Sunday 7 August 2011

ดรรชนีบิ๊กแมค

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
โจอ่านบทความเกี่ยวกับดรรชนีบิ๊กแมค
นิตยสาร The Economist เริ่มคำนวณดรรชนีนี้เป็นครั้งแรกเมื่อ ๒๕ ปีที่แล้ว
ดรรชนีนี้อยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อและบางคนคิดว่าดรรชนีนี้แสดงให้เห็นถึงค่าเงินสกุลอื่น
เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ จริงๆแล้วมีคนบอกว่าดรรชนีบิ๊กแมคไม่ถูกต้องเพราะว่าความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อขึ้นอยู่กับราคาสินค้าหลายอย่าง นอกจากนี้เราไม่นำเข้าและส่งออกบิ๊กแมคระหว่างประเทศเหมือนสินค้าอื่น
 แต่ นักเขียนชี้ให้เห็นว่าถ้าเทียบกับดรรชนีอื่น เช่น ดรรชนีไอพอด ดรรชนีอิเกีย และ ดรรชนีสตาร์บัคส์ เป็นต้น ดรรชนีบิ๊กแมคมีความถูกต้องมากกว่า (บทความนี้บอกว่านักลงทุนบางคนไม่ค่อยใช้สถิติของรัฐบาลและชอบดรรชนีอื่น มากกว่าเพราะว่ารัฐบาลตีพิมพ์ตัวเลขสถิติต่างๆช้าเกินไป)
ตอนนี้ดรรชนีบิ๊กแมคแสดงให้เห็นว่าเงินยูโรต่อเงินดอลลาร์สูงเกินไป ค่าเงินเยนอยู่ในอัตราที่เหมาะสม และค่าเงินจีนต่ำเกินไป(แต่ค่าเงินจีนอยู่ใกล้อัตราที่เหมาะสม !?)
 โจไม่รู้เรื่องดรรชนีอื่นแต่รู้สึกว่าดรรชนีบิ๊กแมคไม่แสดงให้เห็นถึงค่าเงินเยนอย่างถูกต้องและค่าเงินเยนสูงเกินไปเทียบกับเงินสกุลอื่น
เพราะว่านอกจากยุโรปกับอเมริกาแล้วงบประมาณทางรัฐบาลของญี่ปุ่นก็มีปัญหามาก
การเพิ่มขึ้นของจำนวนคนแก่กับการลดลงของจำนวนเด็กในญี่ปุ่นจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจแย่ลงด้วย โจกลัวว่าในอนาคตค่าเงินเยนจะลดลงมากๆและจะไปเที่ยวต่างประเทศยากขึ้น

อ้างอิงBeefed-up burgernomics (Jul 30th 2011 The Economist)
               Fast food for thought  (Jul 30th 2011 The Economist)


No comments:

Post a Comment