Sunday 23 February 2020

ดูแลนักศึกษาฝึกงาน

เดือนนี้แผนกของโจรับนักศึกษาที่รู้สึกสนใจทำงานกับบริษัทโจ
เรารับนักศึกษา 3 ครั้ง ( ครั้งละ  6 คน แต่ละครั้ง ใช้เวลา3 วัน ) ซึ่งโจจะต้องดูแลพวกเขา (โจดูแล 3 คนใน 6 คน และเพื่อนร่วมงานดูแล 3 คน) ตอนแรกโจไม่อยากจะเป็นคนดูแลนักศึกษาเพราะว่าโจไม่เคยมีรุ่นน้องที่ตัวเองจะต้องดูแลและไม่รู้ว่าจะดูแลพวกเขาอย่างไรดี (เคยทำงานกับรุ่นน้องแต่พวกเขามีประสบการณ์มาก โจเลยไม่ต้องช่วยพวกเขามาก)
นอกจากนี้แล้ว เดือนนี้ก็โจยุ่งมาก (ช่วงดูแลนักศึกษา 9 วัน ไม่สามารถมีสมาธิในงานตัวเองได้ โจจึงต้องทำงานวันเสาร์อาทิตย์แทน) แต่คิดว่าประสบการณ์นี้เป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับโจ  ทำให้โจเข้าใจว่าการดูแลรุ่นน้องยากแค่ไหน จัดการทีมอย่างไรดี เมื่อนักศึกษานำเสนองานในวันสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว โจรู้สึกดีใจมากเหมือนตัวเองสำเร็จด้วย
http://www.quotehd.com/quotes/craig-miller-quote-internships-are-very-important-part-of-our-education-program-first-and

ในแผนกโจ มีเพื่อนร่วมงานที่ใช้เวลานานสำหรับดูแลรุ่นน้องมากกว่าเขียนรายงานตัวเอง เมื่อก่อนโจไม่เข้าใจว่าเพื่อนร่วมงานคนแบบนั้นรู้สึกพอใจที่ต้องดูแลนักศึกษาหรือไม่  สุดท้ายโจเข้าใจว่าพวกเขามีความสุขในการดูแลรุ่นน้องเหมือนเขียนรายงานตัวเอง
ดูเหมือนว่าปีนี้ก็นักศึกษาส่วนใหญ่สนใจการวิจัยเศรษฐกิจญี่ปุ่นมากกว่าต่างประเทศทำให้มีความเป็นไปได้ที่โจจะมีรุ่นน้อน้อยมาก แต่ถ้ามีโอกาสที่จะได้ดูแลพนักงานที่พึ่งเรียนจบก็น่าสนใจ

โชคไม่ดี

เดือนนี้มีหลายเรื่องที่โชคไม่ดี แต่ละเรื่องไม่ซีเรียสเท่าไร แต่เหมือน สุภาษิตภาษาญี่ปุ่นบอก “แม้จะเป็นเพียงฝุ่น แต่ถ้ารวมกันมากๆ ก็จะกลายเป็นภูเขา” ทำให้โจรู้สึกเหนื่อยใจ
เช่น ประมาณ ๒ อาทิตย์ที่แล้ว พนักงานของบริษัททีวีมาสัมภาษณ์โจและถ่ายวิดีโอเกี่ยวกับความคิดเห็นโจต่อเศรษฐกิจไทย  พวกเขาอยากจะอธิบายว่า ทำไมนักท่องเที่ยวคนต่างชาติโดยเฉพาะคนไทยชอบมาเที่ยวญี่ปุ่น (พวกเขาตั้งใจมุ่งเน้นคนไทย เพราะว่าจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยที่มาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นโดยเร็วมาก) ในรายการนี้พวกเขาอยากจะให้โจอธิบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจกับสังคมไทยใน 1 นาที โจจึงใช้เวลาเพื่อเตรียมตัวเองสำหรับการสัมภาษณ์นี้และช่วยพวกเขาโดยส่งข้อมูลให้
ถึงแม้รู้สึกอายแต่หวังว่าวิดีโอนี้จะถูกออกอากาศ แต่เมื่อโจดูรายการนี้ โจรู้สึกเสี่ยเสียใจที่รู้ว่าพวกเขาไม่ได้ใช้วิดีโอนั้นเลย
ในรายการนี้ผู้สื่อข่าวอธิบายว่าบางที่ราคาของสินค้ากับบริการในญี่ปุ่นถูกกว่าไทย เช่นถ้าไป Daiso ที่ไทยราคา 60 บาท แต่ ในญี่ปุ่นแค่  30 บาท นอกจากนี้ ถ้าไปร้านราเม็งที่ดังมากที่อเมริกา ราคาราว ๆ 1,000 บาท แต่ต่ำกว่า 500 บาทในญี่ปุ่น ดูเหมือนว่ารายการนี้ใช้วิดีโอเกี่ยวกับราเม็งแทนวิดีโอโจ ยังไงก็ตามราเม็งนั้นดูอร่อยดี เลยเข้าใจว่าผู้ชมคงสนใจราเม็งมากกว่าโจ (เข้าใจว่าคู่แข่งของโจคือราเม็ง แต่แม้ว่าจะพยายามมาก โจคิดว่าชนะราเม็งก็ไม่ไหว)
https://menya-shono.com/news/5017/
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ความพยายามของโจในเดือนนี้ไม่ได้รับรางวัล  บริษัทโจมีแผนการจะจัดการประชุมสำหรับนักข่าวที่รู้สึกสนใจอินเดีย และเจ้านายจะให้โจอธิบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจอินเดีย โจเตรียมตัวสำหรับการประชุมนี้โดยใช้วันเสาร์อาทิตย์ (ทำ power point ราว ๆ 70 หน้า) แต่เพราะว่าไวรัสโคโรนาค่อยๆระบาดในญี่ปุ่น เจ้านายจึงเปลี่ยนใจยกเลิกการประชุมนี้  เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ แต่ทำให้รู้สึกเหนื่อยใจ
อาทิตย์นี้ยังมีคนที่ถามโจเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุมเดือนหน้า แต่โจรู้สึกกลัวว่าการประชุมนี้ก็อาจจะถูกยกเลิกด้วย

