Friday, 28 December 2012

การไปเที่ยวช่วงปีใหม่ ที่เกาะไหง (จังหวัดตรัง)


สิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โจไปเที่ยวที่เกาะไหง ทะเลที่เกาะไหงสวยมาก แต่มีกิจกรรมน้อยกว่าที่คิดเอาไว้
รู้สึกเหมือนอยู่ติดที่เกาะไหง ยกเว้นการเข้าร่วมทัวร์ ๔ เกาะ เมื่ออยู่ที่เกาะไหง บางวันว่ายน้ำที่สระว่ายน้ำ และเช่าเรือแคนูแล้ว  เวลาส่วนมากไม่ได้ทำอะไร และพักผ่อนอย่างเดียว (อ้วนขึ้นแน่ๆ) โรงแรมนี้อยู่ที่สูงวิวสวย แต่เมื่อกลับห้องทุกครั้งต้องเดินขึ้นที่พัก เหนื่อยนิดหน่อย
ตอนโจเข้าร่วมทัวร์ ๔ เกาะ โจดำน้ำดูปะการัง และปลาที่เกาะแหวน เกาะมุก เกาะม้า และแวะทานอาหารที่เกาะกระดาน 
เมื่อโจว่ายน้ำเข้าถ้ำมรกตที่เกาะมุก โจรู้สึกตกใจมากเพราะวิวในถ้ำมรกต เหมื่อนกันกับวิวของเกาะที่ ปอร์โก อยู่ (หนังเรื่อง ปอร์โก รอสโซ ของสตูดิโอจิบลิ) มีหาดเล็กๆในถ้ำ แต่วิวนี้ไม่สามารถเห็นได้จากนอกถ้ำ อยากรู้ว่าคนที่สร้างหนังเรื่องนั้น เคยมาที่นี้หรือไม่ หรือมีที่อื่นที่เหมือนกันกับถ้ำมรกต
หลังจากกลับออกมาจากถ้ำมรกต โจทานอาหารที่เกาะกระดาน รู้สึกอิจฉาที่รู้ว่าทะเลของเกาะกระดานสวย และน้ำใสกว่าเกาะไหง นอกจากนี้แล้วหาดที่นี่ไม่มีหิน และเดินเล่นง่าย ในน้ำสามารถมองเห็นปลาด้วย 
คิดว่าถ้าอยากแค่พักผ่อนในการดูวิวสามารถอยู่เกาะไหงได้ แต่ถ้าอยากเล่นน้ำ และมีกิจกรรมมากกว่า จะไปพักที่เกาะกระดานดีกว่า(แต่ดูเหมือนว่าราคาโรงแรม ที่เกาะกระดานแพงกว่าเกาะไหง) 
ระหว่างโจไปเที่ยว ผิวถูกแดดเผามากไปและรู้สึกแสบ นอกจากนี้แล้วถูกแมลงกัดด้วย คราวหน้าคิดว่าจะเอาครีมทากันแดดกับกันแมลงมาด้วยดีกว่า  ไม่รู้ว่าเพราะพักที่โรงแรม ๖ วัน หรือไม่ จึงได้รับคูปองอาหารเย็นกับคูปองนวด อาหารเย็นของทุกวันฟรี(ไม่สามารถเลือกชนิดอาหารได้ แต่อาหารทุกอย่างอร่อย) และสามารถนวดไทย ได้ฟรี ๑ ครั้ง ดีใจมาก พนักงานของโรงแรมทุกคนอัธยาศัยดี 
 
คราวหน้าถ้าเป็นไปได้ อยากจะไปพักที่เกาะกระดาน และอยากจะมาที่นี่อีกครั้งด้วย(โจชอบที่จะมาพัก และเจอกับคนที่คุ้นเคย)

