Sunday 18 May 2014

ภาษาต่างประเทศกับการตัดสินใจ



วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการตัดสินใจโดยใช้คติธรรม นอกจากบทความนี้แล้ว บางที่นิตยสาร The Economist ก็มีบทความเกี่ยวกับการใช้ภาษาต่างประเทศต่อวิธีคิดและชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การใช้ภาษาต่างประเทศจะเปลี่ยนวิธีคิด/ลักษณะนิสัยของคนที่พูด เช่น เมื่อพูดภาษาต่างประเทศ บางคนพูดมากกว่าปกติ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถบอกได้ว่าความคิดนี้จริงๆถูกหรือไม่


บทความที่โจอ่านวันนี้แนะนำการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ภาษาต่างประเทศต่อการตัดสินใจโดยใช้คติธรรมโดยใช้ตัวอย่าง ปัญหา รถราง ในตัวอย่างนี้ มีรถรางที่เบรกเสียแล้ว ถ้ารถรางนี้ไปตรงไปโดยไม่หยุด คนที่อยู่บนทางรถไฟ ๕ คนจะเสียชีวิต แต่ถ้าคนขับรถเลี้ยวไปทางอื่น คนอื่นที่อยู่ทางรถไฟนี้ แค่ ๑ คนจะเสียชีวิต และ ๕ คนนั้นจะสามารถรอดชีวิตได้ สำหรับปัญหานี้ บางคนไม่ยอมรับ แต่หลายคนคิดว่าคนขับรถควรจะเลี้ยวดีกว่าเพราะฆ่า แค่ ๑ คนดีกว่า ฆ่า ๕ คน

แต่ถ้าสถานการณ์เปลียนนิดหน่อย ความคิดของเราก็เปลี่ยนด้วย ในสถานการณ์ใหม่ มีรถรางที่เบรกเสียและถ้ารถรางนี้ไปตรงไปโดยไม่หยุดคน  ๕ คนจะเสียชีวิตเหมือนกัน แต่ไม่มีทางรถไฟอื่นและมีผู้ชายที่อยู่บนสะพานเหนื่อทางรถไฟแทน เขาตัวใหญ่มากและอ้วนมากด้วย ถ้าเราผลักเขาตกลงไป เขาจะโดนรถรางชนต่ายเสียชีวต แต่รถรางจะหยุดและคน ๕ คนสามารถรอดชีวิตได้ ถ้าอยากจะช่วยหลายคน เราควรจะผลักเขา แต่บางคน คนที่บอกว่าคนขับรถควรจะเลี้ยวในสถานการณ์ก่อนก็ไม่เห็นด้วย  สำหรับบางคนนักวิจัยถามเรื่องนี้โดยใช้ภาษาแม่ของคนที่ตอบ และสำหรับบางคนใช้ภาษาต่างประเทศ เขาเข้าใจว่าถ้าเปลี่ยนภาษา อัตราส่วนของคำตอบก็เปลี่ยนแปลงด้วยและเมื่อเราเข้าใช้ภาษาต่างประเทศ อัตราส่วนที่คิดว่าเราควรจะผลักผู้ชายตกลงสูงขึ้นยังไม่แน่ใจว่าความแตกต่างนี้มาจากภาษาเท่านั้นหรือไม่ แต่นักเขียนบอกว่าเมื่อเราคิดโดยใช้ภาษาแม่ เรามักจะคิดด้วยความรู้สึกมากกว่าคิดด้วยเหตุผล (ดูเหมือนว่าสมองที่ทำงานจะไม่เหมือนกันระหว่างภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศ)นักเขียนบอกว่าบางทีการใช้ภาษาต่างประเทศก็เลยทำให้เราคิดมีเหตุผล
http://www.olamoller.com/intuitive-vs-rational/
แต่โจไม่เคยรู้สึกว่าเมื่อใช้ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ การตัดสินใจโดยใช้คติธรรมของตัวเองเปลี่ยนและคิดมีเหตุผลมากกว่าภาษาญี่ปุ่น

อ้างอิง : Language and morality/ Gained in translation (May 17th 2014)


Sunday 11 May 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับเงินเฟ้อของประเทศไทย