Monday 6 January 2020

สไตล์การทำงาน

วันหยุดของปีใหม่ปีนี้ โจไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนและอยู่ที่โตเกียวเฉยๆ (ทำงานบ้าง เรียนภาษาไทยบ้าง กินๆนอนๆบ้าง และเจอกับทั้งเพื่อนและญาติบ้าง)

สำหรับการทำงาน ตอนนี้โจเขียนรายงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศอินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกาจากมุมมองของอินเดีย (เส้นตายของรายงานนี้กำลังจะมาถึง โจเลยต้องทำงานในวันหยุดปีใหม่นี้)  
นอกจากนี้แล้ว โจกำลังเขียนรายงานอีก 2 เรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยพร้อมกัน ( รายงานแรกคือเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเงิน และอีกหนึ่งเรื่องคือรายงานเกี่ยวกับหรี้ครัวเรื่อง) รายงานเหล่านี้เขียนยังไม่เสร็จ แต่โจก็ต้องคิดถึงหัวข้อการวิเคราะห์ใหม่ๆด้วยเพื่อเตรียมตัวสำหรับรายงานใหม่ 

ปัจจุบันนี้ ทำงานสไตล์แบบนี้จนเป็นปกติแล้ว   (เขียนหลายรายงานพร้อมกันและคิดถึงหัวข้อใหม่ๆด้วย ใน 1 ปี ตีพิมพ์รายงานแบบยาว ราวๆ 20-30 หน้า 5 รายงาน รายงานแบบกลาง ราวๆ 10 หน้า 10 รายงาน และรายงานแบบสั้นๆ 1-2 หน้า ราวๆ 20 รายงาน) 

แต่บางที่โจรู้สึกเหนื่อยกับการทำงานแบบนี้และคิดว่าตัวเองควรจะลดจำนวนรายงานที่ตีพิมพ์เพื่อที่จะเพิ่มคุณภาพของการวิเคราะห์ที่ต้องใช้เวลานานกว่าตอนนี้ ถ้าโจรับผิดชอบกับการวิเคราะห์ของหัวข้อเฉพาะทางเท่านั้น (เช่น ระบบภาษี หรือนโยบายการเงิน  หรือการบริโภค) โจก็จะได้ไม่ต้องตีพิมพ์รายงานบ่อยๆอย่างตอนนี้ 
แต่เพราะว่าโจรับผิดชอบกับการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคและสถานการณ์เศรษฐกิจกับหัวข้อสำคัญก็เปลี่ยนไปโดยเร็วมาก โจจึงคิดว่าตัวเองควรจะตีพิมพ์รายงานบ่อยๆโดยทันเวลาเพื่ออับเดต 

ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถทำได้หรือไม่ แต่อยากจะเพิ่มคุณภาพของรายงานโดยไม่ลดจำนวนรายงานตีพิมพ์ (มีความหมายว่าจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่าตอนนี้)

Saturday 28 December 2019

การดูหนัง Sumikko Gurashi (แก็งค์มุมห้อง)