Friday, 21 December 2012

งานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่า

อาทิตย์ที่แล้วกับอาทิตย์นี้โจยุ่งกับการเข้าร่วมงานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่า (อาทิตย์นี้นอกจากวันจันทร์ ทุกวันมีงานเลี้ยง) จริงๆแล้วโจไม่ต้องเข้าร่วมทุกงานเลี้ยงก็ได้ แต่ปีนี้โจรู้สึกไม่ค่อยมีโอกาสไปทานอาหารกับเพื่อนกับผู้ที่มีพระคุณต่อโจ ก่อนปีใหม่อยากจะเจอพวกเขาและขอบคุณทุกคน
ทุกปีรู้สึกเหมือนกันแต่ปีนี้โจรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วมากๆ เดี๋ยวนี้นิตยสารกับหนังสือพิมพ์หลายเล่มสรุปข่าวที่มีความสำคัญในปีนี้ และโจก็คิดถึงเรื่องในปีนี้ด้วย
ปีนี้ก็มีหลายอย่าง เช่น โจกลับไปทำงานที่บริษัทแม่และเริ่มเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยกับพม่า แผนกของบริษัทก็มีการเปลี่ยนแปลงมากและหลังจากกันยายนเริ่มวิจัยเศรษฐกิจอินเดียด้วยทำงานยุ่งมากแต่มีโอกาสไปสัมภาษณ์หลายคนที่ไทยกับพม่าด้วย เข้าร่วมการประชุมการศึกษาไทยและทำการนำเรื่องเสนอเกี่ยวกับ GDP ของประเทศไทยเป็นครั้งแรก มีโอกาสนำเสนอเกี่ยวกับอัตราว่างงานที่การประชุมระหว่างรัฐมนตรีไทยกับ ญี่ปุ่น ดีใจมากที่ได้มีโอกาสรู้จักกับหลายคน นอกจากการไปทำงานแล้วไปเที่ยวหัวหิน เชียงใหม่ เกียวโต และ โอซาก้าด้วย


สำหรับเรื่องด้านครอบครัวก็มีหลายเรื่อง สำหรับเรื่องที่ไม่ดี พี่สาวเป็นโรคและรับการผ่าตัด หลังจากพี่สาวออกจากโรงพยาบาลและเริ่มอยู่กับเรา บ้านของเขาถูกขโมยขึ้น ลุงก็เสียชีวิตแล้ว แต่เรื่องที่ดีก็มีด้วยเช่นลูกพี่ลูกน้อง ๒ คนคลอดลูก นอกจากพี่สาวกับลุง ทุกคนสุขภาพดี (บางทีเราเข้าใจผิดว่าการที่แข็งแรงและสุขภาพดีเป็นเรื่องธรรมดา แต่ปีนี้จริงๆโจคิดว่าการอยู่อย่างสบายโดยไม่มีปัญหาเป็นเรื่องดีมาก เราจะต้องรู้สึกขอบคุณมากกับทุกสิ่ง)
<Life and death are the dust in the space>
ทุกปีมีหลายอย่างที่ไม่เคยคิดเอาไว้เกิดขึ้นแต่หวังว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ดี ปีนี้โจจะฉลองปีใหม่ที่ไทยเป็นครั้งแรกน่าสนุกมาก

Tuesday, 18 December 2012

หัวข้อการวิจัยต่อไป



การเขียนรายงานเกี่ยวกับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยเสร็จราวๆ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ การเขียนรายงานนี้ใช้เวลานานมากกว่าที่โจคิดเอาไว้เพราะเรื่องนี้ยุ่งยาก
 นอกจากนี้แล้วตั้งแต่กันยายนที่ผ่านมาเจ้านายให้โจเขียนรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจอินเดียทุกเดือนและโจไม่มีเวลาสำหรับเขียนรายงานเรื่องนี้มาก คิดว่าโจยังวิจัยไม่พอเพราะโจเขียนเรื่องนี้ก่อนรัฐบาลเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในปี๒๕๕๖ และก่อนเห็นผลกระทบของนโยบายนี้(โจคาดการณ์ผลกระทบของนโนบายเท่านั้น) เพื่อเข้าใจมากกว่าตอนนี้ จะต้องติดตามสถานการณ์ต่อไปและเขียนรายงานใหม่อีกครั้ง 
นอกจากนี้ยังมีรายงานอื่นที่โจกำลังเขียนอยู่แต่เดี๋ยวนี้โจเริ่มคิดเกี่ยวกับหัวข้อการวิจัยต่อไป(รู้สึกว่าการคิดแค่หัวข้อการวิจัยเท่านั้นนั้นสนุกมาก โจก็เลยชอบหาหัวข้อการวิจัย) ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มเขียนจริงๆหรือไม่แต่อยากจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย พม่า และ อินเดีย
เดี๋ยวนี้หลายคนสนใจการพัฒนาของเมืองทวาย (เมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพม่า) บางคนคิดว่าถ้าตัวเมืองกับท่าเรือของเมืองทวายพัฒนาแล้ว การนำเข้าส่งออกระหว่างไทยกับอินเดียจะเพิ่มขึ้นมาก
หลายคนบอกว่าถ้าบริษัทที่อยู่ที่ไทยส่งออก/น้ำเข้าโดยใช้ท่าเรือของเมืองทวาย ค่าส่งออก/น้ำเข้าจะลดลงและสามารถส่งออก/น้ำเข้าไปเร็วกว่าตอนนี้ บางคนก็เลยคิดว่าการพัฒนาท่าเรือของเมืองทวายจะเพิ่มการส่งออกน้ำเข้าระหว่างประเทศไทยกับอินเดีย
แต่ดูเหมือนว่าคนที่สนใจ ไทย หรือ พม่า หรือ อินเดีย จะเขียนรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของการพัฒนาท่าเรือของเมืองทวายของประเทศนั้นเท่านั้น (ยังไม่เจอรายงานที่สรุปผลกระทบตของทั้ง  ๓ ประเทศ) ดูเหมือนว่าในระยะสั้น การพัฒนาเมืองทวายมีปัญหามากๆและผลกระทบก็ไม่ค่อยมีขนาดใหญ่ แต่อยากจะลองหาความเป็นไปได้ในระยะยาว
 

