Sunday 27 July 2014

การลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นที่มาจากต่างประเทศเอเซีย



ตอนนี้โจตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นที่มาจากต่างประเทศในเอเซีย และเมื่อตรวจสอบข้อมูลสถิติ โจรู้สึกสงสัยว่าหลายคนเข้าใจผิดสถานการณ์ตอนนี้ จริงๆแล้ว เปรียบเทียบกับ ๑๐ ปีที่แล้ว อัตราส่วนของการลงทุนที่มาจากเอเซียเพิ่มขึ้น และมีคนคิดว่าประเทศในเอเซียเพิ่มการลงทุนที่ญี่ปุ่นมากกว่าประเทศอื่น แต่โจเข้าใจว่าอัตราส่วนที่มาจากเอเซียเพิ่มไม่ใช่เพราะว่า ประเทศเอเซียเพิ่มการลงทุนที่ไปญี่ปุ่น (มูลค่าการลงทุนไม่เพิ่มขึ้นเลย)
http://www.csi.ky/wp-content/uploads/Captive-Insurance4.jpg
อัตรานี้เพิ่มเพราะว่าการลงทุนจากประเทศอื่นโดยเฉพาะอเมริกากับหมู่เกาะเคย์แมนลดลงมาก การลงทุนที่มาจากเอเซียส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของสิงคโปร์ และรู้สึกตกใจที่รู้ว่าสำหรับสิงคโปร์อัตราส่วนของญี่ปุ่นยังน้อยกว่า ๑-๒ เปอร์เซ็นต์ (สำหรับสิงคโปร์ การลงทุนที่ไปญี่ปุ่นไม่ค่อยสำคัญ แต่สำหรับญี่ปุ่น การลงทุนที่มาจากสิงคโปร์สำคัญ) โจก็เลยเริ่มตรวจสอบสถานการณ์สิงคโปร์ด้วย ตรวจสอบการลงทุนแต่ละบริษัทก็ใช้เวลานานและยาก แต่รู้สึกว่าค่อยๆเข้าใจได้มากขึ้น

เศรษฐกิจของประเทศมองโกเลีย



อาทิตย์นี้โจเข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศมองโกเลียเพราะว่าผู้นำเสนอเป็นเพื่อนสนิทคนมองโกเลีย เขาเคยทำงานที่บริษัทของโจ แต่ระหว่างเขาทำงานที่บริษัทของโจไม่ค่อยมีโอกาสฟังเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจมองโกเลีย หลังจากฟังพรีเซนต์ของเขาโจรู้สึกสนใจหลายสิ่งเกี่ยวกับมองโกเลีย
http://en.wikipedia.org/wiki/Mongolia#mediaviewer/File:Mongolia_1996_CIA_map.jpg
ถ้าเปรียบเทียบด้านเศรษฐกิจกับประชากร ประเทศมองโกเลียเป็นประเทศเล็ก  และบริษัทญี่ปุ่นยังไม่รู้สึกสนใจทำธุรกิจที่มองโกเลีย แต่ดูเหมือนว่ามีหลายโอกาสทางธุรกิจ ตอนนี้ธุรกิจทางทรัพยากรธรรมชาติมีชื่อเสียง แต่เขาบอกว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นก็มีโอกาสด้วย รู้สึกตกใจที่รู้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของมองโกเลียเดี๋ยวนี้สูงติดอันดับ ๑-๓ ของโลก นอกจากเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจแล้ว โจรู้สึกสนใจสังคมมองโกเลียด้วย เช่นเขาบอกว่าที่มองโกเลียผู้ชายกับผู้หญิงทำงานทั้งคู่และมีน้อยคนที่จะหยุดงานหลังจากมีลูก เพราะว่าคนที่ดูแลลูกไม่ใช่พ่อแม่ แต่เป็นปู่ย่าตายาย/ญาติดูแลแทน  ยังมีหลายปัญหา/ความลำบากที่จะต้องแก้ไข เช่นคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดี งบประมาณของรัฐบาลก็ขาดดุล ตอนนี้รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับเศรษฐกิจกับมองโกเลีย จำนวนคนที่เริ่มรู้สึกสนใจกับประเทศนี้จึงค่อยๆเพิ่มขึ้น โจก็อยากจะรู้มากกว่านี้ (จะเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นที่ไม่มีทะเลล้อมรอบ เช่น ลาว เนปาล ก็น่าสนใจ)

รองเท้านนัง



เดี๋ยวนี้โจเริ่มรู้สึกสนใจกับรองเท้าหนังที่ดี  เมื่อก่อนโจไม่สนใจว่าตัวเอง ใส่รองเท้าอะไร(ยิ่งถูก ยิ่งดี)  ไม่รู้ว่าทำไมแต่เดี๋ยวนี้เริ่มอยากได้รองเท้าที่สวยในเวลาว่างโจก็เลยเช็คข้อมูลบ่อยๆ
http://www.berluti.com/ja/collections/xue/oxford/verona-2013-104969326#.U9T7OWPc0pk
รองเท้าที่โจรู้สึกว่าสวยราคาแพง แต่ดูเหมือนว่าถ้าดูแลให้ดีๆสามารถใช้ได้นาน ไม่แน่ใจว่าจะซื้อดีหรือไม่เพราะว่าไม่แน่ใจว่าตัวเองสามารถดูแลได้หรือไม่(ขี้เกียจ) แต่อยากได้

