Saturday, 21 October 2017

รัฐบาลควรจะมีเป้าหมายใหญ่แค่ไหน

https://www.pinterest.jp/pin/404761085237461942/
อาทิตย์ที่แล้วกับอาทิตย์นี้ โจได้อ่านรายงานที่เพื่อนเขียน (เขากำลังเขียนรายงานเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินของรัฐบาล) สำหรับโจการแนะนำนโยบายส่วนใหญ่ที่เขาเขียนก็โอเค แต่มีบางเรื่องที่ความคิดของโจไม่ค่อยตรงกับเขา (ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ว่าเป็นนโยบายอะไรของประเทศไหน) เขาเขียนว่าตอนรัฐบาลกำลังสร้างนโยบายกับกลยุทธ์ใหม่ รัฐบาลควรจะมีเป้าหมายใหญ่โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับนโยบายอื่น เพราะว่าการบรรลุเป้าหมายของนโยบายนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายอื่น นอกจากนี้ เขายังแนะนำว่ารัฐบาลควรจะมีเป้าหมายใหญ่เท่าที่เป็นไปได้และบรรลุได้ยากด้วย เช่น จะบรรลุทุกเป้าหมายใน ๕ ปี (ดูเหมือนเขาจะคิดว่ายิ่งตั้งเป้าหมายไว้ยากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เรายิ่งมีแรงผลักดันมากขึ้นไปด้วย)
โจก็คิดเหมือนกันกับเขาว่ารัฐบาลควรจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายสูงสุดด้วย แต่ถ้ามีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ รัฐบาลควรจะคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะทำให้นโยบายบรรลุผลภายในเวลาที่กำหนดด้วย โจคิดว่าถึงแม้เป้าหมายจะดูเล็กๆ แต่รัฐบาลควรจะประกาศเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้อย่างแน่นอนเท่านั้น เพราะถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถบรรลุได้ตามที่ประกาศ รัฐบาลไม่ควรจะประกาศเป้าหมายนี้ โจคิดอย่างนี้เพราะว่าถ้ารัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ประกาศไว้หลายๆครั้ง ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลก็อาจจะลดลง และความไม่แน่นอนต่อความเป็นไปได้ของนโยบายก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสถานการณ์นี้จะส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจ (เช่น รัฐบาลประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ภายใน ๓ ปี เพื่อกระตุ้นนักธุรกิจและเพื่อเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศ ถ้าหากนักธุรกิจเชื่อเรื่องที่รัฐบาลบอก การลงทุนก็จะเพิ่มขึ้นก่อนรัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย แต่ถ้าไม่มีความมั่นใจต่อรัฐบาล การลงทุนก็อาจจะไม่เพิ่มขึ้น) ดังนั้น โจอยากจะแนะนำว่าการสร้างกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลควรจะประกาศเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้จริงๆเท่านั้น

Sunday, 8 October 2017

หัวข้อการวิจัยใหม่

ดี๋ยวนี้โจเริ่มคิดถึงหัวข้อการวิจัยใหม่โดยเช็คข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคในประเทศไทย เพราะว่าการเขียนรายงานเกี่ยวกับอินเดียเกือบจะเสร็จแล้ว (รู้สึกว่าจะเขียนรายงานเกี่ยวกับอินเดียในปีนี้พอแล้ว)
มีหลายสิ่งที่รู้สึกน่าสนใจ แต่ตอนนี้รู้สึกสนใจเกี่ยวกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปัจจุบันนี้
หลังจากรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ค่อยๆสูงขึ้นและ GDP ไตรมาสที่ ๒ ของปีนี้ขยายตัวได้ 3.7 จาก ปีที่แล้ว  องค์การระหว่างประเทศ (เช่น IMF, World Bank, และ ADB ) กับ รัฐบาลก็คาดว่า ปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยาย ราวๆ 3.5-4.0
โจอยากจะรู้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในตอนนี้เหมาะสมกับศักยภาพประเทศไทยหรือไม่ (อยากจะรู้ว่าอัตรานี้ควรจะสูงขึ้นกว่า 4 % หรื่อและ อยากจะรู้ว่ารัฐบาลกับธนาคารแห่งชาติควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อทำให้อัตรานี้สูงกว่าตอนนี้หรือ ไม่) เพราะว่าเทียบกับประเทศที่รายได้ (per capita GDP) คล้ายกัน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังต่ำกว่า  
(หลายประเทศที่ per capita GDP ราวๆ 6 พันบาทแต่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่า 5 % )  มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อก็ต่ำกว่าอัตราเหมะาสม เพราะว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าระดับศักยภาพ  ถึงจะอธิบายยาก แต่โจรู้สึกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังควรจะสูงกว่า 4 %