Saturday 30 December 2017

นโยบายการควบคุมดูแลราคาสินค้า

อาทิตย์นี้โจใช้เวลานานๆเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการควบคุมดูแลราคาสินค้าของกรมการค้าภายใน ไม่รู้ว่านโยบายนี้ไม่ค่อยเกี่ยวกับบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจในไทยหรือไม่ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสถานการณ์นี้เท่าไร่ ดังนั้นโจจึงคิดจว่าตัวเองจะต้องเช็คข้อมูลโดยใช้ภาษาไทยหรือจะต้องติดต่อสอบถามโดยใช้ภาษาไทยด้วยรึป่าว (เรื่องนี้เป็นเรื่องลำบากนิดหน่อย เพราะว่าตอนโจเช็คหาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โจยังนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย ถ้าอ่านรายงานภาษาไทย จะต้องใช้เวลามากว่าถึง 10 เท่า)
ตั้งแต่เมื่อก่อน กรมการค้าภายในเช็คราสินค้าเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยป้องกันการเพิ่มราคาที่ไม่ได้เป็นธรรม นโยบายนี้มีผลดีต่อผู้บริโภคแต่เราจะต้องรู้ว่านโยบายนี้มีผลเสียต่อผู้ผลิดกับกลไกตลาดแค่ไหนเพราะว่านโยบายนี้อาจจะลดความยืดหยุ่นของราคาสินค้า นอกจากนี้แล้ว โจยังไม่ค่อยเข้าใจว่าสำหรับการค้าภายในอะไรเป็นการเพิ่มราคาที่ไม่ได้เป็นธรรมด้วยถ้าผู้ผลิตเพิ่มราคาโดยไม่มีการเพิ่มต้นทุน อาจจะมีคนคิดว่าการปรับปรุงราคานี้ไม่เป็นธรรม

แต่ถ้ามีตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (มีผู้ขาย กับผู้ซื้อมากๆ) กลไกตลาดจะแก้ไขปัญหาการเพิ่มราคาแบบไม่เป็นธรรมโดยที่รัฐบาลไม่ต้องทำอะไร (เช่น ถ้าผู้ขาย คนหนึง เพิ่มราคา ผู้ซื้ออาจจะไม่ซื้อของจากเขาและผู้ขายนั้น ไม่มีกำไร จึงจำเป็นต้องลดราดาหรือล้มละลาย)
โจคิดว่ารัฐบาลสามารถแทรกแซงการตลาดได้ สำหรับ ตลาดผูกขาด/ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย ตลาดที่ขาดกลไกตลาด แต่ไม่ควรจะแทรกแซงตลาดแข่งขันสมบูรณ์เพราะอาจทำให้ตลาดเสียสมดุล
ยังไม่แน่ใจว่าตลาดของสินค้าที่กรมการค้าภายในต้องการจะควบคุมดูแลเป็นตลาดแบบไหน อยากจะศึกษารายละเอียดของนโยบายนี้ต่อไป 

Sunday 24 December 2017

งานศพ

อาทิตย์ที่แล้วแม่ของโจเสียชีวิตและอาทิตย์นี้ครอบครัวของโจจัดงานศพ (เราต้องรอราวๆ ๑ อาทิตย์ก่อนที่จะจัดงานศพเพราะว่าสมัยนี้จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงทำให้สถานที่จัดงานศพไม่เพี่ยงพ่อ) ความตายกับการจัดงานศพของแม่เป็นที่เศร้ามากจริงๆ แต่โจกลับรู้สึกโล่งอกนิดหน่อย เพราะว่าในที่สุดแม่ก็สามารถเป็นอิสระจากความทุกข์ทรมานของโรคมะเร็ง (ในระยะสุดท้าย แม่รู้สึกเจ็บปวดทรมารมากๆและน่าสงสารมาก สถานการณ์นั้นมันเหมือนกันกับการทารุณกรรม) 
http://zero-ess.com/blog/?m=20131211
เราจัดงานศพแบบศาสนาพุทธ โจไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับพิธีแบบไทย แต่คิดว่าแบบญี่ปุ่นไม่เหมือนกันกับไทย เช่น เราจัด Otsuya (งานพิธีที่จัดในคืนก่อนงานศพ ญาติกับเพื่อนจะมาเข้าร่วมไว้ทุกข์) และ Kokubetushiki (งานศพ) หลังจากงานเผาศพ เราเก็บเถ้ากระดูกใส่ในหม้อโดยใช้ตะเกียบ (ในสังคมญี่ปุ่น ยกเว้นตอนที่เก็บเถ้ากระดูกใส่ในหม้อ ปกติเราไม่สามารถใช้ตะเกียบคีบของพร้อมกันกับคนอื่นได้) โจรู้สึกว่าไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษที่เป็นลูกกตัญญให้แม่ แต่ดีใจที่ได้กลับมาจากสิงคโปร์และได้อยู่กับแม่ราวๆ ๗ เดือนก่อนแม่เสียชีวิต 
ยังมีอีก ๑ พิธี (๔๙ วันหลังจากงานศพ เราเอาหม้อนี้ไปฝังที่สุสาน) แต่ในตอนนี้พิธีส่วนใหญ่เสร็จแล้วและชีวิตประจำวันของโจกำลังกลับเป็นปกติ ยังรู้สึกไม่ชินนิดหน่อยที่ไปทำงานเวลาปกติโดยไม่แวะเยี่นมแม่ก่อนหรือหลังจากทำงานและรู้สึกคิดถึงช่วงเวลานั้น ปีนี้โจไม่ได้ฉลองคริสต์มาสหรือปีใหม่กับแม่และไม่มีอะไรไทเป็นพิเศษ กลัวว่าจะรู้สึกโล่งๆ แต่อยากจะก็พักผ่อนนานๆ

