใจระบบนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการบริหารของรัฐบาล แต่เพราะว่ามีหลายปัจจัย (เช่นเรายังสามารถใช้บัตรอื่นแทนได้  หลายคนรู้สึกกลัวการรั่วไหลของข้อมูลจากระบบนี้ และไม่เห็นข้อดีพิเศษของการใช้บัตรนี้เป็นต้น) ประชาชนไม่ค่อยสนใจการใช้บัตรนี้เท่าไหร่นัก  เพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ตอนนี้รัฐบาลพยายามแนะนำให้ประชาชนใช้บัตรนี้  ในการประชุมนี้มีคนชี้ให้เห็นว่าถ้ารัฐบาลอยากจะเปลี่ยนการบริหารเป็นดิจิทัลจริงๆ นอกจากแนะนำบัตรนี้แล้ว จะต้องเปลี่ยนระบบเกี่ยวกับตราประทับด้วย ที่ญี่ปุ่นยังมีหลายระบบที่จะต้องใช้ตราประทับ(จึงจำเป็นต้องใช้เอกสารกระดาษ) ผู้นำเสนอก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้ แต่เขาบอกว่าจะเปลี่ยนระบบนี้ก็ยากมากเพราะว่าอุตสาหกรรมเกี่ยวกับตราประทับไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ (ถ้ารัฐบาลอนุญาตประชาชนใช้ลายเซ็นดิจิทัลแทนตราประทับ กำไรของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับตราประทับจะลดลง)  นอกจากเรื่องนี้แล้ว โจคิดว่าการปฏิรูปญี่ปุ่นมีหลายอุปสรรคในขณะนี้ โจสนับสนุนประชาธิปไตย แต่อยากจะมีรัฐบาลที่มีความเป็นผู้นำ
https://www.w-us.co.jp/html/page07y.html

วัดปากน้ำ


วันอาทิตย์ที่ผ่านมาโจกับเพื่อนไปเที่ยววัดปากน้ำที่อยู่ที่ญี่ปุ่นมา บรรยากาศเหมือนวัดไทยที่อยู่อีสาน (แถวๆวัดมีแต่ทุ่งนาและคนที่อยู่ในวัดนี้ก็มีแต่คนไทยเท่านั้น) หลังจากเยี่ยมวัดนี้เราแวะสนามบินนาริตะด้วย รู้สึกเหมือนไปเที่ยวไทยมา อยากจะไปที่นี้อีกครั้งเมื่อมีงานเทศกาล


Saturday 1 June 2019

ยุคสมัยใหม่ของตัวเอง

หลังจากญี่ปุ่นเข้ายุคสมัยใหม่ ประมาณ ๑ เดือนผ่านไปแล้ว แต่ชีวิตประจำวันของโจไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปและรู้สึกว่าตัวเองยังไม่สามารถเข้ายุคสมัยใหม่ได้เลย ไม่รู้ว่ายุคสมัยใหม่สำหรับตัวเองเป็นสมัยแบบไหน แต่โจรู้สึกว่าในทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัว ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงตัวเองช้ามากเหมือนเต่า (นอกจากช้ากว่าคนอื่นที่มีความสามารถที่ดีและแล้วยังช้ากว่าที่ตัวเองคิดเอาไว้ด้วย)

เช่นเพื่อนกับคนที่รู้จักหลายคนเปลี่ยนงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์กับรายได้ ตีพิมพ์หนังสือ ได้ปริญญาเอกหรือไปเรียนต่างประเทศ แต่งงานและมีลูก ใช้ภาษาอังกฤษกับไทยเหมือนเจ้าของภาษา โจก็รู้สึกสนใจสิ่งเหล่านี้แต่ยังไม่สามารถบรรลุอะไรเลย โจเข้าใจว่าความสามารถของตัวเองไม่ดีเท่าไร (ยังอยากจะไปข้างหน้าและพยายามอยู่ แต่รู้สึกว่าตัวเองเหมือนอยู่ staircase landing (บันไดเชื่อม)ที่กว้างใหญ่มากและไม่สามารถขึ้นไปชั้นถัดไปได้

คิดว่าเพราะว่าตัวเองยังอยู่สถานการณ์แบบนี้ รู้สึกประทับใจกับคนที่ไม่ยอมแพ้ ผู้สูงอายุที่เริ่มกิจกรรมใหม่ๆและคำคมที่ให้กำลังใจ เมื่อโจเขียนไดอารี่นี้นึกถึงคำคมของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง If you can’t fly then run, if you can’t run then walk, if you can’t walk then crawl, but whatever you do you have to keep moving forward.”ถ้าคุณไม่สามารถบินได้ ให้วิ่ง ถ้าคุณไม่สามารถวิ่งได้ ให้เดิน ถ้าคุณไม่สามารถเดินได้ ให้คลาน แต่ไม่ว่าคุณจะทำอย่างไร คุณจะต้องก้าวไปข้างหน้า )

โจอยากจะพยายามต่อไปโดยไม่ยอมแพ้และอยากจะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของตัวเอง
https://wisdomtoinspire.com/t/martin-luther-king-jr/4ke9wU2P/if-you-cant-fly-then-run