Saturday 4 August 2012

ไฟดับครั้งใหญ่ของประเทศอินเดีย


อาทิตย์ที่แล้วประเทศอินเดียเจอปัญหาไฟดับครั้งใหญ่ ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า ๖๐๐ ล้านคน (แต่ภาคใต้ เช่นเมืองมุมไบ ไม่ได้เจอปัญหานี้) นอกจากนี้แล้วไฟดับใหญ่ครั้งนี้อาจจะส่งผลกระทต่อการลงทุนของบริษัทข้ามชาติด้วย 
บทความของนิตยสาร The Economist บอกว่าอุปทานของไฟฟ้าไม่ได้เพิ่มขึ้นมากพอเพราะรัฐบาลไม่ได้เพิ่มการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานมากพอ นอกจากนี้แล้วอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีข้อจำกัดมากและระบบก็ซับซ้อนมาก ดังนั้นการที่บริษัทของเอกชนจะเข้ามาทำธุรกิจใอุตสาหกรรมนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่มาจากไฟดับนี้ รัฐบาลจะต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของตอนนี้ 

แต่นักเขียนชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่สมัยก่อนน ดูเหมือนว่ารัฐบาลอยากหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่มีความสำคัญและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาก โจไม่รู้ว่ารัฐบาลมีความสมัครใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ แต่คิดว่าการเพิ่มการลงทุนของรัฐบาลอาจจะยากเพราะงบประมาณของรัฐบาลในประเทศอินเดียมีการขาดดุลมาก 

เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศอินเดียจะต้องเพิ่มอุปทานไฟฟ้าโดยให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น
<อ้างอิง>
Powerless (From The Economist Jul 31st 2012)
The future is black (From The Economist Jul 31st 2012)
Blackout nation (From The Economist Aug 4th 2012)

วิธีคำนวนความเหลื่อมล้ำทางรายได้ (คำถามของคนบ้า)


ในเวลาส่วนตัว โจเขียนรายงานเกี่ยวกับสถิติของเศรษฐกิจไทย และส่งรายงานนี้ให้นิตยสารสมาคมญี่ปุ่น-ไทย ทุก 2 เดือน ตอนนี้โจเขียนเรื่องเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของรายได้ เมื่อโจเขียนหัวข้อนี้โจใช้วิธีคำนวนความเหลื่อมล้ำดังนี้ 

  • นอกจากรายได้ อะไรๆก็เหมือนกัน (เช่น ไม่มีเงินฝืด/เงินเฟ้อ) 
  • ในปี 2545 รายได้ของคน/ภาค /จังหวัด A คือ 10 และสำหรับคน/ภาค /จังหวัด B คือ 100 
  •  ในปี 2555 รายได้ของคน/ภาค /จังหวัด A คือ 20 และสำหรับคน/ภาค /จังหวัด B คือ 200

โจถามตัวเองว่า ในสถานการณ์นี้ เราสามารถบอกว่า ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่าง A กับ B เพิ่มขึ้นหรือไม่ (ในที่นี้โจพูดเกี่ยวกับแค่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ไม่ได้พูดถึงความเหลื่อมล้ำทางความสุขที่มาจากรายได้ นอกจากรายได้แล้วความเหลื่อมล้ำทางความสุขขึ้นอยู่กับสมการของความสุขในการบริโภคและมีความซับซ้อนมากขึ้น)
ถ้าเราเปรียบเทียบ A กับ B โดยใช้ รายได้ของ B ลบ รายได้ A” ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น (เพิ่มจาก 90 เป็น 180) แต่ถ้าเราเปรียบเทียบโดยใช้ อัตราความแตกจ่างในรายได้ระหว่าง B และ A  ความเหลื่อมล้ำไม่เปลี่ยนเลยเมื่อเราคำนวนความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เราควรจะใช้วิธีไหนดีและเพราะอะไร 
โจใช้วิธีที่เปรียบเทียบใช้อัตราบ่อยๆโดยไม่ค่อยคิดเรื่องรายละเอียดและเหตุผล แต่เดี๋ยวนี้เพื่อนโจไม่ยอมรับวิธีนี้และโจไม่ได้อธิบายให้ละเอียด จึงเริ่มรู้สึกไม่แน่ใจว่าทำไมโจใช้วิธีนี้มากกว่า และรู้สึกอึดอัดด้วย

จริงๆแล้วในรายงาน โจสามารถอธิบายแค่ เมื่อเราคำนวนความเหลื่อมล้ำ มีหลายวิธี เท่านั้นก็ได้ แต่ถ้าโจเขียนแบบนั้น ผู้อ่านอาจจะรู้สึกแปลกใจเหมือนกับโจ  โจจะต้องคิดเรื่องเหตุผลอีกครั้ง

  * จริงๆแล้ว รายได้ (* Per capita Gross Regional & Provincial Product) ของกรุงเทพฯลบรายได้ของภาคอีสาน เพื่มขึ้นใน 10 ปีที่ผ่านมา แต่อัตราความแตกจ่างในรายได้ระหว่าง กรุงเทพกับภาคอสาน ไม่เปลี่ยนเลย ในกรณีนี้เราจะอธิบายอย่างไรดี

คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่ตอบง่ายสำหรับคนที่ฉลาด แต่สำหรับคนบ้าแบบโจเข้าใจ/อธิบายยาก