อาทิตย์นี้โจเขียนรายงานสั้นๆที่เกี่ยวกับการเมืองไทย (เป็นภาษาญี่ปุ่น) ในรายงานนี้โจนำเสนอกราฟเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ดรรชนีประชาธิปไตยที่สำนักงาน EIU (Economist Intelligence Unit) เป็นผู้กำหนด ดรรชนีนี้แสดงว่าประเทศนั้นมีประชาธิปไตยแค่ไหนระหว่างคะแนน 0 ถึง 10 และกราฟนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มี per capita GDP ต่ำกว่า ๑ หมื่นดอลล่าร์
การพัฒนาเศรษฐกิจไม่ค่อยเกี่ยวของกับสถานการณ์ประชาธิปไตย แต่สำหรับประเทศที่มี per capita GDP สูงกว่า ๑ หมื่นดอลล่าร์การพัฒนาเศรษฐกิจเหมือนจะดูมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางประชาธิปไตย
ยังไม่ชัดเจนว่า per capita GDP จะสูงขึ้นเพราะว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมาก หรือเพราะการที่
per capita GDP สูงขึ้นส่งผลให้ระบบการเมืองมีประชาธิปไตยมากกว่าแต่ประเทศที่มี per capita GDP สูงกว่า ๑ หมื่นดอลล่าร์และดรรชนีประชาธิปไตยต่ำกว่าไทยมีแต่ประเทศที่ส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น (เช่น ซาอุดิอาระเบีย, UAE เป็นต้น)
และไม่แน่ใจว่าประเทศไทยจะสามารถเข้าสู่ประเทศรายได้สูงโดยไม่มีประชาธิปไตยได้หรือไม่
(รัฐบาลกำลังมีแผนการที่จะมีการเลือกตั้งในปีหน้า แต่ถ้าคิดตามระบบการเลือกตั้งใหม่
รัฐบาลในตอนนี้อาจจะมีอำนาจต่อไปและความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยก็ยังไม่มากเท่าไร)
ยังมีความเป็นไปได้ที่ประเทศจีนจะเข้าสู่ประเทศรายได้สูงโดยไม่เปลี่ยนระบบการเมือง
แต่ระบบการเมืองแบบจีนมีความเสี่ยงเพราะว่าแม้ว่านโยบายผิด/ไม่ดีเท่าไร ประชาชนก็ไม่สามารถหยุดรัฐบาลได้ เมื่อโจเขียนรายงานนี้ โจนึกถึงคำพูดของ Winston. S Churchill “Democracy is the worst
form of government, except for all the others that had been tried (ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดแต่เป็นรูปแบบการปกครองที่แย่น้อยที่สุด)”
อย่างไรก็ตาม โจหวังว่าทั้งการเมือง/ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นโดยไม่มีปัญหาเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี
2013-2014