Sunday, 23 February 2020

ดูแลนักศึกษาฝึกงาน

เดือนนี้แผนกของโจรับนักศึกษาที่รู้สึกสนใจทำงานกับบริษัทโจ
เรารับนักศึกษา 3 ครั้ง ( ครั้งละ  6 คน แต่ละครั้ง ใช้เวลา3 วัน ) ซึ่งโจจะต้องดูแลพวกเขา (โจดูแล 3 คนใน 6 คน และเพื่อนร่วมงานดูแล 3 คน) ตอนแรกโจไม่อยากจะเป็นคนดูแลนักศึกษาเพราะว่าโจไม่เคยมีรุ่นน้องที่ตัวเองจะต้องดูแลและไม่รู้ว่าจะดูแลพวกเขาอย่างไรดี (เคยทำงานกับรุ่นน้องแต่พวกเขามีประสบการณ์มาก โจเลยไม่ต้องช่วยพวกเขามาก)
นอกจากนี้แล้ว เดือนนี้ก็โจยุ่งมาก (ช่วงดูแลนักศึกษา 9 วัน ไม่สามารถมีสมาธิในงานตัวเองได้ โจจึงต้องทำงานวันเสาร์อาทิตย์แทน) แต่คิดว่าประสบการณ์นี้เป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับโจ  ทำให้โจเข้าใจว่าการดูแลรุ่นน้องยากแค่ไหน จัดการทีมอย่างไรดี เมื่อนักศึกษานำเสนองานในวันสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว โจรู้สึกดีใจมากเหมือนตัวเองสำเร็จด้วย
http://www.quotehd.com/quotes/craig-miller-quote-internships-are-very-important-part-of-our-education-program-first-and

ในแผนกโจ มีเพื่อนร่วมงานที่ใช้เวลานานสำหรับดูแลรุ่นน้องมากกว่าเขียนรายงานตัวเอง เมื่อก่อนโจไม่เข้าใจว่าเพื่อนร่วมงานคนแบบนั้นรู้สึกพอใจที่ต้องดูแลนักศึกษาหรือไม่  สุดท้ายโจเข้าใจว่าพวกเขามีความสุขในการดูแลรุ่นน้องเหมือนเขียนรายงานตัวเอง
ดูเหมือนว่าปีนี้ก็นักศึกษาส่วนใหญ่สนใจการวิจัยเศรษฐกิจญี่ปุ่นมากกว่าต่างประเทศทำให้มีความเป็นไปได้ที่โจจะมีรุ่นน้อน้อยมาก แต่ถ้ามีโอกาสที่จะได้ดูแลพนักงานที่พึ่งเรียนจบก็น่าสนใจ

โชคไม่ดี

เดือนนี้มีหลายเรื่องที่โชคไม่ดี แต่ละเรื่องไม่ซีเรียสเท่าไร แต่เหมือน สุภาษิตภาษาญี่ปุ่นบอก “แม้จะเป็นเพียงฝุ่น แต่ถ้ารวมกันมากๆ ก็จะกลายเป็นภูเขา” ทำให้โจรู้สึกเหนื่อยใจ
เช่น ประมาณ ๒ อาทิตย์ที่แล้ว พนักงานของบริษัททีวีมาสัมภาษณ์โจและถ่ายวิดีโอเกี่ยวกับความคิดเห็นโจต่อเศรษฐกิจไทย  พวกเขาอยากจะอธิบายว่า ทำไมนักท่องเที่ยวคนต่างชาติโดยเฉพาะคนไทยชอบมาเที่ยวญี่ปุ่น (พวกเขาตั้งใจมุ่งเน้นคนไทย เพราะว่าจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยที่มาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นโดยเร็วมาก) ในรายการนี้พวกเขาอยากจะให้โจอธิบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจกับสังคมไทยใน 1 นาที โจจึงใช้เวลาเพื่อเตรียมตัวเองสำหรับการสัมภาษณ์นี้และช่วยพวกเขาโดยส่งข้อมูลให้
ถึงแม้รู้สึกอายแต่หวังว่าวิดีโอนี้จะถูกออกอากาศ แต่เมื่อโจดูรายการนี้ โจรู้สึกเสี่ยเสียใจที่รู้ว่าพวกเขาไม่ได้ใช้วิดีโอนั้นเลย
ในรายการนี้ผู้สื่อข่าวอธิบายว่าบางที่ราคาของสินค้ากับบริการในญี่ปุ่นถูกกว่าไทย เช่นถ้าไป Daiso ที่ไทยราคา 60 บาท แต่ ในญี่ปุ่นแค่  30 บาท นอกจากนี้ ถ้าไปร้านราเม็งที่ดังมากที่อเมริกา ราคาราว ๆ 1,000 บาท แต่ต่ำกว่า 500 บาทในญี่ปุ่น ดูเหมือนว่ารายการนี้ใช้วิดีโอเกี่ยวกับราเม็งแทนวิดีโอโจ ยังไงก็ตามราเม็งนั้นดูอร่อยดี เลยเข้าใจว่าผู้ชมคงสนใจราเม็งมากกว่าโจ (เข้าใจว่าคู่แข่งของโจคือราเม็ง แต่แม้ว่าจะพยายามมาก โจคิดว่าชนะราเม็งก็ไม่ไหว)
https://menya-shono.com/news/5017/
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ความพยายามของโจในเดือนนี้ไม่ได้รับรางวัล  บริษัทโจมีแผนการจะจัดการประชุมสำหรับนักข่าวที่รู้สึกสนใจอินเดีย และเจ้านายจะให้โจอธิบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจอินเดีย โจเตรียมตัวสำหรับการประชุมนี้โดยใช้วันเสาร์อาทิตย์ (ทำ power point ราว ๆ 70 หน้า) แต่เพราะว่าไวรัสโคโรนาค่อยๆระบาดในญี่ปุ่น เจ้านายจึงเปลี่ยนใจยกเลิกการประชุมนี้  เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ แต่ทำให้รู้สึกเหนื่อยใจ
อาทิตย์นี้ยังมีคนที่ถามโจเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุมเดือนหน้า แต่โจรู้สึกกลัวว่าการประชุมนี้ก็อาจจะถูกยกเลิกด้วย