Saturday 23 December 2017

การไปทำงานที่กัมพูชา

๓ อาทิตย์แล้ว โจกับเพื่อนร่วมงานสมัยสิงคโปร์ไปกัมพูชาเพื่อเข้าร่วมการประชุมประจำปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา หัวข้อของการประชุมปีนี้ คือ บทบาทของเทศโนโลยีต่อบริการทางการเงินที่ทั่วถึง (The Role of Technology in Promoting Financial Inclusion) นักวิจัยเศรษฐกิจกับพนักงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชานำเสนอเกี่ยวกับบริการทางการเงินที่ทั่วถึงของกัมพูชา เราก็นำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศอินเดีย ที่เราตั้งใจมุ่งเน้นประเทศอินเดียเพราะว่าอินเดียใช้ระบบไบโอแมทริกซ์ในการระบุตัวซึ่งทำให้สถานการณ์การบริการทางการเงินที่ทั่วถึงพัฒนาโดยเร็ว
จนถึงราวๆ ๒-๓ วันก่อนที่เราไปกัมพูชา เราไม่ได้รู้ว่าเราจะมีเวลากี่นาทีสำหรับการนำเสนอและไม่รู้ว่าเราจะต้องเป็นผู้ร่วมอภิปรายหรือไม่ด้วย (ปกติพิธีกรจะแจ้งหัวข้ออภิปรายล่วงหน้าก่อน) เรามีเวลา ๒๐ นาทีสำหรับการนำเสนอและเพื่อนของโจเป็นคนนำเสนอคนเดียวแต่โจก็เข้าร่วมอภิปรายหลังจากการนำเสนอของผู้เข้าร่วมจบ โจรู้สึกว่าไม่สามารถอธิบายความคิดเห็นของตัวเองออกมาได้ดีเท่าไร่เพราะไม่ได้รู้รายละเอียดของหัวข้ออภิปรายก่อนและไม่ได้เตรียมตัวให้ดี (นอกจากนี้แล้ว รู้สึกว่าตัวเองจะต้องเรียนการพูดภาษาอังกฤมากกว่านี้)  แต่ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีโดยไม่มีปัญหาใหญ่เกิดขึ้น
การร่วมมือกับเพื่อนของปีนี้มีหลายปัญหากับความท้าทายและความจริงไม่เหมือนกันกับสิ่งที่คิดเอาไว้ แต่ในที่สุดทั่ง ๒ หัวข้อ (การแลกเปลี่ยนมนุษย์ระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดียและบริการทางการเงินที่ทั่วถึง) ก็ได้เสร็จสิ้นทำให้โจโล่งใจขึ้น
การร่วมมือกับคนอื่นแม้จะเป็นเรื่องยุ่งยากและลำบาก แต่โจก็อยากจะห้าวิธีรับมือที่ดีกว่าปีนี้และอยากจะเขียนรายงานและนำเสนอโดยใช้ภาษาอังกฤต่อไปเพื่อเปิดโลกทัศน์ของตัวเอง

