Monday 29 July 2013

ประชาธิปไตย กับ ความมั่นคงของการเมือง



๒-๓ อาทิตย์ที่แล้ว โจอ่านบทความเกี่ยวกับ การเมืองของ ประเทศที่มีศาสนาอิสลาม หลังจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลของประเทศอียิปต์ หลายคนเริ่มคิดว่าอาหรับสปริง ล้มเหลวและประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับ ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
แต่นักเขียนบอกว่าคนที่คิดแบบนั้นเข้าใจผิดแล้ว และ ประชาธิปไตยเป็นระบบที่จำเป็นสำหรับประเทศเหล่านี้ นักเขียนบอกว่า ประเทศที่มีอาหรับสปริงไม่เหมาะสมกับการใช้อำนาจเผด็จการแบบเอเซีย(เช่น ประเทศจีนค่อยๆให้อำนาจแก่ประชาชน หลังจากเศรษฐกิจขยายตัว แต่สถานการณ์นี้อาจจะไม่เกิดขึ้นที่ แอฟริกา)  


จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีปัญหามาก แต่ประเทศที่มีศาสานาอิสลามอื่น เช่น โมร็อกโก จอร์แดน และ คูเวตก็ยังพยายามเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองอยู่ มีคนคิดว่าศาสนาอิสลามไม่เหมาะสมกับประชาธิปไตย แต่นักเขียนชี้ให้เห็นว่าประเทศมาเลเซียกับอินโดนีเซียสามารถยอมรับประชาธิปไตยได้แล้ว

บทความนี้ทำให้โจนึกถึงคำพูดของ นายกๆ วินสต้น เชอร์ชิลว่า ประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ ห่วยที่สุด ถ้าไม่นับระบบอื่นที่เคยถูกใช้มาแล้ว

เดี๋ยวนี้หลายคนสนใจประเทศเหล่านี้ แต่นอกจากประเทศที่มีศาสนาอิสลามแล้ว ประเทศไทย(ประเทศของศาสนาพุทธ)ก็มีปัญหาแบบนี้ ไม่แน่ใจว่าประชาธิปไตย ของประเทศไทยจะเป็นอย่างไรบาง (ไม่แน่ใจว่าประเทศไทยจะสามารถบรรลุทั้ง ประชาธิปไตย กับ ความมั่นคงทางการเมืองได้หรือไหม)

<อ้างอิง>
The Arab Spring: Has it Failed? (From The Economist Jul 13th 2013)


Sunday 28 July 2013

การประชุมของสมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น



*ลืมอัพโหลดไดอารี่นี้นานๆ
ปีนี้โจก็ไปเข้าร่วมการประชุมของสมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น (ปีนี้มีการประชุมที่มหาวิทยาลัย โยโกฮามา ซิติ และไม่ต้องไปถึงโอซาก้า สะดวกดีมาก) ปีที่แล้วโจเลือกหัวข้อเกี่ยวกับ ลักษณะ GDP ของประเทศไทยและ โจรู้สึกว่าสำหรับคนที่ไม่สนใจระบบสถิติ (คิดว่า ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ของ คน ไม่สนใจเลย) หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่น่าเบื่อมาก 
หัวข้อที่โจเลือกปีนี้ คือ การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ รู้สึกตกใจที่รู้ว่ามีผู้ฟังที่รู้สึกสนใจมากกว่าที่โจคิดเอาไว้ หลังจากการประชุม มีโอกาสทานอาหาร และ คุยกับหลายคน ดีใจมากที่ได้รู้จักคนที่วิจัยไทยหลายคน(แต่รู้สึกเสียใจที่รู้ว่าตัวเองยังไม่สามารถพูด/ฟังเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง กับคนไทยโดยใช้ภาษาไทยได้)
การตรวจสอบสถานการณ์การลงทุนยังไม่พอ และ การเขียนรายงานเกี่ยวกับหัวข้อนี้ก็ยังไม่เสร็จเลย ไม่แน่ใจว่าปีหน้าจะเสนอหรือไม่(ถ้ามีการปรชุมที่ต่างจังหวัดไกลมากๆ ไม่สามารถเข้าร่วมได้) และ ไม่แน่ใจว่าจะเลือกหัวข้ออะไร แต่อยากจะเสนอการวิจัยที่ดี

