Sunday 29 July 2012

การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย

อาทิตย์ที่แล้วเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพม่าเสร็จแล้ว   ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ครั้งนี้มุ่งเน้นการส่งออกกับการนำเข้า กำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอื่นในอีก ๔-๖ เดือนข้างหน้า ตั้งแต่อาทิตย์นี้โจก็เริ่มเขียนรายงานใหม่ (กำลังคิดว่าจะตีพิมพ์รายงานใหม่ทุก ๓ เดือน  ครั้งนี้วิจัยเกี่ยวกับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย ตั้งแต่เมษายนของปีนี้รัฐบาลปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำราวๆ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ หลายคนคิดว่านโยบายนี้ทำให้เกิดผลดีกับผลเสียมากต่อสังคมกับเศรษฐกิจไทย
อาทิตย์นี้โจตรวจดูระบบค่าแรงขั้นต่ำกับการกระจายรายได้ของประเทศไทยและเริ่มคิดว่าในระยะสั้นการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทำให้เกิดผลกระทบนอยกว่าหลายคนคิดเอาไว้
จริงๆแล้วมีคนที่รายได้อยู่ระหว่างค่าแรงขั้นต่ำเก่ากับค่าแรงขั้นต่ำใหม่มาก แต่ส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานส่วนตัวหรือคนที่ช่วยธุรกิจครอบครัว (มีคนที่ไม่ได้ทำงานประจำด้วย)  นโยบายเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำมีผลต่อแค่ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานวันละมากกว่า ๙ ชั่วโมงเท่านั้นและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายได้ของกลุ่มคนที่ทำงานส่วนตัวได้

แต่โจคิดว่าในระยะกลางนโยบายนี้ทำให้เกิดผลกระทบมากเพราะบริษัทจะต้องเพิ่มรายได้ของแรงงานที่มีฐานะสูงกว่าแรงงานที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำด้วย  (แต่การปรับค่าแรงของทุกคนอาจจะใช้เวลา)  บางคนคิดว่าบริษัทต่างชาติที่อยู่ที่ประเทศไทยอาจจะย้ายโรงงานไปประเทศอื่นที่ค่าแรงงานถูกกว่าไทย  สถานการณ์นี้อาจจะทำให้เกิดผลดีกับผลเสีย เช่น จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้น แต่ให้โอกาสที่สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ยังไม่แน่ใจว่า ข้อสรุปของรายงานจะเป็นอย่างไรบ้าง คิดว่าจะปรึกษากับหลายคนดีกว่า

Wednesday 18 July 2012

การเข้าร่วมการประชุมของสมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น

อาทิตย์ที่แล้วโจไปเข้าร่วมการประชุมของสมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยโอซาก้า เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว โจเคยเข้าร่วมการประชุมนี้เพื่อฟังหัวข้อการวิจัยของคนอื่น แต่ครั้งนี้โจก็รำเสนอหัวข้อการวิจัยของตัวเองด้วย
โจเลือกหัวข้อเกี่ยวกับ ลักษณะ GDP ของประเทศไทย เพราะตั้งแต่ปีที่แล้วโจทำงานที่แผนกบัญชีประชาติอยู่และรู้สึกสนใจ GDP ของหลายประเทศและในข้อมูลทางเศรษฐกิจ GDP มีความสำคัญมาก แต่ดูเหมือนว่าคนญี่ปุ่นที่วิจัยเศรษฐกิจกับสังคมไทยไม่ค่อยวิจัยรายละเอียดของ GDP นอกจากกนี้ไม่มีเอกสารที่อธิบายลักษณะกับข้อควรคำนึงของ GDP ของประเทศไทยโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น

ไม่แน่ใจว่าผู้ฟังสนใจการนำเสนอของโจและเรื่องที่โจนำเสนอจะช่วยในการวิจัยของพวกเขาหรือไม่ แต่หวังว่าจำนวนคนที่วิจัยเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น(ไม่รู้ว่าทำไมแต่โจคิดว่าคนรุ่นใหม่ที่วิจัยประเทศไทย มีจำนวนคนที่วิจัยเศรษฐกิจน้อย
หลังจากที่โจนำเสนอหัวข้อการวิจัยเสร็จแล้ว โจก็ฟังการนำเสนอของนักจิจัยคนอื่นด้วย สำหรับโจแล้วเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้นเข้าใจยากมาก ครั้งนี้นักจิวัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาเข้าร่วมและนำเสนอหัวข้อของพวกเขาด้วย โจลองฟังดูแต่เข้าใจน้อยกว่า ๒๕ เปอร์เซ็นต์ เพราะการนำเสนอนี้มีแค่ภาษาไทย(ไม่มีคนที่อธิบายโดยใช้ภาษาอังกฤษหรือญี่ปุ่น) รู้สึกเสียใจที่ไม่สาสามาถเข้าใจเลย
นอกจากไปมหาวิทยาลัยโอซาก้าแล้ว ครั้งนี้ไม่ค่อยมีเวลาว่างและไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนเป็นพิเศษ ( ไป ที่อาบน้ำสาธารณะ ที่อยู่ใกล้ๆมหาวิทยาลัย ) คราวหน้าที่จะไปเข้าร่วมการประชุมอยากจะไปเที่ยวหลายที่

พยัคฆ์สาวรอยสักมังกร (The Girl with the Dragon Tattoo)