Sunday 26 November 2017

นโยบายเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศอินเดีย

ในการทำงาน โจใช้บริการ เว็บไซต์ NNA (News Net Asia) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจของเอเชียเกี่ยวกับเว็บไซต์ นี้ โจรู้สึกว่าเดี๋ยวนี้จำนวนบทความเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจของอินเดีย ไม่รู้ว่าเป้าหมายนี้มีความเป็นไปได้แค่ไหน แต่รัฐบาลอินเดียมีเป้าหมายที่จะหยุดการขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันก่อน ปี 2030 เพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและป้องกันมลพิษทางอากาศ โจรู้ว่านอกจากอินเดียแล้ว
https://ec.europa.eu/jrc/en/news/fiscal-incentives-how-do-they-impact-electric-vehicle-sales

หลายๆประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ อินโดนีเซีย เป็นต้น ก็มีเป้าหมายแบบนี้ รัฐบาลไทยเองก็มีแผนการที่จะเปลี่ยนรถตุ๊กเป็นรถตุ๊กๆไฟฟ้า แต่ถ้าคิดรวมถึงสถานการณ์ไฟฟ้าของประเทศอินเดีย (อุปทานของไฟฟ้ายังไม่พอและหลายหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้) เป้าหมายนี้ก็ดูทะเยอทะยานมากไป
ร่างแผนยุทธศ่าสตร์ทางอุปทานไฟฟ้าที่รัฐบาลเปิดเผยเมื่อปีที่แล้วแสดงว่ารัฐบาลจะเพิ่มอุปทานไฟฟ้าถึงสองเท่าภายใน 10 ปีโดยใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม
ไม่รู้ว่าเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางพลังงานหมุนเวียนจะพัฒนาในอนาคตอีกแค่ไหน แต่ตอนนี้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนไม่ค่อยเสถียรเพราะว่าพลังงานขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ นอกจากนี้แล้วราคาอุปกรณ์ก็ไม่ถูกเท่าไร
โจก็เลยยังรู้สึกสงสัยกับความเป็นไปได้ของเป้าหมายของอินเดีย แต่อิก่อนหน้านี้เดียก็เคยใช้นโยบายที่แรงๆ(เช่น การยกเลิกของธนบัตร 500 และ 1000 รูปี การใช้นโยบาย GST เป็นต้น ) โจจึงคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลอินเดียจะใช้นโยบายแรงๆเพื่อบรรลุเป้าหมาย โจอยากจะรู้ว่าถ้าจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวที่อีนเดียแค่ไหนด้วย (ตอนนี้ประเทศจีนผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลก)

พ่อแม่

ตั้งแต่ราวๆ ๔-๕ ปีที่แล้ว แม่ของโจไม่สบายและเมื่อ ๒-๓ เดือนที่ผ่านมาอาการของแม่ก็ทรุดลงอย่างรวดเร็ว แม่กำลังจะเข้าสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายท้าย (Hospice คือสถานที่ที่ช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถจากไปได้อย่างสงบและไม่ทุกข์ทรมาร) วันนี้เป็นวันหยุดพิเศษครอบครัวของโจจึงใช้เวลาอยู่กับแม่ตลอดวัน

ตั้งแต่พ่อรู้ว่าแม่อาจจะมีเวลาเหลืออีกไม่ค่อยนาน พ่อก็ไม่ค่อยแสดงความเศร้าเสียใจของตัวเองออกมาเท่าไหร่และโจก็จำไม่ได้แล้วว่าพ่อร้องไห้ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ แต่วันนี้ตอนที่พ่อคุยกับแม่หลังจากทานอาหารเย็นเสร็จ พ่อก็ร้องไห้หนักมากๆและภาพนั้นทำให้โจรู้สึกสะเทือนใจมาก 
ตอนที่แม่บอกว่าอยากจะหยุดใช้ยาต้านมะเร็ง (เพราะผลข้างเคียงแรงมากไป) และอยากจะเข้าสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โจยอมรับและสนับสนุนความคิดเห็นของแม่ เพราะว่าโจอยากให้แม่มีเวลาที่เงียบสงบโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ว่าพ่ออยากให้แม่พยายามใช้ยาต้านมะเร็งต่อไปและพ่ออยากที่จะดูแลแม่ที่บ้านเท่าที่ทำได้ เมื่อก่อนโจไม่ค่อยเข้าใจความปรารถนาของพ่อ เพราะว่าสิ่งนั้นอาจจะต้องทำให้แม่รู้สึกเจ็บปวดทรมารอีก แต่ว่าวันนี้ตอนที่เห็นพ่อร้องไห้หนักมากๆ โจจึงสามารถเข้าใจความรู้สึกที่อยู่ลึกๆในใจของพ่อได้และเข้าใจได้ว่าทำไมพ่อถึงคิดอย่างนั้น เพราะว่าพ่ออยากที่จะใช้เวลาอยู่กับแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และพ่อคงรู้สึกเหงามากหากแม่ต้องออกจากบ้านไป ความรู้สึกของพ่อที่มีต่อแม่มันมากกว่าที่โจคิดเอาไว้