Sunday, 16 December 2012

การเสียชีวิตของลุง


เมื่อ ๓ วันที่แล้วลุงเสียชีวิต โจรู้สึกตกใจเพราะโจคิดว่าเขายังแข็งแรงอยู่ จริงๆแล้วเขามีโรคเรื้อรังและเคลื่อนย้ายร่างกายลำบาก แต่เมื่อ ๒-๓ เดือนที่แล้วโจเจอกับเขาเขาดูสบายดีอยู่
ตอนแรกโจคิดว่าเขามีโรคหัวใจหรือโรคสมองเลยทำให้เสียชีวิต แต่สาเหตุของการเสียชีวิตของลุงเป็นสาเหตุที่น่าตกใจ พ่อแม่บอกว่าดูเหมือนว่าเมื่อลุงเสียชีวิตลุงกำลังทานแพนเค้กอยู่ แต่เขาไม่สามารถกลืนแพนเค้กให้ลงคอได้และแพนเค้กติดคอจนขาดอากาศหายใจ ลุงจึงเสียชีวิต น่าสงสารมาก
นอกจากนี้แล้ว เมื่อตอนลุงขาดอากาศหายใจ ลุงล้มลงและหัวไปฟาดกับสิ่งของจนเกิดบาดแผลจากรูปการณ์แบบนี้มีความเป็นไปได้ว่าลุงถูกคนอื่นฆ่าจึงต้องรับการตรวจสอบ


ดูเหมือนว่าช่วงนี้มีจำนวนคนเสียชีวิตมากและสถานที่จัดงานศพก็ไม่ค่อยว่าง ปกติที่ญี่ปุ่นเราจะจัดพิธีงานศพเพียง ๒-๓ วัน ซึ่งเราจะต้องรอถึงวันที่ ๒๑ ตอนแรกเรายังไม่แน่ใจว่าจะสามารถจัดงานได้วันที่เท่าไรและรู้สึกกังวลใจนิดหน่อยเพราะโจมีแผนจะไปเที่ยวไทยตั้ง แต่วันที่ ๒๒ และจองโรงแรมกับตั๋ว เครื่องบินไปแล้ว ถ้าจะจัดงานหลังจากวันที่ ๒๒ โจจะต้องยกเลิกแผนนี้ ( รู้สึกแย่นิดหน่อยที่รู้สึกโล่งอกที่รู้ว่าเราจะสามารถจัดงานก่อน วันที่ ๒๒ได้)

อยากให้ลุงไปขึ้น สวรรค์ และนอกจากแพนเค้กแล้วอยากให้ลุงกลืนขนมอร่อยๆทุกอย่างให้ลง

Saturday, 8 December 2012

การไปเที่ยวเกียวโตกับโอซาก้า



อาทิตย์ที่แล้วโจไปเที่ยวเกียวโตกับโอซาก้า(อยู่ที่เกียวโต ๑วันครึ่ง และอยู่ที่โอซาก้า ๑วันครึ่ง)
ตอนแรกโจไปดูใบไม้สีแดง/ใบไม้ร่วงที่เกียวโต  ครั้งนี้โจไปวัดคิงคะคุจิ วัดเรียวอันจิ  วัดคิโยะมิซึ  และศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (เคยไปเที่ยวเกียวโตหลายครั้ง แต่ไปเที่ยวในฤดูใบไม้สีแดงเป็นครั้งแรก)


