Monday 11 February 2013

นโยบายด้านแรงงานผู้สูงอายุของญี่ปุ่น



ปีนี้โจต้องตรวจสอบสถานการณ์เศรษฐกิจของต่างประเทศในเอเชียจึงไม่มีเวลาที่เขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวนี้มีหัวข้อที่โจรู้สึกสนใจมาก เดี๋ยวนี้หลายบริษัทเพิ่มอายุเกษียณจาก ๖๐ ปี เป็น ๖๕ ปี แล้วและผู้สูงอายุสามารถทำงานต่อไปได้และบริษัทมีอำนาจที่จะเลือกว่าบริษัทจะจ้างพวกเขาต่อไปหรือไม่ แต่ตั้งแต่เดือนเมษายนหน้า นโยบายด้านแรงงานผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลง หลังจากเมษายนหน้า ถ้าพนักงานผู้สูงอายุอยากจะทำงานต่อไปหลังจากเกษียณอายุแล้ว บริษัทจะต้องจ้างพวกเขาต่อไป
นโยบายนี้เปลี่ยนแปลงเป็นแบบนี้ เพราะงบประมาณของรัฐบาลญี่ปุ่นมีปัญหามากและจะต้องเพิ่มอายุที่ผู้สูงอายุเริ่มได้รับเงินบำนาญ (จาก ๖๐ ปี เป็น ๖๕ ปี) รัฐบาลอยากจะให้โอกาสผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง ๖๐ ปี ถึง ๖๕ ปี ในการทำงานมากขึ้นเพื่อทำให้ชีวิตของพวกเขามั่นคง แต่หลายคนกลัวว่านโยบายนี้จะเกิดผลเสียต่อแรงงานรุ่นใหม่

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่าคนที่คิดแบบนั้นเข้าใจผิดว่าจำนานการทำงานในสังคมมีจำกัด ถ้าผู้สูงอายุจะทำงานต่อไป เศรษฐกิจจะขยายตัวและจำนวนแรงงานในสังคมก็เพิ่มขึ้นด้วย
 (จริงๆแล้ว ในประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศที่มีอัตราการเข้าร่วมตลาดแรงงานของคนรุ่นเก่าสูงนั้น อัตราของรุ่นใหม่ก็สูงด้วย)
โจก็คิดว่าในสังคมทีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มและจำนวนวัยรุ่นลดลง ผู้สูงอายุควรจะทำงานนานกว่าเมื่อก่อนและควรจะช่วยเหลือเศรษฐกิจ โจเห็นด้วยกับนโยบายการเพิ่มอายุเกษียณกับนโยบายการเพิ่มอายุได้รับเงินบำนาญ แต่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบบนี้ เพราะโจคิดว่าบริษัทควรจะมีอำนาจที่ไม่จ้างพนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ /ความสามารถ/ไม่ตั้งใจทำงาน หรือ มีอำนาจที่ลดร้ายได้ของผู้สูงอายุเพื่อให้รายได้ของพวกเขาเหมาะกับประสิทธิภาพ /ความสามารถของพวกเขา (ในสังคมญี่ปุ่น หลายบริษัทมีระบบรายได้แบบที่แรงงานใหม่ได้รบร้ายได้น้อยกว่าประสิทธิภาพ /การทำงาน แต่ แรงงานรุ่นเก่าได้รับมากกว่าประสิทธิภาพ /การทำงาน เพื่อ อยากจะให้แรงงานใหม่ทำงานที่บริษัทตัวเองนาน )
seniority
 
