วันนี้โจอ่านบทความ(เก่า)เกี่ยวกับตลาดแรงงานผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง(เคยอ่าน แต่ลืมไปแล้ว)บทความนี้บอกว่าสังคมญี่ปุ่นสูญเสียแรงงานผู้หญิงที่มีความสามารถมากและเรื่องนี้กำลัส่งผลแย่ต่อเศรษฐกิจเพราะว่าจำนวนแรงงานของประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเริ่มลดลง
แต่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน(อัตราส่วนแรงงานของประชากรที่อายุมากกว่า ๑๕ ปี)ของผู้หญิงญี่ปุ่นยังมีอัตราน้อยกว่าประเทศอื่น(อัตราการเข้าร่วมแรงงานของผู้หญิงที่เรียนจบมหาวิทยาบัยมีแค่ ๖๗ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น) อัตราผู้หญิงที่สมัครใจลาออกจากบริษัทคิดเป็น ๗๔ เปอร์เซ็นต์ (๒๖ เปอร์เซ็นต์ถูกไล่ออก )
ผู้หญิงญี่ปุ่นที่มีความสามารถที่ลาออกจากบริษัทหลายคนรู้สึกไม่พอใจกับวัฒนธรรมเก่าของบริษัทเช่น ผู้หญิงได้รับเลื่อนตำแหน่งยาก (หลายคนรู้สึกว่าอยากจะทำงานต่อไปหลังจากแต่งงานและมีลูก แต่ถ้ามีลูกและลาหยุดจะได้เลื่อนตำแหน่งยากขึ้น เพราะหลายบริษัทคิดว่าพนักงานที่ทำงานนานและไม่ลาหยุดมีความสำคัญมาก )
นักเขียนของบทความนี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทของประเทศญี่ปุ่นประหยัดทรัพยากรหลายสิ่งเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมแต่ไม่รักษาแรงงานผู้หญิงที่มีความสามารถไว้ (เขาบอกว่าบริษัทจะต้องเพิ่มโอกาสทำงานที่บ้านให้มากขึ้น และแนะนำว่าถ้าความคิดบริษัทไม่เปลี่ยนแปลงผู้หญิงที่ไม่พอใจจะเลือกที่จะทำงานบริษัทต่างชาติที่มีสาขาที่ประเทศญี่ปุ่นแทน)
นักวิจัยเศรษฐกิจของบริษัท โกลด์แมน แซคส์ บอกว่าถ้าสังคนมญี่ปุ่นใช้แรงงานที่มีความสามารถจะมีผลดี การเพิ่มแรงงานนี้จะทำให้ขนาดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นราวๆ ๑๕ เปอร์เซ็นต์
โจก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของบทความนี้แต่คิดว่าสำหรับการทำงานที่ใช้ข้อมูลที่มีความสำคัญทำงานที่บ้านอาจจะยากเพราะบริษัทกลัวว่าข้อมูลจะรั่วไหล
หลังจากโจอ่านบทความนี้ โจเปรียบเทียบอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศไทยและรู้สึกตกใจที่รู้ว่ากราฟสำหรับอัตราของประเทศไทยไม่มี “ส่วนโค้ง M ” อยากจะตรวจดูความแตกต่างของความคิดเห็นต่อผู้หญิงที่มีความสามารถระหว่างบริษัทญี่ปุ่นกับประเทศไทย
<อ้างอิง>
Land of the wasted talent (Dec 3rd 2011 From The Economist)
No comments:
Post a Comment