Sunday 31 August 2014

คำพูด ของ คิง (มาร์ติน ลูเทอร์ คิง) กับ แมลคัม เอ็กซ์



หลังจากอ่านบทความเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอเมริกา (อุบัติเหตุที่เด็กผู้ชายคนผิวดำถูกตำรวจยิงเสียชีวิต)  โจรู้สึกสนใจกับประวัติศาสตร์ของการเหยียดผิว เมื่อโจหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตรู้สึกสนใจกับชีวิตของ คิง (มาร์ติน ลูเทอร์ คิง) กับ แมลคัม เอ็กซ์ เป้าหมายสูงสุดของทั้งสองคนเหมือนกันคืออยากให้คนผิวดำเท่าเทียมกับคนผิวขาว แต่วิธิของแมลคัม เอ็กซ์ แรงมากและเขาตำหนิคนผิวขาวมาก  ความคิดเห็นของเขามีผลกระทบต่อ มูฮัมหมัดอาลีด้วย แต่เปรียบเทียบกับแมลคัม เอ็กซ์ แล้ว คิงอ่อนมาก เขาลองเปลี่ยนแปลงสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรง (แต่ ทั้ง สองคนถูกฆ่า) ความเหมือนกันในเป้าหมายสูงสุดกับความแตกต่างในวิธีใช้ทำให้โจนึกถึงหนังสือประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า โจยังไม่รู้รายละเอียดของพวกเขา แต่คำพูดของพวกเขาทำให้โจรู้สึกประทับใจเสรีภาพไม่เคยได้มาเพราะผู้กดขี่สมัครใจให้ แต่ผู้ที่ถูกกดขี่จะต้องเรียกร้องมัน (Freedom is never voluntarily given by the oppressor; it must be demanded by the oppressed
Source: http://www.political-humor.org/freedom-is-never-voluntarily-given-by-the-oppressor-it-must-be-demanded-by-the-oppressed.shtml
เรายอมรับความล้มเหลวในบางเรื่อง แต่ต้องไม่ยอมแพ้ในการสร้างความหวัง (We must accept finite disappointment, but never lose infinite hope)  ถ้าคุณไม่อดทนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คุณก็จะล้มเหลวในทุกๆสิ่ง If you don't stand for something, you'll fall for anything
อยากจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับพวกเขา

การเหยียดผิวของอเมริกา



เดือนนี้ที่อเมริกา มีอุบัติเหตุที่ทำให้หลายคนคิดถึงการเหยียดผิวของอเมริกาที่รัฐมิสซูรี ผู้ชาย อายุ ๑๘ ปี ซึ่งเป็นคนผิวดำที่ไม่มีอาวุธถูกตำรวจยิงเสียชีวิต ยังไม่แน่ใจว่าอุบัติเหตุนี้เกี่ยวกับการเหยียดผิวหรือไม่เพราะว่าเรื่องเล่าระหว่างตำรวจกับเพื่อนของเด็กผู้ชายมีความแตกต่างมาก ตำรวจบอกว่าเด็กผู้ชายพยายามขโมยปืนของตำรวจและตำรวจรู้สึกว่าอันตราย แต่เพื่อนที่อยู่กับผู้ชายบอกว่าเขายอมจำนนโดยไม่ทำอะไรแต่ตำรวจยิง เราไม่สามารถรู้ความจริงได้เพราะว่าไม่มีวิดีโอ แต่ดูเหมือนว่าหลายคนคิดว่าเกี่ยวกับการเหยียดผิว 
http://nypost.com/2013/10/18/supreme-court-at-a-loss-over-racial-discrimination/
โจไม่รู้ว่าตอนนี้ที่สังคมอเมริกามีการเหยียดผิวแค่ไหน แต่รู้สึกสนใจกับวิธิแก้ไขปัญหาแบบนี้ที่ บทความ ของ The Economist แนะนำ  บทความนั้นบอกว่า ตอนแรกตำรวจควรติดกล้องเล็ก  รัฐบาลก็การเปลี่ยนแปลงระบบทรัพยากรมมนุษย์ และเพิ่มจำนวนตำรวจผิวดำในรัฐที่มีคนผิวดำมาก (ดูเหมือนว่าตอนนี้ตำรวจไม่ค่อยย้ายงานระหว่างรัฐ) นอกจากนี้แล้วนักเขียนบอกว่ารัฐบาลควรจะเพิ่มจำนวนรัฐที่อนุญาตให้ใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมายเพราะว่าตอนนี้คนผิวดำหลายคนถูกจับจากการใช้กัญชา และทำให้ความเชื่อมันระหว่างตำรวจกับคนผิวดำแย่ โจไม่แน่ใจว่าการอนุญาตให้ใช้กัญชาทำให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียเหมือนบทความนี้บอกหรือไม่ แต่รู้สึกสนใจบทความนี้มากกว่าบทความอื่น (เพราะว่าโจรู้สึกว่ามีหลายบทความที่ตำหนิการเหยียดผิวโดยไม่บอกวิธีแก้ไขปัญหา)