เดือนนี้โจไปดูหนังอะนิเมะชื่อ Sumikko Gurashi เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของ Sumikko (สัตว์แปลกนิดหน่อยที่ชอบอยู่มุมห้อง) เช่น หมีขาวที่ขี้หนาวและเข้ากับผู้คนได้ยาก แมวที่ขี้อายมาก และเพนกวินสีเขียวที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นเพนกวินจริงหรือไม่ เป็นต้น
https://www.dek-d.com/board/view/3491315/
หนังเรื่องนี้เป็นหนังสำหรับเด็ก แต่โจก็รู้สึกสนใจกับเรื่องนี้เพราะว่าความเห็นในอินเตอร์เน็ตหลายคนบอกว่า ผู้ใหญ่ก็สามารถรู้สึกประทับใจด้วยได้แน่นอน ในเรื่องนี้ Sumikko เจอลูกไก่ที่หลงทางและช่วยมันกลับบ้าน(เขาจำไม่ได้ว่าตัวเองมาจากที่ไหนด้วย เพนกวินเลยรู้สึกเห็นใจกับเขา)
https://www.dek-d.com/board/view/3491315/
โจรู้สึกว่าตัวละครในเรื่องนี้ทุกตัวน่ารักมากและตลกดีด้วย นอกจากนี้แล้ว นิสัยที่ใจดี ความมีนำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของพวกเขาทำให้โจรู้สึกอุ่นใจมากด้วย คิดว่าผู้ใหญ่ที่เคยรู้สึกเหงาเพราะไม่แน่ใจว่าที่ไหนเป็นสถานที่ของตัวเอง หรือคนที่เคยรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้อยู่กับคนสำคัญ (เช่นเพื่อนสนิท แฟน และครอบครัวเป็นต้น) อาจจะเข้าใจความรู้สึกของลูกไก่ให้อย่างลึกซึ้งได้  เพราะว่าเรื่องนี้แสดงถึงความสุขที่ได้อยู่ด้วยกันกับคนสำคัญกับความเศร้าที่ไม่ได้อยู่ด้วยกับคนที่อยากจะอยู่ด้วยกับต่อไป และทำให้เรารู้ว่าแม้ว่าเราไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ต่อไป เราสามารถแสดงส่งความห่วงใยต่อคนนั้นต่อไปได้
https://www.dek-d.com/board/view/3491315/
โลกทุกวันนี้โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ต หลายคนเถียงกันและกล่าวร้ายผู้อื่นมากๆ เลยอยากให้พวกเขาได้ดู Sumikko Gurashi ก่อนนินทาใส่ร้ายผู้อื่น 

Sunday 27 October 2019

สังคมไร้เงินสดของญี่ปุ่น


ตั้งแต่เดือนนี้ ภาษีบริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อช่วยเศรษฐกิจและ ส่งเสริมสังคมไร้เงินสด รัฐบาลใช้นโยบายการลดราคา 2-5 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้บริโภคที่จ่ายเงินโดยไม่ใช้เงินสด (เช่นใช้ใช้ บัตรเครดิต หรือ สมาร์ทโฟนแทน) หลายบริษัทเริ่มใช้วิธีใหม่ๆ เช่น Pay Pay, Line Pay แต่อาจจะเพราะว่าโจเป็นคนแก่แล้ว โจยังไม่เคยใช้วิธีเหล่านี้ 
https://plusalphadigital.com/cashless-payment-japan/

ปกติโจใช้ บัตร Suica /Pasmo สำหรับสินค้าราคาถูกและใช้บัตรเครดิตสำหรับสินค้าราคาแพง ใช้เงินสดสำหรับร้านที่ไม่รับบัตรเท่านั้น ดูเหมือนว่าตอนนี้ อัตราส่วนของการบริโภคที่ไม่ใช้เงินสดของญี่ปุ่นอยู่ที่ราวๆ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นอัตราส่วนนี้ต่ำกว่าประเทศอื่น รัฐบาลอยากจะเพิ่มอัตราส่วนนี้เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ก่อนปี  .. 2025
https://www.nippon.com/en/in-depth/d00492/the-state-of-cashless-payments-in-japan.html

สถานการณ์นี้จะเปลี่ยนหรือไม่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมผู้สูงอายุ โจรู้สึกว่าผู้สูงอายุยังไม่ค่อยมีความมั่นใจกับวิธีจ่ายเงินใหม่และไม่ค่อยถนัดใช้สมาร์ทโฟนด้วย แต่พวกเขาก็ใช้บัตร Suica /Pasmo บ่อยๆแล้ว เพราะว่าวิธีจ่ายเงินด้วย บัตร Suica /Pasmo ก็ง่ายกว่าการใช้สมาร์ทโฟนและไม่มีความเสี่ยงเหมือนวิธีอื่น  (ไม่ต้องลงทะเบียนบัญชีธนาคารก่อนใช้บัตรนี้  ไม่สามารถยืมเงินได้  เก็บเงินได้สูงสุด 20,000 เยนเท่านั้น ถ้าทำบัตรนี้หายไป จะสามารถทำอันใหม่ได้โดยไม่ต้องเสียเงินที่เก็บในบัตรเก่าคิดว่าในต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยใช้รถไฟ หลายคนยังไม่มีบัตร Suica /Pasmo และร้านที่จะยอมรับบัตรนี้ก็มีไม่มาก
อยากจะรู้ว่าสถานการณ์ในต่างจังหวัดแบบนี้จะเปลี่ยนอย่างไร

