Sunday 21 August 2011

การแต่งงานในประเทศแถบเอเซียตะวันออก


วันที่ ๒๑ สิงหาคม ปี ๒๕๕๔
อาทิตย์นี้นิตยสาร The Economist มีบทความเกี่ยวกับการแต่งงานในประเทศแถบเอเซียตะวันออกที่น่าสนใจ

บทความนี้บอกว่าตั้งแต่กว่า ๒๐ ปีที่แล้ว อัตราการแต่งงานของผู้หญิงในประเทศปแถบเอเซียตะวันออกลดลงและอายุแต่งงานเฉลี่ยสูงขึ้นด้วย
นักเขียนชี้ให้เห็นว่าการที่จำนวนผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นสงผลให้มีผู้หญิงที่ทำงานที่บริษัทเพิ่มขึ้นและทำให้ผู้หญิงเป็นอิสระจากผู้ชาย
ผู้หญิงที่มีอิสระบางคนเริ่มรู้สึกว่าไม่อยากจะแต่งงานเพราะเขารู้ว่า ถ้าแต่งงานจะทำงานต่อยากขึ้น (บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีระเบียบที่ดีสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและผู้หญิงมีลูกแล้ว นอกจากบริษัทแล้วสังคมหลายประเทศยังมีความคิดโบราณคือถึงแม้ว่าผู้หญิงทำงานที่บริษัทผู้หญิงก็ต้องทำงานบ้านด้วย)
 จริงๆแล้วการให้ผู้หญิงมีการศึกษา โอกาสที่ทำงานนอกบ้านและเป็นอิสระจากผู้ชายเป็นเรื่องดี
แต่อัตราการแต่งงานที่ลดลงหมายความว่าจำนวนเด็กเกิดใหม่ก็จะลดลงด้วย 

นักเขียนบอกว่าถ้าอยากเพิ่มอัตราการแต่งงานก็จะต้องเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับครอบครัวแบบเดิมด้วย(แต่เขาไม่อธิบายวิธีเปลี่ยนแปลง)
โจรู้สึกตกใจที่นักเขียนบอกว่าการเปลี่ยนแปลงกฏหมายทำให้การหย่าร้างง่ายขึ้นจะทำให้อัตราการแต่งงานเพิ่มขึ้น โจไม่สนใจว่าใครทำงานนอกบ้านหรือใครทำงานที่บ้าน แต่คิดว่าทุกคนควรจะมีโอกาสทำงานนอกบ้าน(อาทิตย์ละแค่ ๑ ครั้งก็ยังดี)
 เพราะว่าถ้าพ่อหรือแม่ทำงานที่บ้านอย่างเดียวและไม่มีโอกาสรู้จักคนอื่น ความคิดของเขาก็จะถูกจำกัดอยู่ในวงแคบและเรื่องนี้จะสงผลกระทบต่อการเลี่ยงดูเด็ก

อ้างอิง Asia’s lonely hearts (Aug 20th  2011 From The Economist)
                The flight from marriage (Aug 20th 2011 From The Economist)

Saturday 13 August 2011

การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจ


วันนี้โจอ่านบทความที่เปรียบเทียบประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้ว
กราฟในบทความนี้แสดงให้เห็นว่าหลังจากปี ๒๕๔๓ อัตราส่วนของเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นในปี ๒๕๔๓  GDP ของประเทศกำลังพัฒนาคิดเป็นราว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของ GDP โลก แต่ในปี ๒๕๕๓ อัตรานั้นเพิ่มขึ้นเป็น ๓๘ เปอร์เซ็นต์และจะสูงขึ้นเพิ่มมากกว่า ๕๐เปอร์เซ็นต์ภายใน อีก ๑๐ ปี (การบริโภค การลงทุน การส่งออก และ การนำเข้า ก็รวมอยู่ด้วยใน GDP)
 นอกจาก GDP อัตราส่วนของสถิติอื่นๆเช่นจำนวนประชากร การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เป็นต้นก็สูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่าบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในการเมืองโลกก็จะเพิ่มขึ้นต่อด้วยและกระแสโลกเดิมที่มีประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้ตัดสินสิ่งที่สำคัญก็จะเปลี่ยนแปลงด้วย
*นักเขียนบอกว่าสมัยก่อนประเทศกำลังพัฒนาเป็น หางของสุนัขแต่ตอนนี้หางของสุนัขกำลังจะเป็นผู้กำหนดทิศทาง*
 นักเขียนไม่บอกว่ากระแสใหม่นี้จะดำเนินต่อถึงเมื่อไร แต่โจคิดว่ากระแสโลกนี้จะเปลี่ยนแปลงอีก  ครั้งภายในอีก ๓๐-๔๐ ปี เพราะว่าจำนวนประชากรของประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศจะเริ่มลดลงและจะมีปัญหาที่ตอนนี้ประเทศพัฒนาแล้วมีด้วย (เช่นปัญหาทางงบประมาณของรัฐบาล) 
แต่โจไม่คิดว่าความสำคัญของประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเพราะว่าไม่แน่ใจว่าประเทศพัฒนาแล้วจะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลและปัญหาเกี่ยวกับการลดลงของจำนวนประชากรได้หรือไม่