Monday 21 July 2014

ผลกระทบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน



วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่น่าสนใจบทความนี้แนะนำการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับการพัฒนาเศรษฐกิจ บทความนี้บอกว่าผลกระทบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมี ๒ ชนิด ผลกระทบในระยะสั้นกับในระยาว สำหรับผลกระทบในระยะสั้น  สามารถคาดการณ์ผลกระทบได้ไม่ยาก แต่ การคาดการณ์ผลกระทบในระยะยาวนั้นยากมาก เพราะว่าเราไม่แน่ใจว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทำให้เศรษฐกิจดี หรือ ปัจจัยอื่นทำให้ดี 
บทความนี้บอกว่านักวิจัยที่อยากจะวิจัยผลกระทบในระยะยาว บางคนรู้สึกสนใจกับสถานการณ์จีนเพราะว่ารัฐบาลจีนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชนบท/ต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เศรษฐกิจดี (ปกติรัฐบาลพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ที่เศรษฐกิจจะดีขึ้น) การวิจัยรเกี่ยวกับการพัฒนาของจีนแสดงให้เห็นหลายสิ่ง บางโปรเจ็คต์เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาถนน/รถไฟทำให้ประชากรในชนบทสามารถขายสินค้าและ รายได้ของพวกเขาก็เพิ่มขึ้น แต่บางที่ การพัฒนาเกิดผลเสียด้วย เช่น ถ้าถนน/รถไฟทำให้สินค้าของเมืองมาชนบทได้ง่ายและยอดขายของสินค้าของชนบทลดลง(คนชนบทนิยมสินค้าที่มาจากเมือง) นอกจากนี้แล้ว หลายการวิจัยบอกว่าผลกระทบของการพัฒนาก็เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่นเมื่อรัฐบาลจีนพัฒนาเครืองเกี่ยวกับโทรศัพท์พื้นฐาน ตอนแรกเกิดผลกระทบต่อชีวต/ธุรกิจในต่างจังหวัดมาก  แต่สมัยนี้ส่วนใหญ่ใช้มือถือแทน ประโยชน์ของการพัฒนาโทรศัพท์พื้นฐานจึงลดลงมาก โจก็คิดว่าการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีค่อนข้างเร็ว จึงไม่แน่ใจว่ารัฐบาลควรจะมุ่งเน้นโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยี(เช่นถนน)มากกว่าดีหรือไม่

<อ้างอิง>
Free exchange / Bridge to somewhere

การลงทุนโดยตรงของไทยที่ไปญี่ปุ่น



เดี๋ยวนี้โจตรวจสอบการลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยที่ไปญี่ปุ่น ปีที่แล้ว เมื่อโจตรวจสอบการลงทุนโดยตรงของไทย โจเข้าใจว่าการลงทุนของไทยส่วนใหญ่ไปประเทศใน ASEAN และการลงทุนที่ไปญี่ปุ่นไม่ค่อยมาก แต่เมื่อโจตรวสอบการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นที่มาจากต่างประเทศ โจเริ่มรู้สึกสนใจว่าบริษัทไทยแบบไหนลงทุนที่ญี่ปุ่น จำนวนและมูลคาการลงทุนของบริษัทไทยไม่มาก แต่บริษัทที่จำนวน/มูลค่ามากที่สุดใน ๓-๕ ปีที่ผ่านมาเป็นบริษัทที่โจรู้จัก บริษัทนี้ชื่อ Panpuri  และ ขายสินค้าเกี่ยวกับอโรมา โจก็เคยซื้ออโรมานี้มาใช้ 
http://www.panpuri.com/
ดูเหมือนว่าบริษัทนี้เปิดหลายสาขาที่โตเกียว นอกจากบริษัทนี้แล้ว บริษัทเกี่ยวกับอโรมาอื่นอย่างเช่น Thann ก็กำลังเพิ่มการลงทุนด้วย ยังไม่แน่ใจว่าการลงทุนของอุตสาหกรรมอื่นก็จะเพิ่มด้วยหรือไม่ แต่รู้สึกสนใจสาเหตุกับผลกระทบของการลงทุนนี้ แต่ตอนนี้คนญี่ปุ่นที่รู้สึกสนใจกับการลงทุนของไทยที่มาญี่ปุ่นน้อยมาก และไม่มีรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์นี้
http://www.thann.info/index.html
ถ้าเป็นไปได้อยากจะตรวจสอบรายละเอียดและเขียนรายงาน