๒ เดือนที่ผ่านมา

ระหว่างอาจารย์ภาษาไทยกลับไทยอยู่ โจก็ยุ่งกับหลายเรื่องและไม่ได้เรียนภาษาไทยเลยประมาณ 2 เดือน (จึงรู้สึกว่าการเขียนไดอารี่นี้ใช้เวลานานกว่าปกติ) ๒ เดือนที่ผ่านมา โจมี 3 เรื่องในการทำงาน
เรื่องที่ 1 คือ  โจไปทำงานที่สิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ (บริษัทของโจบริจาคเงินให้โครงการวิจัยระหว่างประเทศและเจ้านายให้โจเข้าร่วมการประชุมแทนเขาในฐานะผู้สังเกตการณ์) โจไม่ต้องทำอะไรในการประชุมนี้ (เข้าร่วมฟังบทสนทนาของคนอื่นเท่านั้น) จึงรู้สึกไม่ค่อยมีประโยชน์ แต่ดีใจที่ได้เจอกับหลายๆคนที่อยู่ที่สิงคโปร์ก่อนและหลังการประชุมนี้

เรื่องที่ 2 คือ โจมีโอกาสเจอกับข้าราชการระดับสูงของประเทศไทยระหว่างพวกเขามาทำงานที่โตเกียว พวกเขามาเยี่ยมบริษัทโจและเราคุยเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย รู้สึกยินดีที่ได้เรียนรู้วิสัยทัศน์ของข้าราชการระดับสูง

เรื่องที่ 3 คือ พนักงานใหม่เข้าร่วมแผนกของโจ โจเคยทำงานกับเขาเมื่อเรา 2 คนทำงานที่รัฐบาล (บริษัทของโจกับเขาเคยส่งเราไปทำงานที่รัฐบาลและเราเคยทำงานพร้อมกัน) เพราะว่าโจรู้ว่าเพื่อนคนนั้นมีความสามารถมากในการวิเคราะห์เศรษฐกิจเอเชียดี โจรู้สึกดีใจที่ได้ทำงานกับเขา เมื่อเขาเข้าร่วมบริษัท ถึงแม้โจไม่ได้มีอำนาจหรือสิทธิที่จะเลือก/จ้างเขา(เจ้านายกับเพื่อนเป็นคนตัดสินใจ) แต่โจรู้สึกมีความรับผิดชอบกับเรื่องนี้เพราะว่าโจแนะนำเขาให้เข้าบริษัทโจ หวังว่าการตัดสินใจนี้จะเป็นเรื่องดีสำหรับทั้งเขากับบริษัท

https://www.cognology.com.au/everything-you-need-for-your-new-employee/


Tuesday 3 September 2019

สัมมนา เกี่ยวกับ ESG กับ SDGs


อาทิตย์นี้โจเข้าร่วม ๒ สัมมนาที่เกี่ยวกับ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) กับ SDGs (เป้าหมายการ
https://en.unesco.org/sdgs
พัฒนาที่ยั่งยืน) ผู้นำเสนออธิบายเกี่ยวกับความสำคัญเกี่ยวกับ ESG / SDGs ที่บริษัทควรคำนึง (นอกจากสรางผลกำไรแล้ว บริษัทควรจะรับผิดชอบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย) และแนะนำบริษัทญี่ปุ่นให้ช่วยแก้ไขปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาโดยการขยายธุรกิจไปในประเทศนั้นๆ โจก็เห็นด้วยกับความสำคัญของ ESG/SDGs แต่รู้สึกว่าจะให้บริษัทเริ่มปฏิบัติเหมือนผู้นำเสนอแนะนำ ควรจะสร้างแรงจูงใจที่บริษัทรู้สึกสนใจด้วย (อธิบายความสำคัญก็ไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนบริษัท) ถ้าหลายบริษัทปฎิบัตตาม ESG/SDGs สร้างผลกำไรมากกว่าบริษัทที่ไม่ทำตาม บริษัทอาจจะคิดที่จะทำ ESG/SDGs แต่ถ้ากิจกรรมเกี่ยวกับ ESG/SDGs มีผลกำไรลดลง บริษัทส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกลังเลที่จะปฏิบัติตาม ESG/SDGs แต่ผู้นำเสนอ ไม่มีใครได้พูดถึงผลกระทบ ESG/SDGs ต่อผลกำไร
โจคิดว่ารัฐบาลควรจะสร้างแรงจูงใจโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้บริษัทที่ปฏิบัติตาม ESG/SDGs  หรือ เปลี่ยนระบบเพื่อป้องกันธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตาม ESG/SDGs  (เช่นไม่อนุญาตให้บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตาม ESG/SDGs ทำธุรกิจต่อไป ) หรือ ให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าของบริษัทไหนตาม ESG/SDGs หรือไม่ (ผู้บริโภคอาจจะไม่ชอบซื้อสินค้าของบริษัทที่ไม่ดี) ถ้าไม่มีระบบแบบเหล่านี้ บริษัทอาจจะไม่ค่อยเข้าใจความสำคัญที่จะตาม ESG/SDGs ไม่แน่ใจว่าผู้นำเสนอชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีและทำสิ่งที่ดีโดยไม่เกี่ยวกับตัวเองหรือไม่

