Sunday 25 September 2011

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน


อาทิตย์นี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน บทความนี้บอกว่ากลุ่มอาเซียนจะต้องทำให้ความสัมพันระหว่างประเทศในกลุ่มแน่น แฟ้นมากกว่าตอนนี้เพราะว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนี้จะทำให้มีผลดีต่อทุก ประเทศ
ตอนนี้ทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนมีนโยบายการค้าเสรีระหว่างกัน
แต่บทความนี้บอกว่ากล่มอาเซียนจะต้องมีการร่วมมือกันมากกว่านี้และจะต้องมี   ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   ในประชาคมเศรษฐกิจนี้ทุกประเทศจะต้องยอมรับการเคลือนย้ายแรงงานติ ยอมรับการย้ายเงินทุนอย่างเสรี เหมือนกับยุโรป (แต่บทความไม่บอกว่าเงินในกลุ่มอาเซียนจะต้องเป็นเงินสกุลเดียวกัน )
บางคนบอกว่าถ้ากลุ่มอาเซียนมีประชาคมเศรษฐกิจนี้ เศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนจะดีขึ้นเพราะการทำธุรกิจระหว่างประเทศจะง่ายขึ้น
 โจก็หวังว่าเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนจะดีขึ้นแลการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนี้เป็นเรื่องดีแต่กลัวว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนี้จะทำให้เกิดปัญหามาก เช่นปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในประเทศ ปัญหาเกี่ยวกับตลาดแรงงาน
(การเครือนย้ายของแรงงานจากประเทศจนยากจะไปย้ายประเทศที่มั่งคั่งอาจจะทำให้แรงงานประเทศมั่งคั่งตกงานและเรื่องนี้อาจทำให้ประชาชนในประเทศมั่งคั่งเกลียดคนต่างชาติและก่อให้เกิดปัญหาใหม่)
นอกจากนี้ระบบกับความคิดทางการเมืองของประเทศในกลุ่มอาเซียนยังไม่เหมือนกัน (แต่อาเซียนไม่มีอำนาจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศอาเซียน) ไม่รู้ว่าการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะสามารถทำได้หรือไม่

อ้างอิง
The AEC Needs “More ASEAN”, Not Less (Sep 23th 2011 From Thailand Business News)
Thailand’s biggest challenge is ASEAN economic integration (Jun 7th 2011 From Thailand Business News)
Can ASEAN Become a Premier League (Sep 22nd 2011 From Thailand Business News)  

ความเหลื่อมล้ำของเศรษฐกิจโลก


อาทิตย์นี้นิตยสาร The Economist มีบทความเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของเศรษฐกิจโลก(โจรู้สึกว่าหลังจากวิกฤตการเงินในโลกปี ๒๕๕๑ จำนวนบทความที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของเศรษฐกิจโลกบทความที่เปรียบเทียบระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้วและบทความที่เกี่ยวกับการเปลียนแปลงของขั้วอำนาจนั้นมากขึ้น)
บทความนี้ก็บอกว่า GDP ของประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิ่มขึ้นและความสำคัญของเศรษฐกิจของอเมริกากำลังลดลงเหมือนกับบทความอื่น แต่บทความนี้ได้สรุปปัญหาความเสี่ยงจากการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาที่จะทำให้เกิดปัญหาต่อเศรฐกิจโลกให้เข้าใจได้ง่ายกว่า ซึ่งสรุปได้ ๓ ข้อดังนี้
 
ข้อที่ ๑  การสูงขึ้นของราคาอาหารกับทรัพยากร  ยิ่ง GDP เพิ่มขึ้นอุปสงค์อุปทานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่สำหรับอาหารกับทรัพยากรนั้นการเพิ่มขึ้นของอุปทานจะทำได้ยาก


ข้อที่ ๒   จำนวนคนตกงานในประเทศกำลังพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้น ยิ่งความสัมพันธ์ทางธุรกิจแน่นแฟ้นขึ้นโรงงานก็จะยายจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนาได้ง่ายทำให้จำนวนคนที่ตกงานในประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้น

ข้อที่ ๓ การจัดการเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ดูเหมือนว่าการจัดการทางด้านวิกฤตการเงินของประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศยังไม่ค่อยดีและไม่แน่ใจว่าประเทศเหล่านั้นจะจัดการปัญหาที่จะเกิดได้หรือไม่
บทความนี้สแสดงให้เห็นว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกนี้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของประเทศจีนและคาดว่า GDP ของประเทศจีนจะเพิ่มมากกว่าอเมริกาภายใน ๑๕ ปีและความเร็วของการเพิ่มนั้นจะขึ้นอยู่กับอัตราการการเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตร่าระหว่างเงินจีนกับเงินดอลลาร์
เดี๋ยวนี้นิตยสารกับหนังสือพิมพ์หลายฉบับมีบทความที่เปรียบเทียบ GDP ของประเทศจีนกับอเมริกาและคาดการณ์ว่า GDP ของประเทศจีนจะเพิ่มมากกว่าอเมริกาเมื่อไร แต่โจคิดว่าไม่มีบทความที่เขียนเรื่องความแตกต่างของระบบ GDP ระหว่าง ๒ ประเทศนี้ (ระบบ GDP เหมือนกับการทำบัญชีของบริษัทคือถ้าระบบไม่เหมือนกัน ก็ไม่สมารถที่จะนำมาเปรียบเทียบได้)


บางคนบอกว่าระบบกับวิธีการคาดคะเนของประเทศจีนก็ยังมีปัญหาอยู่มาก อยากให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับมีบทความที่เขียนอธิบายเรื่องความแตกต่างของระบบ GDP ระหว่าง ๒ ประเทศนี้และอธิบายเรื่องปัญหาของระบบ GDP ของประเทศจีนให้เข้าใจง่าย


อ้างอิง
A game of catch up (Sep 24th 2011 From The Economist)
Catching up is so very hard to do (Sep 24th 2011 From The Economist)
Becoming number one (Sep 24th 2011 From The Economist)
Save the date (Dec 16th 2010 From The Economist)