ไม่รู้เพราะว่าพ่อกับแม่แต่งงานกันโดยดูตัวรึป่าว ทำให้ตั้งแต่โจยังเป็นเด็ก โจไม่ค่อยเห็นพ่อกับแม่แสดงความรักต่อกัน (สำหรับโจพวกเขาดูเป็นคู่ชีวิตมากกว่าคู่รัก) แต่วันนี้โจได้เข้าใจว่าแม้จะไม่ได้แสดงความรักออกมาอย่างชัดเจนและถึงแม้ว่าจะเถียงกันบ่อยๆความรักของพ่อที่มีอยู่ในใจลึกๆของพ่อนั้นลึกซึ้งมาก (พ่อของโจเป็นคนหัวโบราณแสดงความรู้สึกไม่ค่อยเก่งและคิดมากเครียดง่าย เวลาอยู่กับเขาจึงทำให้เรื่องเหนื่อยได้ง่าย แต่ก็เข้าใจว่าเขาเป็นคนที่ใจดีและอ่อนโยนมากด้วย ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าแม่จะสามารถอยูได้อีกแค่ไหน แต่อยากให้แม่มีเวลาที่เงียบสงบ (อยากจะฉลองปีใหม่พร้อมกับครอบครัวทุกคน ) และ อยากจะช่วยให้กำลังใจพ่อด้วย  

Saturday 21 October 2017

รัฐบาลควรจะมีเป้าหมายใหญ่แค่ไหน

https://www.pinterest.jp/pin/404761085237461942/
อาทิตย์ที่แล้วกับอาทิตย์นี้ โจได้อ่านรายงานที่เพื่อนเขียน (เขากำลังเขียนรายงานเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินของรัฐบาล) สำหรับโจการแนะนำนโยบายส่วนใหญ่ที่เขาเขียนก็โอเค แต่มีบางเรื่องที่ความคิดของโจไม่ค่อยตรงกับเขา (ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ว่าเป็นนโยบายอะไรของประเทศไหน) เขาเขียนว่าตอนรัฐบาลกำลังสร้างนโยบายกับกลยุทธ์ใหม่ รัฐบาลควรจะมีเป้าหมายใหญ่โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับนโยบายอื่น เพราะว่าการบรรลุเป้าหมายของนโยบายนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายอื่น นอกจากนี้ เขายังแนะนำว่ารัฐบาลควรจะมีเป้าหมายใหญ่เท่าที่เป็นไปได้และบรรลุได้ยากด้วย เช่น จะบรรลุทุกเป้าหมายใน ๕ ปี (ดูเหมือนเขาจะคิดว่ายิ่งตั้งเป้าหมายไว้ยากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เรายิ่งมีแรงผลักดันมากขึ้นไปด้วย)
โจก็คิดเหมือนกันกับเขาว่ารัฐบาลควรจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายสูงสุดด้วย แต่ถ้ามีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ รัฐบาลควรจะคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะทำให้นโยบายบรรลุผลภายในเวลาที่กำหนดด้วย โจคิดว่าถึงแม้เป้าหมายจะดูเล็กๆ แต่รัฐบาลควรจะประกาศเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้อย่างแน่นอนเท่านั้น เพราะถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถบรรลุได้ตามที่ประกาศ รัฐบาลไม่ควรจะประกาศเป้าหมายนี้ โจคิดอย่างนี้เพราะว่าถ้ารัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ประกาศไว้หลายๆครั้ง ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลก็อาจจะลดลง และความไม่แน่นอนต่อความเป็นไปได้ของนโยบายก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสถานการณ์นี้จะส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจ (เช่น รัฐบาลประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ภายใน ๓ ปี เพื่อกระตุ้นนักธุรกิจและเพื่อเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศ ถ้าหากนักธุรกิจเชื่อเรื่องที่รัฐบาลบอก การลงทุนก็จะเพิ่มขึ้นก่อนรัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย แต่ถ้าไม่มีความมั่นใจต่อรัฐบาล การลงทุนก็อาจจะไม่เพิ่มขึ้น) ดังนั้น โจอยากจะแนะนำว่าการสร้างกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลควรจะประกาศเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้จริงๆเท่านั้น