ในด้านเมื่อนักเศรษฐศาสตร์วิจัยทฤษฎี เราคิดว่าทุกครัวเรือนกับบริษัทเห็นแก่ตัวและกิจกรรมของบริษัทขึ้นอยู่กับผลกำไรมากกว่าความสุขของประชาชน (ดังนั้นโจจึงรู้สึกแปลกใจกับเรื่องที่ผู้นำเสนอบอก) อยากจะรู้ว่าหลายบริษัทจะปฏิบัติตาม ESG/SDGs หรือไม่ แม้ว่าลดผลกำไรบริษัทลง

Thursday 8 August 2019

การไปเที่ยวอเมริกา (2)


หลังจากเที่ยวเมืองวนิวยอร์กเสร็จแล้ว เราไปเยี่ยมคุณป้าที่อยู่ที่อเมืองวอชิงตัน ดี.ชี
วันแรกที่วอชิงตัน ดี.ซี คุณป้าพาเราไปเที่ยวที่ Steven F. Udvar-Hazy Center(พิพิธภัณฑ์การบินและอวกาศ) ที่คุณพ่อของเพื่อนคนอเมริกาที่เราไปทานอาหารที่นิวยอร์กทำงานเป็นมัคคุเทศก์อาสาสมัคร ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 50 ปีที่มนุษย์เหยียบพื้นดวงจันทร์ โจก็รู้สึกสนใจการแสดงเกี่ยวกับอวกาศ ดีใจที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์  (เคยได้ยินชื่อนี้หลายครั้ง แต่ไม่เคยมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับกระสวยอวกาศนี้)  นอกจากอธิบายให้เราแล้ว คุณพ่อของเพื่อนให้หนังสือที่เขาเขียนปีที่แล้วให้โจด้วย
(คุณพ่อ คณลุง และ เขาเคยทำงานที่การบินนาวี และหลังจากเขาเกษียณแล้ว เขาเขียนเรื่องครอบครัวกับการบินนาวี) หลังจากนั้นเราไปทานอาหารที่บ้านของเพื่อนของคุณป้าเปรียบเทียบกับนิวยอร์ก บ้านอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี ใหญ่มากและมีธรรมชาติมากด้วย บ้านของคุณป้ากับเพื่อนก็บรรยากาศดีมาก อาหารก็อร่อยดีและเรารู้สึกขอบคุณพวกเขา


วันถัดมา เราไปเดนเล่นแถวๆ เนชันแนล มอลล์ และเข้าพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกาด้วย วันที่ ๓  เราไปเที่ยว Mount Vernon (บ้านของ จอร์จ วอชิงตันที่ติดแม่น้ำ Potomac) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจอร์จ วอชิงตัน สิ่งที่โจรู้สึกสนใจคือฟันปลอมที่จอร์จ วอชิงตันใช้ ไม่แน่ใจว่าสมัยนั้น คนอเมริกามียาสีฟันหรือไม่ เพราะตั้งแต่อายุ่ 28 ปี เขาใช้ฟันปลอม ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเกี่ยวกับฟันปลอมสมัยนั้นยังไม่ดี ฟันปลอมที่เขาใช้ดูหนักและไม่สวยเลยเมื่อเขาได้เป็นประธานาธิบดีคนแรก (อายุ่ 57 ปี) ฟันของตัวเองมีแค่ 1 ชี่เท่านั้น เพราะว่าฟันปลอมสมัยก่อนไม่เหมาะสมกับเขา เขาไม่ชอบคุยนานๆโดยใส่ฟันปลอม เขาจึงไม่ได้ยิ้มเลยในธนบัตร1 ดอลลาร์ด้วย 
ระหว่างเราอยู่ที่วอชิงตัน ดี.ซี คุณป้าชอบทำแซนด์วิชไปปิกนิก เดี๋ยวนี้โจไม่ได้ทำอาหารเอง แต่โจพบว่าทำอาหารก็สนุก สะดวกและถูกด้วย  (หลังจากกลับญี่ปุ่นก็ เริ่มทำอาหารกลางวันเอง) วันสุดท้าย ก่อนไปสนานบินเราเดินเล่นแถวๆบ้านคุณป้า บรรยากาศคล้ายกันกับ Karuizawa และรู้สึกดีใจที่ได้รู้ว่าเขาใช้ชีวิตที่ดีที่นั้น ไม่แน่ใจว่า คราวหน้าเมื่อไรจะสามารถไปเยี่ยมคุณป้าได้อีก อยากให้เขาสบายดีไปนานๆ



