Saturday 10 February 2018

ขยะอวกาศ


ในการทำงานโจได้มีโอกาสวิเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบ่อยๆเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเกี่ยวกับสิงแวดล้อมก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจ แต่ยังไม่มีโอกาสคิดถึงนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอวกาศ อาทิตย์ที่แล้วโจได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับขยะอวกาศและเริ่มคิดถึงนโยบายทางอวกาศด้วย
http://www.esa.int/var/esa/storage/images/esa_multimedia/images/2017/space_debris/16908372-1-eng-GB/Space_debris_highlight_std.jpg
ดูเหมือนว่าจำนวนขยะอวกาศ(ดาวเทียมที่หมดอายุและล่องลอยอยู่นอกโลก)กำลังเพิ่มขึ้นอยู่และทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นด้วย (มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุดาวเทียมที่กำลังใช้งานอยู่ถูกขยะอวกาศชน หากเกิดอุบัติเหตุนี้ขึ้น อาจส่งผลให้เทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวันเกิดปัญหาขึ้นตามไปด้วย)
เรื่องที่โจรู้สึกตกใจก็คือยังไม่มีเทคโนโลยีที่แก้ไขเกี่ยวกับการเก็บขยะอวกาศและประเทศที่ปล่อยดาวเทียมใหม่ๆก็ไม่ต้องรับผิดชอบกับขยะอวกาศ ดูเหมือนว่าทุกประเทศจะพยายามลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุโดยพยากรณ์การโคจรของขยะอวกาศ แต่กลับไม่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเก็บขยะอวกาศ
เหมือนปัญหาแก็ส CO2 เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ความร่วมมือของทุกประเทศเป็นสิ่งจำเป็น
โจคิดว่าก่อนหน้านี้ รัฐบาลกับบริษัทที่ปล่อยดาวเทียมจะต้องจ่ายค่าจัดการขยะอวกาศให้องค์การระหว่างประเทศ (เช่น สหประชาชาติ เก็บ ๕ เปอร์เซ็นต์ของค่าปล่อยดาวเทียม) และใช้เงินนี้เป็นทุนให้บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้เก็บขยะอวกาศ   (หลังจากที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้แล้ว ก็ให้บริษัทนี้เก็บเงินค่าจัดการขยะอวกาศ )  แต่เหมือนเรื่อง CO2 หลายประเทศอาจจะรู้สึกไม่พอใจกับนโยบายแบบนี้ที่ทำให้ตันทุนในการปล่อยดาวเทียมเพิ่มขึ้น

Saturday 3 February 2018

มหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งญี่ปุ่น

อาทิตย์นี้โจมีโอกาสไปทานอาหารกับเพื่อนคนญี่ปุ่นที่เรียนจบที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งญี่ปุ่น (International University of Japan :IUJ) สำหรับคนญี่ปุน มหาวิทยาลัยนี้ไม่ค่อยมีชื่อเสียงเท่าไหร่ เพราะว่ามหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่สร้างราวๆเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว ที่มีแต่บัณฑิตวิทยาลัยเท่านั้น และตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัด (นีงะตะ Niigata)
แต่โจรู้สึกประทับใจที่รู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะข้าราชการของโลก (ส่วนใหญ่เป็นคนเอเซีย) ที่มาเรียนที่ญี่ปุ่นโดยรับทุนการศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้ชั่วคราวเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาญี่ปุ่น (หลังจากปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นแล้ว หลายๆคนย้ายเรียนที่มหาวิทยาลัยที่อยู่โตเกียว) นักศึกษา ราวๆ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของที่นี่เป็นคนต่างชาติและดูเหมือนว่ามีบริษัทหลายๆญี่ปุ่นที่ส่งพนักงานมาเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยนี้ ล่วงหน้า ๒-๓ เดือนก่อนที่จะให้พวกเขาไปทำงานที่ต่างประเทศ คนที่โจไปทานอาหารด้วยครั้งนี้ (คนญี่ปุ่น ๗ คน และ คนอินเดีย ๑ คน) เรียนที่มหาวิทยาลัยนี้แค่ไม่กี่เดือนเท่านั้นและผ่านมามากกว่า ๕ ปี หลังจากพวกเขาเรียนจบ แต่พวกเขาก็ยังสนิทกันมากและทุกคนคิดถึงสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้ (ไม่รู้ว่าประสบการณ์ที่มหาวิทยาลัยนี้ทำให้พวกเขาเป็นคนที่เปิดใจกว้าง หรือคนที่เปิดใจกว้างนิยมเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้ แต่รู้สึกว่าพวกเขาไม่เหมือนกันกับเพื่อนร่วมงานที่เป็นจารีตนิยมสุดขั้ว) ถ้ามีโอกาสไปเที่ยวจังหวัด นีงะตะ อยากจะแวะที่นี่ด้วย