ดูเหมือนว่าหลายบริษัทคิดว่าพวกเขาจะต้องจ้างแรงงานผู้สูงอายุที่ไม่มีประสิทธิภาพ /ความสามารถ หรือ ไม่ตั้งใจทำงานมากต่อไป และ เศรษฐกิจจะไม่ขยายตัว แม้ว่าบริษัทจะลดรายได้ของผู้สูงอายุ รายได้ของพวกเขาก็ยังสูงว่าความสามารถของพวกเขา  หลายบริษัทก็เลยเริ่มลดรายได้ของแรงงานรุ่นใหม่และลดจำนวนพนักงานใหม่ที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยลงแทน เพื่อป้องกันแรงงานผู้สูงอายุที่ไม่มีประสิทธิภาพ โจคิดว่านโยบายใหม่นี้จะช่วยเหลือ แค่กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มี ประสิทธิภาพ /ความสามารถ/ไม่ตั้งใจทำงานเท่านั้น (เพราะถึงไม่มีนโยบายนี้ คนที่มีประสิทธิภาพ /ความสามารถ/ตั้งใจทำงาน ก็ยังอาจจะสามารถหาโอกาสทำงานต่อไปได้) ดูเหมือนว่าผู้จัดการคิดว่าการลดรายได้ของแรงงานรุ่นใหม่ง่ายกว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของผู้สูงอายุ
โจไม่ชอบสถานการณ์แบบนี้เลย ถ้ามีเวลามากกว่าตอนนี้อยากจะเขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ (แต่ดูเหมือนว่าการประเมินประสิทธิภาพของแรงงานแต่ละรุ่นยากมาก)

ไปทานอาหารกับรุ่นน้อง

วันศุกร์ที่ผ่านมาโจไปทานอาหารกับรุ่นน้องของมหาวิทยาลัยที่กำลังหางานและสนใจทำงานเป็นนักวิจัยเศรษฐกิจ (ที่ญี่ปุ่นเมื่อนักศึกษาหางาน หลายคนติดต่อกับรุ่นพี่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานของอุตสาหกรรมที่พวกเขารู้สึกสนใจ)
จริงๆแล้วพวกเขารู้สึกสนใจสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจของบริษัทหลักทรัพย์ที่เพื่อนทำงานอยู่และได้ติดต่อกับเขาแต่ เพื่อนขอให้โจไปช่วยให้คำปรึกษาด้วย เพราะระหว่างสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจของบริษัทหลักทรัพย์ กับสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจของธนาคาร บรรยากาศกับการทำงานไม่เหมือนกัน และไม่แน่ใจว่าพวกเขารู้ความแตกต่างนี้หรือไม่ และไม่แน่ใจว่าพวกเขาสนใจที่ไหน
ตอนโจให้คำปรึกษากับเขาโจคุยกับพวกเขาโดยไม่คิดว่าใครเหมาะกับบริษัทตัวเอง เพราะตั้งแต่โจเข้าร่วมบริษัท โจไม่เคยมีโอกาสสัมภาษณ์และเลือกนักศึกษาปีนี้ก็ไม่มีอำนาจ/สิทธิ์เลือก แต่ดูเหมือนว่าเพื่อนจะมีส่วนเกี่ยวของในการเลือกนักศึกษา และสนใจความสามารถ กับ ลักษณะนิสัยของพวกเขาด้วย
โจรู้สึกว่าการจะเลือกนักศึกษาที่ดีเป็นเรื่องยากมาก เพราะคุยราวๆ ๒ ชั่วโมงไม่พอ ในการเข้าใจและรู้ความแตกต่างระหว่างนักศึกษาแต่ละคน โจไม่แน่ใจว่าคนแบบไหนเหมาะที่จะเป็นนักวิจัยของบริษัทตัวเอง คิดว่าความสามารถในการวิจัยมีความสำคัญแต่สิ่งที่เรียน/วิจัยในมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกับการทำงานของบริษัทที่มหาวิทยาลัยเราสามารถวิจัยสิ่งที่เรารู้สึกสนใจ และเราอธิบายให้อาจารย์/นักวิจัยฟัง ทฤษฎีมีความสำคัญมาก