Wednesday 7 August 2019

การไปเที่ยวอเมริกา (1)


อาทิตย์ที่แล้วโจไปเที่ยวอเมริกากับครอบครัวมา เมื่อโจไปเที่ยวอเมริกาครั้งที่แล้ว โจมีปัญหาอาการเจ็ตแล็กมาก (ในเวลากลางคืนไม่สามารถนอนได้เลย และรู้สึกง่วงนอนมากในกลางวัน)

ครั้งนี้โจจึงเตรียมตัวให้ดีสำหรับปัญหานี้ หลังจากบินออกจาโตเกียว กตอนเช้า(ที่อเมริกาเที่ยงคืน) โจไม่ได้กินอาหารและพยายามนอนแทนโดยใช้ หน้ากากปิดตา ที่อุดหู และยานอนหลับด้วย ดูเหมือนว่าวิธีแก้อาการเจ็ตแล็กนี้มีประโยชน์ ตั้งแต่วันแรก โจไม่ค่อยรู้สึกง่วงนอน

ครั้งนี้ก็ไปเที่ยวเมืองนิวยอร์กและเยี่ยมคุณป้าที่อาศัยอยู่เมืองอชิงตัน ดี.ซี ที่นิวยอร์ก โจจะต้องจัดการทุกอย่างและพาครอบครัวไปที่สถานที่ท่องเที่ยวเหมือนเป็นมัคคุเทศก์

ก่อนไปเที่ยว โจเข้าใจผิดว่านิวยอร์กเย็นกว่าโตเกียว (เส้นรุ้งของนิวยอร์กอยู่ระดับเดียวกันกับจังหวัด Aomori และเมื่อโจไปเที่ยวนิวยอร์กสิ้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว โจรู้สึกหนาวมากกว่าโตเกียว) แต่ครั้งนี้นิวยอร์กร้อนมากกว่าโตเกียวเยอะ ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยได้ง่าย

วันแรกที่นิวยอร์ก เราเดินเล่นแถวๆโรงแรมและไปกินอาหารกลางวันที่ร้าน Sarabeth's ร้านอาหารที่มีชื่อเสี่ยงกับ Breakfast Queen of New York (พระราชินีทางอาหารเช้าของนิวยอร์ก)”  จริงๆแล้ว โจเคยไปสาขาที่โตเกียวแต่ความรู้สึกที่ทานที่นิวยอร์กดีกว่าโตเกียว


หลังจากนั้น เรากลับโรงแรมพักผ่อนนิดหน่อยและไปดูวิวที่ตึกเอ็มไพร์สเตต เรารู้สึกตกใจที่รู้ว่าเวลากลางวันของนิวยอร์กนานมาก เมื่อเราไปถึงตึกนี้ก็ประมาณสองทุ่มแล้ว แต่พระอาทิตย์ยังไม่ตก ดังนั้นเราจึงสามารถดูพระอาทิตย์ตกที่สวยมากได้


วันที่ ๒ เราไปดูอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ ครั้งที่แล้วเมื่อโจมาที่นี้ อากาศหนาวมากเกินไปและ โจไม่สามารถอยู่ข้างนอกนานได้ (อยู่ที่เกาะลิเบอร์ตี้แค่ประมาณ 20 นาทีเท่านั้น) ครั้งนี้อากาศร้อนมากเกินไป แต่ยังดีกว่าหนาวมากเกินไป
โจจึงสามารถเดินเล่นได้ ดีใจที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพโดยเข้าพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่ปีนี้