ตั้งแต่เดือนที่แล้วในเวลาว่างโจตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับเงินเฟ้อของประเทศไทยเพราะว่ารู้สึกแปลกใจว่าทำไมอัตราเงินเฟ้อของไทยไม่สูงขึ้น จริงๆแล้วตั้งแต่ปีที่แล้วเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ค่อยดีและสถานการณ์นี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่หลายคนคิดว่าแม้ว่าเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ถ้ารายได้เฉลี่ยเพิ่มมาก อัตราเงินเฟ้อก็จะต้องสูงขึ้นด้วย 
การตรวจสอบยังไม่เสร็จเลย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ โจเข้าใจ ๑ ปัจจัยที่ผลกระทบของการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่ออัตราเงินเฟ้อไม่ค่อยมากที่ไทย โจพบว่าอัตราส่วญลูกจ้างกับอัตราส่วนของรายได้ของลูกจ้างต่อ GDP น้อยกว่าประเทศอื่น
โจรู้แล้วว่าอัตรานี้ไม่สูง แต่รู้สึกตกใจที่รู้ว่าอัตรานี้น้อยกว่าประเทศที่รายได้เฉลี่ยคล้ายกัน รู้สึกแปลกใจว่าทำไมที่ไทยอัตราส่วนคนที่ทำงานส่วนตัวกับคนที่ทำงานให้ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้างสูงกว่าประเทศอื่นที่พัฒนาคล้ายกัน อยากจะรู้ว่าอัตรานี้สูงเพราะว่าคนไทยชอบอิสระมากกว่าประเทศอื่น (ไม่ชอบทำงานเป็นลูกจ้าง) หรือเพราะว่ามีสิ่งแวดล้อมที่เริ่มทำธุรกิจเองได้ง่ายกว่าประเทศอื่น 
คิดว่านอกจากตรวจสอบเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ จะตรวจสอบสถานการณ์นี้ก็น่าสนใจด้วย

Saturday 10 May 2014

การไปดูการแสดงภาพถ่ายของ Robert Capa



วันนี้โจไปดูการแสดงภาพถ่ายของ Robert Capa เขาเป็นนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียง เขาเสียชีวิตแล้ว และปีนี้ครบรอบ ๑๐๑ ปี ที่เขาเกิด ตอนแรกโจไม่รู้จักเขาเลย แต่เมื่อก่อนเพื่อนร่วมงานแนะนำให้โจรู้จักและโจเริ่มรู้สึกสนใจ นอกจากนี้แล้วโจมีโอกาสดูรายการเกี่ยวกับเขาด้วย (ดูเหมือนว่า ภาพถ่ายทางสงครามที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมาก The Falling Soldier ไม่ใช่รูปของคนที่ถูกยิง  ?) ภาพถ่ายทางสงครามของเขามีชื่อเสียงมาก แต่นอกจากภาพถ่ายแบบนี้แล้ว ภาพถ่ายกับเพื่อนของเขาก็มีชื่อเสียงด้วย เพราะว่าเขามีความสัมพันธ์กับหลายคนที่มีชื่อเสียง เช่น ปาโบล ปีกัสโซ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ เป็นต้น

การแสดงภาพถ่ายของเขาก็น่าสนุก โจชอบภาพถ่ายชีวิตประจำวันระหว่างสงครามหยุด แต่โจไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคของการถ่ายรูปเลยและ ไม่ค่อยเข้าใจว่าผีมือของเขาดีแค่ไหน โจก็เลยรู้สึกสงสัยว่าภาพถ่ายของเขามีชื่อเสียงขึ้นเพราะว่าจริงๆเขามีความสามารถถ่ายภาพถ่ายที่ดีกว่านักถ่ายภาพคนอื่น หรือ เพราะว่ามีความโชคดีในตอนแรกและ ความสำเร็จทำให้เกิดความสำเร็จใหม่ต่อไป เหมือนบทความที่โจอ่านเมื่อก่อนหรือไม่ คิดว่าคุณภาพของภาพถ่าย นอกจากผีมือของการถ่ายภาพแล้ว ขึ้นอยู่กับหลายสิ่งเช่นความหมายของรูป ชีวิต/ลักษณะของนักถ่ายภาพ ด้วย รู้สึกว่าการเข้าใจศิลปะก็ยาก