จริงๆแล้ว สิ่งที่เรียน/วิจัยที่มหาวิทยาลัยก็มีความสำคัญ แต่ที่บริษัทเอกชน เราต้องวิจัยสิ่งที่หลายคนสนใจ (บางทีต้องวิจัยสิ่งที่ไม่เคยรู้สึกสนใจ) และจะต้องอธิบายให้คนที่ไม่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจเข้าใจสิ่งที่เราเขียนได้ง่าย การตรวจสอบข้อมูลจริงมีความสำคัญมากกว่าทฤษฎี โจก็เลยคิดว่าคนที่ไม่ได้มีความสนใจในสิ่งที่เขายังไม่เรียน/วิจัย และอยากจะใช้เวลานานๆกับการวิจัยสิ่งที่เขารู้สึกสนใจน่าจะทำงานที่มหาวิทยาลัยดีกว่า
คนที่สนใจหลายสิ่งและสนใจที่จะรู้เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจจริงควรจะทำงานนอกมหาวิทยาลัยดีกว่า มีคนที่เข้าใจผิดว่านักวิจัยที่ทำงานที่บริษัทอย่างโจไม่ต้องมีความสามารถพิเศษในการวิจัย จริงๆแล้วที่บริษัทมีคนที่คิดแบบนี้ แต่โจคิดว่าเราจะต้องมีความสามารถพิเศษด้วย ถ้าเราเขียนรายงานโดยไม่รู้ เนื้อหาทางวิชาการ โดยไม่มีความสามารถพิเศษเลย หลายคนอาจจะคิดว่าเราไม่ค่อยเข้าใจและไม่ค่อยเชื่อเรื่องที่เราเขียน (โจก็ยังไม่มีความสามารถที่ดีพอ โจก็เลยกำลังพยายามพัฒนาตัวเองในเวลาส่วนตัว) โจคิดว่าตัวเองจะไม่มีโอกาสเลือกนักศึกษา แต่ถ้าได้อยากจะทำงานกับคนที่สนใจหลายเรื่องและอยากจะพัฒนาความสามารถพิเศษของตัวเองด้วย

Saturday 9 February 2013

การเมืองของสิงคโปร์



วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับการเมืองสิงคโปร์ โจไม่มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการเมืองของสิงคโปร์ แต่รู้สึกสนใจเรื่องนี้ เพราะบทความนี้ทำให้โจรู้ว่าเดี๋ยวนี้สถานการณ์เริ่มเปลี่นแปลงไปมาก ก่อนหน้านี้ PAP(People’s Action Party พรรคกิจประชาชน) ปกครองประเทศและพรรคนี้ไม่เคยแพ้การเลือกตั้งตั้แต่สิงคโปร์เป็นอิสระจากมาเลเซีย (ปี ๒๕๐๒)
แต่ในการเลือกตั้งซ่อมของเดือนที่แล้ว พรรคนี้ไม่ได้ชนะและมีคนบอกว่ามีความเป็นไปได้ที่สถานการณ์การเมืองของสิงคโปร์จะเปลี่ยนแปลงมาก หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นใน ปี ๒๕๕๙ (นักเขียนบอกว่าในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ไม่เปลี่ยนแปลง)
บทความชี้ให้เห็นว่าพรรค PAP แพ้เพราะหลายคนไม่ยอมรับนโยบายเกี่ยวกับการยอมรับผู้อพยพเดี๋ยวนี้รัฐบาลอยากจะเพิ่มจำนวนประชากรโดยการยอมรับผู้อพยพเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจ เพราะสิงคโปร์กำลังเผชิญกับสถานการณ์สังคมที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและจำนวนวัยรุ่นลดลง
สิงคโปร์ใช้หลายนโยบายเพื่อทำให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดลดลงต่อไปและไม่สูงขึ้นเลย รัฐบาลก็เลยบอกว่าการยอมรับผู้อพยพเป็นเรื่องจำเป็น ตอนนี้มีจำนวนประชากร ราวๆ ๕ ล้าน ๓ แสนคนแต่รัฐบาลอยากจะให้จำนวนนี้เพิ่มเป็นราวๆ ๖ ล้าน ๙ แสนคนในปี ๒๕๗๓ แต่ดูเหมือนว่าหลายคนไม่ค่อยเห็นด้วยกับนโยบายนี้เพราะพวกเขากลัวว่าการเพิ่มจำนวนผู้อพยพจะทำหให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เพราะผู้อพยพไม่ค่อยเข้าใจวัฒนธรรมกับระบบสังคมของสิงคโปร์ นอกจากนี้แล้วการเพิ่มผู้อพยพอาจจะทำให้ค่าครองชีพแพงขึ้นด้วย 
หลังจากโจอ่านบทความนี้ โจคิดว่าสถานการณ์ของสิงคโปร์คล้ายกับญี่ปุ่น หลายคนบอกว่าเพื่อช่วยเศรษฐกิจ เราจะต้องยอมรับผู้อพยพมากกว่าตอนนี้ แต่หลายคนไม่เห็นด้วยกับความคิดแบบนี้  คิดว่าการตรวจสอบผลดีกับผลเสียของนโยบายด้านการยอมรับผู้อพยพของสิงคโปร์น่าสนใจ