สถานการณ์ไฟฟ้าของประเทศอินเดีย



อาทิตย์นี้ โจอ่านบทความเกี่ยวกับ สถานการณ์ไฟฟ้าของประเทศอินเดียที่น่าสนใจ บทความนี้บอกว่า สถานการณ์ไฟฟ้าของประเทศอินเดียแย่กว่าที่สถิติของรัฐบาลบอกไว้ รัฐบาลบอกว่า ตอนนี้ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของหมู่บ้าน มีไฟฟ้าแล้ว แต่ นักเขียนชี้ให้เห็นว่า ถ้า ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนในหมู่บ้านมีไฟฟ้า สถิตินับว่าหมู่บ้านนี้มีไฟฟ้าแล้ว (ไม่สนใจ ๙๐ เปอร์เช็นต์ที่ไม่มีไฟฟ้า และ ไม่สนใจว่าบ้านที่มีไฟฟ้ามีไฟฟ้าเสมอ หรือ ชั่วคราว )
การขาดแคลนไฟฟ้าทำให้เกิดผลเสียมาก เช่นสถานการณ์นี้จำกัดการศึกษาในเวลากลางคืน ร้านที่ใช้ไฟฟ้ามากไม่สามารถทำธุรกิจได้ ทุกคนไม่สามารถทำงานได้นานและรายได้ก็ไม่ค่อยดี สถานการณ์นี้ทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองที่มีไฟฟ้ากับชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลไม่ค่อยสนใจสถานการณ์ของต่างจังหวัดและบาวที่ยังไม่มีไฟฟ้าของรัฐบาลใช้ 
แต่เดี๋ยวนี้ นักธุรกิจบางคนมาเริ่มผลิตไฟฟ้าขายเอง และ สถานการณ์นี้เริ่มเปลี่ยนแปลง พวกเขาใช้อุปกรณ์ที่ผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด หรือ มีเทน หรือ ข้าวทำให้ เด็กหลายคนสามารถเรียนในเวลากลางคืนได้และ มีหลายร้านที่เปิดในเวลากลางคืน แต่ดูเหมือนว่า การผลิตไฟฟ้านี้ยังไม่เพียงพอสำหรับบริษัทที่ใช้ไฟฟ้ามาก นักเขียนบอกว่าที่อินเดียปกติมีหลายข้อจำกัดในการผลิตไฟฟ้า แต่การเพิกเฉยของรัฐบาลทำให้นักธุรกิจผลิตไฟฟ้าได้ นอกจากนี้แล้ว เรื่องที่ราคาที่ดินถูกมากก็ช่วยส่งเสริมธุรกิจนี้ด้วย

บทความนี้ทำให้โจตระหนักความสำคัญของไฟฟ้าที่เราเคยชินคิดว่าเป็นสิ่งธรรมดา อยากรู้ว่าเมื่อไหร่และทำยังไงไมสถานการณ์การผลิตไฟฟ้าของรัฐบาลจะดีขึ้น

<อ้างอิง>
Lighting rural India/ Out of the gloom (The Economist Jul 20th 2013)

Sunday 14 July 2013

บริษัท Markit


อาทิตย์ที่แล้ว โจอ่านบทความเกี่ยวกับ บริษัท Markit บริษัทนี้ไม่ค่อยมีชื่อเสียงสำหรับคนธรรมดา แต่มีชื่อเสียงมากสำหรับคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมการเงิน โจก็มีโอกาสใช้ข้อมูลของบริษัทนี้และรู้จักบริษัทนี้ (บริษัทนี้ตีพิมพ์ สถิติ PMI(Purchasing Managers Index) ทุกเดือน หลายคนชอบใช้สถิตินี้เพราะ บริษัทตีพิมพ์สถิตินี้เร็วมาก และเปรียบเทียบหลายประเทศได้ง่าย) แต่โจไม่รู้จักธุรกิจอื่นของบริษัทนี้ 


บทความนี้บอกว่าเดี๋ยวนี้บริษัทนี้เพิ่มยอดการขายโดยรับทำงานให้กับบริษัทการเงินแทน(เอาท์ซอร์ส) นักเขียนชี้ให้เห็นว่า หลังจากวิกฤตการเงินใน ๕ ปีที่แล้ว หลายประเทศทำให้ข้อบังคับเกี่ยวกับบริษัทการเงิน เข้มงวดมาก และ จำนวนการทำงานของบริษัทการเงินเพิ่มขึ้นมาก บทความนี้บอกว่าสถานการณ์นี้จะเป็นต่อไป และยอดการขายของบริษัทนี้ก็จะเพิ่มขึ้นต่อไปด้วย แต่ ความเสี่ยงก็มี นักเขียนบอกว่าความเสี่ยงใหญ่ที่สุด คือ บริษัทนี้จะขยายตัวมากไปและผิดกฎหมายป้องกันการผูกขาด  (รู้สึกตกใจที่รู้ว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่แล้ว)


อยากรู้ว่าทำไมบริษัทนี้สามารถมีควาสำเร็จเร็วกว่าบริษัทอื่นได้

<อ้างอิง>
Markit:Plumbers in suits (From The Economist Jul 6th 2013)