ชีวิตยุติธรรมแค่ไหน



อาทิตย์ที่แล้วโจอ่านบทความที่น่าสนใจ บทความนี้แนะนำการวิจัยเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในสังคมนักวิจัยหนึงคนตรวจสอบว่าคนที่ได้รับความโชคดีในตอนแรกสามารถได้รับความสำเร็จต่อไปได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ได้รับความโชคดีในตอนแรกหรือไม่) เขาตรวจสอบหัวข้อการวิจัยนี้โดยใช้อินเทอร์เน็ต   เช่น  เขาใช้เว็บไซต์ Kickstarter ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับคนที่มีโปรเจกต์ทางธุรกิจและหาผู้บริจาค (นักลงทุน) เขาเลือกโปรเจกต์ที่ยังไม่มีผู้บริจาคเลย ราวๆ ๕๐๐ โปรเจกต์ และให้เงินแก่โปรเจกต์ ๕๐ เปอร์เซ็นต์โดยใช้การสุ่ม (ได้เงินหรือไม่ขึ้นอยู่กับโชคเท่านั้น) เขาพบว่า โปรเจกต์ที่ได้เงินแล้วสามารถหาผู้บริจาคใหม่ได้ง่ายกว่าโปรเจกต์ที่ไม่ได้รับเงินมาก่อน อาจจะเป็นเพราะว่าผู้บริจาคคิดว่าโปรเจกต์ที่มีผู้บริจาคแล้วเป็นโปรเจกต์ที่ดีกว่าโปรเจกต์ที่ไมม่มีผู้บริจาคเลย เขาก็เลยบอกว่าความโชคดีในตอนแรกสำคัญมาก 
แต่เขาบอกว่าขนาดความโชคดีไม่ค่อยสำคัญ เมื่อเขาให้เงินสนับสนุนโปรเจกต์ บางโปรเจกต์ได้เงินมากและบางโปรเจกต์ได้เงินน้อย เขาบอกว่าระหว่างโปรเจกต์ที่ได้เงินมากกับที่ได้เงินน้อยความเป็นไปได้ที่จะหาผู้บริจาคใหม่ไม่แตกต่างกันมาก นอกจาก เว็บไซต์นี้แล้วเขาใช้อีก ๓ เว็บไซต์ และได้ผลที่เหมือนกัน นักวิจัยไม่ได้ตรวจสอบว่าคนที่โชคร้ายในตอนแรกได้รับความล้มเหลวง่ายกว่าคนอื่นหรือไม่และไม่อธิบายเพิ่มเติมในเชิงเปรียบเทียบกันนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่โจคิดว่าการวิจัยนี้แสดงว่าในสังคมนี้เรายังไม่ค่อยมีข้อมูลพอที่จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและบางที่สิ่งที่จริงๆแล้วไม่มีประสิทธิภาพ/ความจำเป็นก็สามารถอยู่รอดได้นาน เช่นบางโปรเจคต์ไม่ได้ดีมาก แต่ได้รับสนับสนุน
ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลควรจะแทรกแซงดีหรือไม่นอกจากเนื้อหาของการวิจัยแล้ว โจรู้สึกสนใจกับประโยคของพระคัมภีร์ไบเบิลที่นักเขียนใช้ในย่อหน้าแรกของบทความนี้เพื่อทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนใจด้วย
พระคัมภีร์ไบเบิลบอกว่า  ด้วยว่าทุกคนที่มีอยู่แล้ว จะเพิ่มเติมให้แก่ผู้นั้นจนมีเหลือเฟือ แต่ผู้ที่ไม่มี แม้ว่าซึ่งเขามีอยู่ก็จะต้องเอาไปจากเขา (For unto every one that hath shall be given, and he shall have abundance: but from him that hath not shall be taken away even that which he hath) โจไม่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาคริสต์และไม่รู้ว่าความหมายทางศาสนาของประโยคนี้คืออะไร แต่รู้สึกว่าความหมายของประโยคลึกซึ้งมากและภาษาอังกฤษที่ใช้ในไบเบิลยากมากด้วย

อ้างอิง : How fair is life? Nothing succeeds like success (May 3rd 2014)