<อ้างอิง>
The limits to dialogue (From The Economist Feb 2nd 2013)

Sunday 3 February 2013

เช่า ซีดี ของ RAM WIRE



วันนี้โจเช่าซีดีเพลงญี่ปุ่น คิดว่าตัวเองไม่ได้เช่าซีดีเพลงญี่ปุ่นมานาน เพราะโจไม่ค่อยฟังเพลงญี่ปุ่นและเมื่อฟังเพลงปกติโจฟังผ่านทางอินเทอร์เน็ต  แต่เดี๋ยวนี้มีเพลงที่น่าสนใจ โจเจอเพลงนี้เมื่อโจหาแพลงในอินเทอร์เน็ต และรู้สึกว่าเพลงนี้มีเนื่อเพลงที่ดี กลุ่มนักร้องของเพลงนี้ชื่อ RAM WIRE
เนื้อเพลงของเขาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชีวิตประจำวันและให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของความสุขที่อยู่ในชีวิตประจำวัน (ปกติเรามักจะคิดว่าทุกวันเหมือนกันและไม่ค่อยเข้าใจความสำคัญตรงนั้น นอกจากนี้แล้วแม้ว่าทุกวันมีความลำบาก วันแบบนั้นทุกวันก็มีคุณค่า) 
โดยเฉพาะเพลงชื่อ “namonai mainichi (วันแต่ละวันที่ไม่มีชื่อเรียก) เพลงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่มีเป้าหมายและกำลังพยายามอยู่ แต่ก็ไม่สามารถได้บรรลุเป้าหมายนั้นได้มาเป็นเวลานานและรู้สึกเสียใจ/อึดอัดมากทุกวัน   รู้สึกหงุดหงิดกับตัวเองด้วย  ไม่แน่ใจว่าโจก็รู้สึกอึดอัดเหมือนกับคนในเพลงหรือไม่ แต่รู้สึกเห็นอกเห็นใจกับเนื้อเพลงนี้ วีดีโอของเพลงนี้ก็ดี คนที่ทำงานเป็นศิลปินตลกกับศิลปินวาดหนังสือการ์ตูนเคลื่อนไหวที่มีเรื่องเกี่ยวกับชีวีตของผู้หญิ่งที่อยากจะเป็นนักแสดง แต่มีความลำบากมาก
เนื้อหาของหนังสือการ์ตูนเคลื่อนไหวของเขาก็ดีและทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายเนื้อเพลงเได้ง่าย
ก่อนโจเช่าซีดีโจเคยฟังเพลงนี้ใน ยูทูบ และรู้สึกตกใจว่าคุณภาพเสียงของซีดีดีกว่ายูทูบมาก