Monday, 6 January 2020

สไตล์การทำงาน

วันหยุดของปีใหม่ปีนี้ โจไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนและอยู่ที่โตเกียวเฉยๆ (ทำงานบ้าง เรียนภาษาไทยบ้าง กินๆนอนๆบ้าง และเจอกับทั้งเพื่อนและญาติบ้าง)

สำหรับการทำงาน ตอนนี้โจเขียนรายงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศอินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกาจากมุมมองของอินเดีย (เส้นตายของรายงานนี้กำลังจะมาถึง โจเลยต้องทำงานในวันหยุดปีใหม่นี้)  
นอกจากนี้แล้ว โจกำลังเขียนรายงานอีก 2 เรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยพร้อมกัน ( รายงานแรกคือเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเงิน และอีกหนึ่งเรื่องคือรายงานเกี่ยวกับหรี้ครัวเรื่อง) รายงานเหล่านี้เขียนยังไม่เสร็จ แต่โจก็ต้องคิดถึงหัวข้อการวิเคราะห์ใหม่ๆด้วยเพื่อเตรียมตัวสำหรับรายงานใหม่ 

ปัจจุบันนี้ ทำงานสไตล์แบบนี้จนเป็นปกติแล้ว   (เขียนหลายรายงานพร้อมกันและคิดถึงหัวข้อใหม่ๆด้วย ใน 1 ปี ตีพิมพ์รายงานแบบยาว ราวๆ 20-30 หน้า 5 รายงาน รายงานแบบกลาง ราวๆ 10 หน้า 10 รายงาน และรายงานแบบสั้นๆ 1-2 หน้า ราวๆ 20 รายงาน) 

แต่บางที่โจรู้สึกเหนื่อยกับการทำงานแบบนี้และคิดว่าตัวเองควรจะลดจำนวนรายงานที่ตีพิมพ์เพื่อที่จะเพิ่มคุณภาพของการวิเคราะห์ที่ต้องใช้เวลานานกว่าตอนนี้ ถ้าโจรับผิดชอบกับการวิเคราะห์ของหัวข้อเฉพาะทางเท่านั้น (เช่น ระบบภาษี หรือนโยบายการเงิน  หรือการบริโภค) โจก็จะได้ไม่ต้องตีพิมพ์รายงานบ่อยๆอย่างตอนนี้ 
แต่เพราะว่าโจรับผิดชอบกับการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคและสถานการณ์เศรษฐกิจกับหัวข้อสำคัญก็เปลี่ยนไปโดยเร็วมาก โจจึงคิดว่าตัวเองควรจะตีพิมพ์รายงานบ่อยๆโดยทันเวลาเพื่ออับเดต 

ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถทำได้หรือไม่ แต่อยากจะเพิ่มคุณภาพของรายงานโดยไม่ลดจำนวนรายงานตีพิมพ์ (มีความหมายว่าจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่าตอนนี้)