Sunday, 29 July 2012

การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย

อาทิตย์ที่แล้วเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพม่าเสร็จแล้ว   ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ครั้งนี้มุ่งเน้นการส่งออกกับการนำเข้า กำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอื่นในอีก ๔-๖ เดือนข้างหน้า ตั้งแต่อาทิตย์นี้โจก็เริ่มเขียนรายงานใหม่ (กำลังคิดว่าจะตีพิมพ์รายงานใหม่ทุก ๓ เดือน  ครั้งนี้วิจัยเกี่ยวกับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย ตั้งแต่เมษายนของปีนี้รัฐบาลปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำราวๆ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ หลายคนคิดว่านโยบายนี้ทำให้เกิดผลดีกับผลเสียมากต่อสังคมกับเศรษฐกิจไทย
อาทิตย์นี้โจตรวจดูระบบค่าแรงขั้นต่ำกับการกระจายรายได้ของประเทศไทยและเริ่มคิดว่าในระยะสั้นการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทำให้เกิดผลกระทบนอยกว่าหลายคนคิดเอาไว้
จริงๆแล้วมีคนที่รายได้อยู่ระหว่างค่าแรงขั้นต่ำเก่ากับค่าแรงขั้นต่ำใหม่มาก แต่ส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานส่วนตัวหรือคนที่ช่วยธุรกิจครอบครัว (มีคนที่ไม่ได้ทำงานประจำด้วย)  นโยบายเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำมีผลต่อแค่ลูกจ้างเอกชนที่ทำงานวันละมากกว่า ๙ ชั่วโมงเท่านั้นและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายได้ของกลุ่มคนที่ทำงานส่วนตัวได้

แต่โจคิดว่าในระยะกลางนโยบายนี้ทำให้เกิดผลกระทบมากเพราะบริษัทจะต้องเพิ่มรายได้ของแรงงานที่มีฐานะสูงกว่าแรงงานที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำด้วย  (แต่การปรับค่าแรงของทุกคนอาจจะใช้เวลา)  บางคนคิดว่าบริษัทต่างชาติที่อยู่ที่ประเทศไทยอาจจะย้ายโรงงานไปประเทศอื่นที่ค่าแรงงานถูกกว่าไทย  สถานการณ์นี้อาจจะทำให้เกิดผลดีกับผลเสีย เช่น จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้น แต่ให้โอกาสที่สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ยังไม่แน่ใจว่า ข้อสรุปของรายงานจะเป็นอย่างไรบ้าง คิดว่าจะปรึกษากับหลายคนดีกว่า

No comments:

Post a Comment