Sunday, 27 October 2019

สังคมไร้เงินสดของญี่ปุ่น


ตั้งแต่เดือนนี้ ภาษีบริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อช่วยเศรษฐกิจและ ส่งเสริมสังคมไร้เงินสด รัฐบาลใช้นโยบายการลดราคา 2-5 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้บริโภคที่จ่ายเงินโดยไม่ใช้เงินสด (เช่นใช้ใช้ บัตรเครดิต หรือ สมาร์ทโฟนแทน) หลายบริษัทเริ่มใช้วิธีใหม่ๆ เช่น Pay Pay, Line Pay แต่อาจจะเพราะว่าโจเป็นคนแก่แล้ว โจยังไม่เคยใช้วิธีเหล่านี้ 
https://plusalphadigital.com/cashless-payment-japan/

ปกติโจใช้ บัตร Suica /Pasmo สำหรับสินค้าราคาถูกและใช้บัตรเครดิตสำหรับสินค้าราคาแพง ใช้เงินสดสำหรับร้านที่ไม่รับบัตรเท่านั้น ดูเหมือนว่าตอนนี้ อัตราส่วนของการบริโภคที่ไม่ใช้เงินสดของญี่ปุ่นอยู่ที่ราวๆ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นอัตราส่วนนี้ต่ำกว่าประเทศอื่น รัฐบาลอยากจะเพิ่มอัตราส่วนนี้เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ก่อนปี  .. 2025
https://www.nippon.com/en/in-depth/d00492/the-state-of-cashless-payments-in-japan.html

สถานการณ์นี้จะเปลี่ยนหรือไม่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมผู้สูงอายุ โจรู้สึกว่าผู้สูงอายุยังไม่ค่อยมีความมั่นใจกับวิธีจ่ายเงินใหม่และไม่ค่อยถนัดใช้สมาร์ทโฟนด้วย แต่พวกเขาก็ใช้บัตร Suica /Pasmo บ่อยๆแล้ว เพราะว่าวิธีจ่ายเงินด้วย บัตร Suica /Pasmo ก็ง่ายกว่าการใช้สมาร์ทโฟนและไม่มีความเสี่ยงเหมือนวิธีอื่น  (ไม่ต้องลงทะเบียนบัญชีธนาคารก่อนใช้บัตรนี้  ไม่สามารถยืมเงินได้  เก็บเงินได้สูงสุด 20,000 เยนเท่านั้น ถ้าทำบัตรนี้หายไป จะสามารถทำอันใหม่ได้โดยไม่ต้องเสียเงินที่เก็บในบัตรเก่าคิดว่าในต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยใช้รถไฟ หลายคนยังไม่มีบัตร Suica /Pasmo และร้านที่จะยอมรับบัตรนี้ก็มีไม่มาก
อยากจะรู้ว่าสถานการณ์ในต่างจังหวัดแบบนี้จะเปลี่ยนอย่างไร

๒ เดือนที่ผ่านมา

ระหว่างอาจารย์ภาษาไทยกลับไทยอยู่ โจก็ยุ่งกับหลายเรื่องและไม่ได้เรียนภาษาไทยเลยประมาณ 2 เดือน (จึงรู้สึกว่าการเขียนไดอารี่นี้ใช้เวลานานกว่าปกติ) ๒ เดือนที่ผ่านมา โจมี 3 เรื่องในการทำงาน
เรื่องที่ 1 คือ  โจไปทำงานที่สิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ (บริษัทของโจบริจาคเงินให้โครงการวิจัยระหว่างประเทศและเจ้านายให้โจเข้าร่วมการประชุมแทนเขาในฐานะผู้สังเกตการณ์) โจไม่ต้องทำอะไรในการประชุมนี้ (เข้าร่วมฟังบทสนทนาของคนอื่นเท่านั้น) จึงรู้สึกไม่ค่อยมีประโยชน์ แต่ดีใจที่ได้เจอกับหลายๆคนที่อยู่ที่สิงคโปร์ก่อนและหลังการประชุมนี้

เรื่องที่ 2 คือ โจมีโอกาสเจอกับข้าราชการระดับสูงของประเทศไทยระหว่างพวกเขามาทำงานที่โตเกียว พวกเขามาเยี่ยมบริษัทโจและเราคุยเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย รู้สึกยินดีที่ได้เรียนรู้วิสัยทัศน์ของข้าราชการระดับสูง

เรื่องที่ 3 คือ พนักงานใหม่เข้าร่วมแผนกของโจ โจเคยทำงานกับเขาเมื่อเรา 2 คนทำงานที่รัฐบาล (บริษัทของโจกับเขาเคยส่งเราไปทำงานที่รัฐบาลและเราเคยทำงานพร้อมกัน) เพราะว่าโจรู้ว่าเพื่อนคนนั้นมีความสามารถมากในการวิเคราะห์เศรษฐกิจเอเชียดี โจรู้สึกดีใจที่ได้ทำงานกับเขา เมื่อเขาเข้าร่วมบริษัท ถึงแม้โจไม่ได้มีอำนาจหรือสิทธิที่จะเลือก/จ้างเขา(เจ้านายกับเพื่อนเป็นคนตัดสินใจ) แต่โจรู้สึกมีความรับผิดชอบกับเรื่องนี้เพราะว่าโจแนะนำเขาให้เข้าบริษัทโจ หวังว่าการตัดสินใจนี้จะเป็นเรื่องดีสำหรับทั้งเขากับบริษัท

https://www.cognology.com.au/everything-you-need-for-your-new-employee/