ทุกที่ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีแดงแล้วและวิวสวยมากเลย เดินเล่นในสวนสาธารณะของวัด/ศาลเจ้าสนุกมากแต่ในถดูนี้ทุกที่มีนักท่องเที่ยวมากๆและรู้สึกเหนือยมากด้วย บางทีไม่ได้ขึ้นรถเมล์และรอรถเมล์คันต่อไป และรถติดมากด้วย นอกจากวัดกับศาลเจ้าแล้วร้านอาหารกับร้านขนมที่มีชื่อเสียงก็มีคนมากด้วย หาโรงแรมที่ดีและราคาถูกก็ยากมากด้วย คราวหน้าอยากจะไปเที่ยวในฤดูที่มีคนน้อยด้วย


หลังจากไปเที่ยวเกียวโต ไปเที่ยวโอซาก้าต่อ ไปเที่ยว ที่ โดทนโบริ ปราสาทโอซาก้า หอคอยซคเท็นกะกุ และ อุเมดะ เดินเล่นช้อปปิ้งที่นันและทานโอโคโนมิยากิ  ทะโคยะกิ และ ปู ด้วย



ระหว่างโจไปเที่ยวเกี่ยวโตกับโอซะกะมีโอกาสฟังภาษาไทยที่นักท่องเที่ยวพูดหลายครั้ง ดูเหมือนว่านักท่องเที่ยวคนไทยที่ไปเที่ยวเกียวโตกับโอซาก้าเพิ่มขึ้น(ไม่แน่ใจว่าที่ไทยมีสถานท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงด้านใบไม้สีแดงหรือไม คิดว่าในภาคเหนือมีใบไม้แดง ถ้ามีที่ดีมากกว่าเกียวโตอยากจะไปเที่ยว)

ไปสปาหินร้อน



อาทิตย์ที่แล้วโจไปโรงอาบน้ำสาธารณะขนาดใหญ่กับเพื่อน และไปใช้บริการ Ganbanyoku ด้วย(สปาที่ใช้หินร้อน)  ไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้โจรู้สึกเหนื่อยหรือไม่ แต่การนอนบนหินร้อนทำให้โจรู้สึกสบายมากๆๆ (เหงื่อออกมากด้วย) และวันนั้นหลับได้ง่ายมากกว่าปกติ (สุดท้ายโจนอนไปมากกว่า ๑๓ ชั่วโมง)

ในเวลาว่างโจตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ Ganbanyoku และรู้สึกตกใจที่รู้ว่าประเทศอื่นไม่มีสปาแบบนี้เลย จริงๆแล้วมีสปาที่ใช้หินร้อนแต่ระบบไม่เหมือนกันเลย ที่สปาที่ใช้หินร้อนในต่างประเทศหมอนวดวางหินร้อนบนร่างกายของลูกค้า
แต่สปาที่โจไปไม่มีหมอนวดและลูกค้านอนบนหินร้อนเองที่ญี่ปุ่นมีสปาแบบที่ใช้ระบบของต่างประเทศด้วยแต่ คิดว่าระบบแบบญี่ปุ่นสะดวกและราคาก็ถูกกว่า
อยากรู้ว่าทำไมประเทศอื่น(โดยเฉพาะประเทศหนาว และประเทศที่มีสปามาก)ไม่มีสปาแบบนี้ คนต่างชาติไม่ค่อยชอบให้เหงื่อออกหรือไม่รู้ความสุขของสปาแบบนี้หรือ(ถ้าอย่างนั้น น่าสงสารนะ)

 เคยได้ยินว่าคนต่างชาติไม่ค่อยชอบเข้าอาบน้ำกับคนอื่นด้วยโดยไม่ใส่ชุดอะไร (สำหรับคนญี่ปุ่นพวกเขาขี้อายมากไป) แต่สปาแบบนี้เราเข้าโดยใส่เสือคลุมด้วยได้ โจก็เลยคิดว่าคนต่างชาติก็สามารถเข้าได้ง่าย หวังว่าต่างประเทศจะมีสปาแบบนี้ในอนาคต
 *เขียนไดอารี่นี้วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน  ปี ๒๕๕๕