Sunday 8 October 2017

หัวข้อการวิจัยใหม่

ดี๋ยวนี้โจเริ่มคิดถึงหัวข้อการวิจัยใหม่โดยเช็คข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคในประเทศไทย เพราะว่าการเขียนรายงานเกี่ยวกับอินเดียเกือบจะเสร็จแล้ว (รู้สึกว่าจะเขียนรายงานเกี่ยวกับอินเดียในปีนี้พอแล้ว)
มีหลายสิ่งที่รู้สึกน่าสนใจ แต่ตอนนี้รู้สึกสนใจเกี่ยวกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปัจจุบันนี้
หลังจากรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ค่อยๆสูงขึ้นและ GDP ไตรมาสที่ ๒ ของปีนี้ขยายตัวได้ 3.7 จาก ปีที่แล้ว  องค์การระหว่างประเทศ (เช่น IMF, World Bank, และ ADB ) กับ รัฐบาลก็คาดว่า ปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยาย ราวๆ 3.5-4.0
โจอยากจะรู้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในตอนนี้เหมาะสมกับศักยภาพประเทศไทยหรือไม่ (อยากจะรู้ว่าอัตรานี้ควรจะสูงขึ้นกว่า 4 % หรื่อและ อยากจะรู้ว่ารัฐบาลกับธนาคารแห่งชาติควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อทำให้อัตรานี้สูงกว่าตอนนี้หรือ ไม่) เพราะว่าเทียบกับประเทศที่รายได้ (per capita GDP) คล้ายกัน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังต่ำกว่า  
(หลายประเทศที่ per capita GDP ราวๆ 6 พันบาทแต่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่า 5 % )  มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อก็ต่ำกว่าอัตราเหมะาสม เพราะว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าระดับศักยภาพ  ถึงจะอธิบายยาก แต่โจรู้สึกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังควรจะสูงกว่า 4 %



Thursday 28 September 2017

๕ เดือน ที่ผ่านมา

โจย้ายกลับมาญี่ปุ่นได้ราวๆ ๕ เดือนผ่านไปแล้ว (อยู่ที่สิงคโปร์ ๒ ปี)ใน ๒ ปี กับ ๕ เดือนที่ผ่านมา โจไม่ได้เรียนภาษาไทยกับอาจารย์เลย จึงรู้สึกว่าตัวเองลืมภาษาไทยส่วนใหญ่ที่เคยเรียนมา (ยัง
สามารถใช้คำศัพท์ง่ายๆ ได้ แต่ไม่สามารถอธิบายความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง และ สังคม ได้เลย อ่านหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้เลย นอกจากนี้แล้ว อ่านไดอารี่ที่ตัวเองเคยเขียนมาก็รู้สึกอ่านยากมาก)

จริงๆ แล้ว หลังจากกลับมาญี่ปุ่น โจมีหลายสี่งที่อยากจะทำ (รวมทั้งเรียนภาษาไทย) แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะว่างานยุ่งมากไป  ใน ๕ เดือนที่ผ่านมา โจเขียนรายงานเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนมนุษย์ระหว่างประเทศอินเดียกับญี่ปุ่น (เช่น การท่องเที่ยว การอพยพ และ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา เป็นต้น) เพราะว่าปีนี้เป็น ปีแห่งการแลกเปลี่ยนที่เป็นมิตร ระหว่างอินเดียกับญี่ปุ่น” 

นอกจากนี้แล้ว มีหลายเรื่องที่ทำให้โจรู้สึกเสียใจ/ผิดหวังมาก โจก็เลยไม่ได้มีอารมณ์ทำอะไรเลย แต่ในที่สุด เมื่อเขียนรายงานเกือบจะเสร็จ และ  ค่อยๆปรับปรุงตัวเองกับสถานกาณ์ตอนนี้ จึงเริ่มรู้สึกว่าอยากจะทำหลายสิ่งอีกครั้ง

ยังรู้สึกขี้เกียจที่จะหาอาจารย์ใหม่ (อาจารย์ที่โจเคยเรียนมาไปต่างประเทศแล้ว) แต่อยากจะเรี่มใหม่เร็วๆ รู้สึกว่าการเขียนไดอารี่โดยใช้ภาษาไทยทำให้โจรู้สึกดีขึ้น (รู้สึกว่าเหมือนกับการทำสมาธิ)