อ้างอิง Power shift (Aug 4th 2011 From The Economist)
                Why the tail wags the dog (Aug 6th 2011 From The Economist)
                Docking dog's tails a hot topic (Jun 17th 2010 From Southern
                Institute of Technology Journalism News *only the image* ) 
              

Tuesday 9 August 2011

ซีรีย์อเมริกา “Lie to me” (โกหกผมสิ)

วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๔
เดี๋ยวนี้ เมื่อโจมีเวลาว่างโจดูซีรีย์อเมริกา Lie to me (โกหกผมสิ)
เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักจิตวิทยา ตัวเอกของเรื่องนี้เป็นนักจิตวิทยาและเขาช่วยเหลือตำรวจในการสอบสวนอาชญากรรม
สำหรับตำรวจ บางทีการสอบสวนผู้ต้องสงสัยยากมากเพราะว่าการแยกเรื่องจริงที่กับเรื่องโกหกที่
ผู้ต้องสงสัยพูดยากเป็นสิงที่ยาก แต่ตัวเอกแยกเรื่องจริงกับเรื่องโกหกโดยดูสีหน้า เสียง และกิริยาของผู้ต้องสงสัย ตัวเอกบอกว่าถึงแม้ว่าผู้ต้องสงสัยโกหกเก่งมาก สีหน้า เสียงกับกิริยาของเขา
มีลักษณะเฉพาะและแสดงว่าเขาโกหกหรือเปล่า(แต่สำหรับคนธรรมดา จะดูลักษณะนี้ไม่ออก)
จริงๆแล้วซีรีย์เรื่องนี้เป็นเรื่องแต่ง แต่ตันแบบของตัวเอกมาจากชิวิตของนักจิตวิทยาที่มีตัวตนอยู่จริง (Paul Ekman) เขาบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่าง การแสดงออกทางสีหน้ากับความรู้สึกเช่นความสุข ความประหลาดใจ ความโศกเศร้า เป็นต้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมกับประเทศ  (สมัยก่อนทุกคนเชื่อว่าลักษณะของการแสดงออกทางสีหน้าขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม) 
 แต่ Paul Ekman เทียบการแสดงออกทางสีหน้าระหว่างคนในอเมริกากับประเทศปาปัวนิวกินี (เพื่อวิจัย เขาเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นั้นนาน) และบอกว่าลักษณะของการแสดงออกทางสีหน้ามีความเป็นสากล
น่าสนใจว่าทำไม่การแสดงออกทางสีหน้าไม่ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม





อ้างอิง Lie to me (official homepage)

Sunday 7 August 2011

ดรรชนีบิ๊กแมค

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
โจอ่านบทความเกี่ยวกับดรรชนีบิ๊กแมค
นิตยสาร The Economist เริ่มคำนวณดรรชนีนี้เป็นครั้งแรกเมื่อ ๒๕ ปีที่แล้ว
ดรรชนีนี้อยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อและบางคนคิดว่าดรรชนีนี้แสดงให้เห็นถึงค่าเงินสกุลอื่น
เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ จริงๆแล้วมีคนบอกว่าดรรชนีบิ๊กแมคไม่ถูกต้องเพราะว่าความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อขึ้นอยู่กับราคาสินค้าหลายอย่าง นอกจากนี้เราไม่นำเข้าและส่งออกบิ๊กแมคระหว่างประเทศเหมือนสินค้าอื่น
 แต่ นักเขียนชี้ให้เห็นว่าถ้าเทียบกับดรรชนีอื่น เช่น ดรรชนีไอพอด ดรรชนีอิเกีย และ ดรรชนีสตาร์บัคส์ เป็นต้น ดรรชนีบิ๊กแมคมีความถูกต้องมากกว่า (บทความนี้บอกว่านักลงทุนบางคนไม่ค่อยใช้สถิติของรัฐบาลและชอบดรรชนีอื่น มากกว่าเพราะว่ารัฐบาลตีพิมพ์ตัวเลขสถิติต่างๆช้าเกินไป)
ตอนนี้ดรรชนีบิ๊กแมคแสดงให้เห็นว่าเงินยูโรต่อเงินดอลลาร์สูงเกินไป ค่าเงินเยนอยู่ในอัตราที่เหมาะสม และค่าเงินจีนต่ำเกินไป(แต่ค่าเงินจีนอยู่ใกล้อัตราที่เหมาะสม !?)
 โจไม่รู้เรื่องดรรชนีอื่นแต่รู้สึกว่าดรรชนีบิ๊กแมคไม่แสดงให้เห็นถึงค่าเงินเยนอย่างถูกต้องและค่าเงินเยนสูงเกินไปเทียบกับเงินสกุลอื่น
เพราะว่านอกจากยุโรปกับอเมริกาแล้วงบประมาณทางรัฐบาลของญี่ปุ่นก็มีปัญหามาก
การเพิ่มขึ้นของจำนวนคนแก่กับการลดลงของจำนวนเด็กในญี่ปุ่นจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจแย่ลงด้วย โจกลัวว่าในอนาคตค่าเงินเยนจะลดลงมากๆและจะไปเที่ยวต่างประเทศยากขึ้น

อ้างอิงBeefed-up burgernomics (Jul 30th 2011 The Economist)
               Fast food for thought  (Jul 30th 2011 The Economist)