เดือนที่แล้วโจดูหนังเรื่อง พยัคฆ์สาวรอยสักมังกร (The Girl with the Dragon Tattoo)
หนังเรื่องนี้มาจากนวนิยายของประเทศสวีเดน (นวนิยายนี้เป็นนวนิยายเรื่องแรกของนักเขียนคนนี้ แต่ก่อนตีพิมพ์เขาเสียชีวิตแล้ว นวนิยายนี้เป็นที่นิยมมากๆในประเทศสวีเดน)
หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องลึกลับ(เรื่องน่าสงสัย)และเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตามหาผู้หญิงที่หายไป ราวๆ เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว บางฉากมีภาพสยดสยอง แต่สนุกมากๆ
หนังเรื่องนี้มี ๒ เวอร์ชั่น โจดูเวอร์ชั่นสวีเดนก่อนหลังจากนั้นดูเวอร์ชั่นฮอลลีวู้ดด้วย สำหรับโจแล้วเวอร์ชั่นสวีเดนสนุกมากกว่าเวอร์ชั่นฮอลลีวู้ด อยากจะอ่านนวนิยายด้วย

Sunday 1 July 2012

การทุจริตทางการเมืองของประเทศบังคลาเทศ

อาทิตย์ที่แล้วโจอ่านบทความเกี่ยวกับการทุจริทางตการเมืองของประเทศบังคลาเทศ
บทความนี้บอกว่ารัฐบาลตอนนี้กดดัน BNP (ผ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) อยู่
มีคนบอกว่ารัฐบาลกดดันคนที่มีอำนาจและมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลไม่ดีด้วย (เช่น มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีนและเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ)
นอกจากนี้แล้วมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลสานมีเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมนักการทูตของประเทศซาอุดิอาระเบีย ผู้ประท้วงและนักหนังสือพิมพ์ที่ตรวจสอบเรื่องการทุจริตทางการเมืองของรัฐบาลด้วย
นักเขียนบอกว่าการทุจริตทางการเมืองของรัฐบาลตอนนี้ทำให้หลายประเทศเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับรัฐบาลตอนนี้ใหม่ เช่นธนาคารโลกหยุดการลงทุน รัฐบาลญี่ปุ่นส่งแค่ผู้แทนของนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นการบอกว่ารัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทุจริทางตการเมือง และรัฐบาลของประเทศอินเดียก็เริ่มสร้างความสัมพันธ์กับ BNP (สมัยก่อน ความสัมพันธ์ระหว่าง BNP กับรัฐบาลอินเดียไม่ดีเลย)
โจไม่รู้ว่าเนื้อความกับกระแสข่าวนี้เป็นความจริงหรือไม่แต่รู้สึกว่าเนื้อความของบทความนี้ลำเอียงยงนิดหน่อยเพราะนักเขียนไม่ค่อยเขียนและอธิบายการแสดงความคิดเห็นของรัฐบาล

* หลังจากบทความนี้เผยแพร่ออกมารัฐบาลบังคลาเทศส่งข้อความเกี่ยวกับบทความนี้ให้ The Economist เราจึงสามารถอ่านการแสดงความคิดเห็นของรัฐบาลได้ โจรู้สึกว่าผลกระทบของนิตยสารนี้ต่อรัฐบาลใหญ่มาก

<อ้างอิง>
Banged about (From The Economist May 26th 2012)

วันเกิด

อาทิตย์นี้โจอายุ ๒๙ ปีแล้ว จริงๆตกใจมากที่รู้ว่าตัวเองอายุ ๒๙ ปีแล้ว (นอกจากนี้ ปีนี้ก็ผ่านไปครึ่งปีแล้ว) เวลาผ่านไปเร็วมาก
สมัยก่อนโจคิดว่าเมื่ออายุ ๒๙ ชีวิตโจจะมีความมั่งคงมากแล้ว (เช่น แต่งงานแล้ว ตัดสินใจว่าจะทำงานที่ตอนนี้ทำงานอยู่ไปนานๆถึงเกษียณ เป็นต้น)

แต่จริงๆแล้วอะไรๆก็ยังไม่แน่นอนเลย โจไม่แน่ใจว่าโจจะทำอะไรที่ไหนในอีก ๒-๓ ปีหน้าปีใหม่ปีนี้โจเขียนเป้าหมายไว้ว่าจะเลือกสิ่งที่อยากจะทำจริงๆ (ภายใน ๓-๕ ปี อยากจะไปเรียน/ทำงานที่ต่างประเทศ)
แต่ตั้งแต่โจกลับมาทำงานที่บริษัทมีหลายอย่างเกิดขึ้นและยังไม่ได้เริ่มหาวิธีและสมัครอะไรเลย (ยังแค่คิดเท่านั้น) นอกจากนี้ ยังไม่ได้สมัครสอบภาษาอังกฤษด้วย(เพื่อหาโอกาสที่ดีโจจะต้องเข้าสอบภาษาอังกฤษก่อน)  เวลาที่เหลือในปีนี้อยากจะมีเวลาที่จะทำสิ่งเหล่านี้

แต่โจก็บรรลุเป้าหมายอื่นนิดหน่อยแล้ว เช่นตอนนี้กำลังวิจัยเศรษฐกิจประเทศอาเซียนที่นอกเหนือจากประเทศไทย (เขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพม่าแล้วและกำลังหาข้อมูลของประเทศอินเดียด้วย )
นอกจากนี้ลดน้ำหนักตัวนิดหน่อยแล้ว (เดี๋ยวนี้โจไปวิ่งจ็อกกิ้งบ่อยๆ แต่ตั้งแต่กลับมาจากเชียงใหม่รู้สึกอ้วนขึ้นอีกครั้งเพราะเป็นไข้หวัดและไม่ได้ไปวิ่งจ็อกกิ้งเลย )
ปีหน้าโจจะอายุ ๓๐ ก่อนวันเกิดปีหน้าอยากจะตัดสินใจเลือกหลายสิ่งและรู้สึกดีมากกว่าปีนี้