อ่านหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า



วันเสาร์อาทิตย์ที่แล้วโจอ่านหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า (ไม่มีอารมณ์ไปเที่ยว/ทำงาน/เรียน หลังจากทำกระเป๋าเงินหาย) หนังสือนี้มุ่งเน้นอธิบายประวัติศาสตร์หลังจากประเทศพม่าเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ โจคิดหลายสิ่งหลังจากเรียนรู้ว่าประเทศพม่าอยู่ในสถานการณ์ยุ่งยากนานๆ (นักเขียนบอกว่าประเทศพม่าอยู่ระหว่าง การต่อต้านกับ ความร่วมมือนาน)  ประเทศพม่าอยากจะเป็นอิสระจากอังกฤษ และบางทีร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านอังกฤษ แต่ไม่อยากเป็นอาณานิคมของประเทศญี่ปุ่นด้วย บางทีประเทศพม่าก็เลยจะต้องร่วมมือกับอังกฤษเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น (ทัศนคติของรัฐบาลพม่าต่อต่างประเทศก็เลยเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง) โจรู้สึกสนใจที่รู้ว่าระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการต่างประเทศของนักการเมืองมีความแตกต่างมาก แต่เป้าหมายสูงสุดของทั้งพรรครัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านเหมือนกันคือการเป็นอิสระจากทุกประเทศ คนญี่ปุ่นหลายคนคิดว่าสมัยนี้คนพม่าชอบญี่ปุ่นแต่ โจรู้สึกสงสัยว่าบางคนยังมีความรู้สึกยุ่งยากต่อญี่ปุ่นหรือไม่ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักวิจัยเศรษฐกิจ แต่โจเป็นคนขี้ลืมประวัติศาสตร์(อ่านหนังสือนี้ ๒ ครั้งแล้ว แต่ในครั้งที่ ๒ รู้สึกว่าเหมือนเป็นครั้งแรก) จะต้องฝึกอ่านอีกหลายครั้งรวมทั้งหนังสืออื่นด้วย

Saturday 30 August 2014

ทำกระเป๋าเงินหาย



อาทิตย์ที่แล้วโจทำกระเป๋าเงินหาย จริงๆแล้วจำไม่ได้ว่าทำตัวเองตกที่ไหน แต่ มีความเป็นไปได้ที่ในตอนเช้าโจทำกระเป๋าเงินตกที่เซเว่นหรือถนนที่อยู่ใกล้ๆร้านโดยไม่รู้ตัว (หลังออกจากร้านและรู้ว่าตัวเองทำกระเป๋าเงินหาย โจกลับไปหาทันทีแต่ไม่สามารถหาเจอได้) ในตอนเย็น พนักงานของเซเว่นโทรมาหาโจและบอกให้โจรู้ว่ากระเป๋าเงินของโจอยู่ในถังขยะของร้าน(แต่ไม่มีเงินเลยในกระเป๋า) ดูเหมือนว่าคนที่เจอกระเป๋าเงินขโมยเงินและทิ้งกระเป๋าเงินที่ถังขยะของ เซเว่น โจรู้ว่าความรับผิดชอบส่วนใหญ่อยู่กับตัวเองแต่รู้สึกเสียใจมากเพราะว่ามีเงินมากโดยบังเอิญ นอกจากนี้แล้วรู้สึกกลัวว่าคนที่ขโมยกระเป๋าเงินโจจะทำไม่ดีเช่นเปิดบัญชีโดยใช้ใบขับขี่ของโจ โจก็เลยไปสถานีตำรวจและแจ้งความให้ตำรวจเช็ควิดีโอของเซเว่นกับที่จอดรถของร้าน แต่ไม่สามารถรู้รายละเอียดได้ ยังรู้สึกเสียดายมากและรู้สึกเหนื่อยมาก  บทเรียนของครั้งนี้ก็แพงมากเหมือนตอนโจตกเครื่องบินปีที่แล้ว ตัดสินใจว่าตั้งแต่วันนี้จะระวังมากขึ้น

Sunday 17 August 2014

ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจมองโกเลีย

อาทิตย์นี้หลังจากการทำงานประจำเสร็จ โจตรวจสอบเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศมองโกเลียและรู้สึกสนใจกับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจนี้ จริงๆแล้วเหมือนเพื่อนคนมองโกเลียบอกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของมองโกเลียเดี๋ยวนี้สูงติดอันดับ ๑-๓ ของโลก แต่ดุลงบประมาณของรัฐบาล กับ ดุลบัญชีเดินสะพัดก็ขยายโดยเร็วมากด้วย ถ้าเปรียบเทียบกับหลายประเทศความไม่สมดุลของประเทศมองโกเลียสูงมาก เพื่อเพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจ ประเทศมองโกเลียจะต้องเพิ่มการลงทุนโดยตรงที่มาจากต่างประเทศโดยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และเพิ่มความมั่นคงของรายได้ของรัฐบาลโดยพัฒนาอุตสาหกรรมนอกอุตสาหกรรมเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ (นอกจากนี้แล้วการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีก็อาจจะจำเป็นด้วย) โจรู้สึกว่าระหว่างมองโกเลียกับพม่า มีหลายความแตกต่าง แต่สำหรับสถานการณ์ทางความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสถานการณ์คล้ายกัน อยากจะไปทำงาน/เที่ยวประเทศนี้ด้วย