หลังจากน้นเราไปพิพิธภัณฑ์รำลึกเหตุการณ์ 9/11 และไปทานอาหารกับเพื่อนคนอเมริกาที่เคยมาเรียนที่โตเกียวเพราะว่าเพื่อนคนนี้เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นนิดหน่อยและหลานสาวโจก็เพิ่งเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ คิดว่าครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับทั้งสองคนที่จะได้ใช้ภาษาต่างประเทศ  โจเข้าใจว่าตัวเองอายุมากกว่าเพื่อน 13-14 ปี และเพื่อนก็อายุมากกว่าหลานสาว 13-14 ปี ด้วย ตอนนี้หลานสาวยังเด็กมากและ ไม่สามารถพูดภาษาอังกษได้ แต่หวังว่าอีกประมาณ13-14 ปีหน้าหลานสาวจะสามารถคุยกับเค้าโดยใช้ภาษาอังกฤษได้และเป็นเพื่อนกับเค้าเหมือนโจกับเพื่อนคนนั้น


วันที่ ๓ ครอบครัวพี่สาวเข้าร่วมทัวร์หนึ่งวันเพื่อไปดูน้ำตกไนแอการา แต่ทัวร์นี้ดูยุ่งยากมาก (จะต้องตื่นนอนตี ๔ และจะกลับตอนเที่ยงคืน ) โจกลัวว่าตัวเองจะเหนื่อยมากเกินไปและไม่สบายเมื่อกลับมาญี่ปุ่น พ่อกับโจจึงไม่ได้เข้าร่วมทัวร์นี้ เราเลยไปเที่ยวที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันแทน  เรารู้สึกประทับใจที่รู้ว่าถ้าไปนอกนิวยอร์กนิดหน่อย บรรยากาศก็เปลี่ยนไปมาก แถวๆมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันมีธรรมชาติมากและบรรยากาศเงียบสงบดี


วันที่ ๔ ตอนเช้าอากาศเย็นสบายดี เราจึงไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันโดยเดินผ่าน เซ็นทรัลพาร์ก
ในตอนกลางคืน เราไปดูละครบรอดเวย์ ครั้งนี้ โจเลือกเรื่อง Aladdin ที่หลานสาวก็เข้าใจได้ง่าย การแสดงก็สนุกดี แต่ตอนที่ร่วมดูการแสดงนี้ หลายครั้งโจรู้สึกแย่กับความสามารถทางภาษาอังกฤษตัวเอง เช่นเมื่อนักแสดงพูดเรื่องตลก คนอื่นหัวเราะกันมาก แต่โจฟังไม่ทันเลยและไม่สามารถหัวเราะกับคนอื่นได้


ประสบการณ์นี้ทำให้โจเข้าใจความสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤมากกว่านี้ ปกติโจใช้ภาษาอังกฤษเมื่อคุยเรื่องเศรษฐกิจกับคนเอเชีย แต่คิดว่าจะต้องพัฒนาความสามารถทางการฟังจากเจ้าของภาษาและคำศัพท์ที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ นอกจากเรียนภาษาอังกฤษแล้ว คิดว่าจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ค่อยคุ้นเคยไม่ค่อยเข้าใจเช่น วิทยาศาสตร์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ และศิลปะด้วย

Saturday 13 July 2019

ขยะพลาสติก

อาทิตย์นี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับนโยบายสิ่่งแวดล้อมของประเทศไทย ดูเหมือนว่ารัฐบาลอยากจะห้ามการใช้สินค้าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (เช่น ถุงพลาสติกของร้านขายของ ภาชนะใส่อาหาร หลอดพลาสติก) ภายใน ๓ ปี 

ตอนนี้รัฐบาลแนะนำให้ประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่รับถุงพลาสติกที่ร้านขายของ แต่นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลกำลังคิดว่าจะเปลี่ยนกฎหมายและห้ามการผลิตหรือการใช้สินค้าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งด้วย 

โจรู้ว่าหลายประเทศรวมถึงญี่ปุ่นก็กำลังพยายามช่วยสิ่งแวดล้อมโดยลดการใช้สินค้าพลาสติก เช่น ที่ญี่ปุ่น UNIQLO ประกาศว่าตั้งแต่ปีหน้า จะเริ่มใช้ถุงกระดาษรีไซเคิลแทนถุงพลาสติก  ร้านสะดวกซื้อก็จะเริ่มให้ลูกค้าซื้อถุงพลาสติกโดยจ่ายถุงละ 2-3 เยน แต่ถ้ายอดขายของสินค้าพลาสติกลดลง ก็จะมีความเสี่ยงที่แรงงานในอุตสาหกรรมเคมีจะตกงาน ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ห้ามการผลิตหรือการใช้ถุงพลาสติก  

ยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลไทยจะสามารถห้ามการใช้ถุงพลาสติกได้จริงๆหรือไม่ แต่รู้สึกตกใจที่รู้ว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเศรษฐกิจ  มีคนบอกว่าเรื่องปลาวาฬในจังหวัดสงขลา (เจอปลาวาฬหลายตัวที่ตายในจังหวัด สงขลาและเจอขยะพลาสติกในท้อง) ทำให้รัฐบาลกับคนทัวไปเข้าใจความสำคัญแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก
https://www.yourselfquotes.com/world-environment-day-slogans-quotes/

Saturday 6 July 2019

ดัชนี SDGs ของประเทซไทย


หลังจากสหประชาชาติประกาศ SDGs (Sustainable Development Goals เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) ประมาณ 4 ปีผ่านไปและ โจรู้สึกว่าจำนวนคนทั่วไปที่รู้เกี่ยวกับ SDGs ก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย
เพื่อเช็คสถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย SDGs สหประชาชาตีพิมพ์รายงานประจำปี โดยาตีพิมพ์รายงานล่าสุดสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รายงานประจำปีนี้ก็มี ดัชนี SDGs”และปีนี้ประเทศไทยเลื่อนขึ้น 19 อันดับเป็นอันดับที่ 40 ใน 162 ประเทศ โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าไทยเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน แต่สิงคโปร์เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน(อันดับ 66 ในโลก) โจรู้สึกแปลกใจกับผลนี้เพราะว่าสิงคโปร์พัฒนามากกว่าไทย นอกจากนี้แล้วปีที่แล้ว อันดับสิงคโปร์ (อันดับ 43) ดีกว่าไทย (อันดับ 59) ด้วย
ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีสร้างดัชนี SDGs ก็เกี่ยวกับการเปลี่ยนอันดับปีนี้ทำให้เราไม่สามารถเปรียบเทียบอันดับปีนี้กับอันดับปีที่แล้วได้ ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าวิธีสร้างดัชนีปีนี้ดีกว่าปีที่แล้วหรือไม่ แต่โจยังสงสัยคุณภาพดัชนีปีนี้เพราะว่าการขจัดความยากจนยังเป็นความท้าทายสำคัญของประเทศไทย ในด้านการขจัดความยากจน ประเทศไทยได้ 100 คะแนน (คะแนนดีกว่าสิงคโปร์กับญี่ปุ่น) คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่อันดับของประเทศไทยจะลดลง ถ้าสหประชาชาติจะเปลี่ยนวิธีสร้างปีหน้า
อยากให้รัฐบาลไทยพยายามบรรลุ SDGs ต่อไป โดยไม่พอใจกับอันดับปีนี้มากไป
https://sdgindex.org/reports/sustainable-development-report-2019/



Monday 1 July 2019

ระบบการศึกษาของโรงเรียนประถมในไทยกับญี่ปุ่น


อาทิตย์ที่แล้วโจได้มีโอกาสเช็คข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาของรงเรียนในไทยกับญี่ปุ่น และรู้สึกตกใจที่รู้ว่านักเรียนคนไทยเรียนนานกว่าญี่ปุ่นเยอะ หลักสูตรของรัฐบาลแสดงว่านักเรียนไทยเรียนปีละ 1,000 ชั่วโมง (ไม่เกี่ยวกับชั้นปี) แต่นักเรียนญี่ปุ่นเรียนปีละ 850 ถึง 1,015 คาบเรียน เพราะว่า หนึ่งคาบเรียนของญี่ปุ่น คือ 45 นาที นักเรียนญี่ปุ่นเรียน ระหว่าง 638 ถึง 761 ชั่วโมง  สงสัยว่าการเรียนปีละ 1,000 ชั่วโมงนานเกินไปสำหรับเด็ก (โดยเฉพาะ ป.1)


การเปลี่ยนเจ้านาย


ตอนนี้โจกำลังจะถูกเปลี่ยนเจ้านายตั้งแต่เดือนนี้ เจ้านายเก่าเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของแผนการวิจัย และเจ้านายใหม่จะมาอีกใน ๒-๓ อาทิตย์ (ตอนนี้เขาทำงานที่โอซาก้าและจะต้องให้ลูกน้องรับงานก่อนย้ายมาโตเกียว) เพราะว่าโจไม่เคยทำงานกับเจ้านายใหม่คนนี้ เลยไม่แน่ใจว่าสถานการณ์การทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร สำหรับเจ้านายเก่า โจใช้เวลาประมาณ ๒ ปี เพื่อปรับตัวกับสไตล์การทำงานของเขา หวังว่าตัวเองจะปรับตัวกับเจ้านายใหม่เร็วกว่าเมื่อก่อน

https://www.azquotes.com/quotes/topics/adaptability.html