วันนี้โจอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัยของโจและคิดหลายอย่าง
นักเขียนบอกว่าคนที่ไม่ยอมรับนโยบายการเพิ่มอายุเกษียณกำลังเข้าใจผิดอยู่
บางคนคิดว่านโยบายนี้ทำให้โอกาสในการทำงานของคนรุ่นใหม่ลดลง แต่นักเขียนบอกว่ากลุ่มที่คิดแบบนี้คิดว่าจำนวนการทำงานในสังคมมีจำกัด แต่ความคิดนี้ไม่ถูก(ถ้าจำนวนการทำงานในสังคมมีจำนวนจำกัดจริงๆการเพิ่มของจำนวนแรงงานผู้หญิงจะทำให้จำนวนแรงงานผู้ชายลดลง แต่ในความเป็นจริงแล้วการเพิ่มของจำนวนแรงงานผู้หญิงไม่ทำให้จำนวนแรงงานผู้ชายลดลง)
ประเทศที่อยู่ในกลุ่ม OECD ส่วนใหญ่มีอัตราการเข้าร่วมตลาดแรงงานของคนรุ่นเก่าสูง และอัตราการเข้าร่วมตลาดแรงงานของคนรุ่นใหม่ก็สูง นอกจากนี้แล้วในสังคมผู้สูงอายุ งบประมาณของรัฐบาลที่ช่วยเหลือคนรุ่นเก่าจะลดลง คนรุ่นเก่าก็เลยจะต้องทำงานนานกว่าเมื่อก่อน
โจก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนักเขียนในเรื่องจำนวนการทำงานในสังคมแต่คิดว่าเขาไม่ได้บอกว่าผลเสีย(ลำบาก)ของนโยบายการเพิ่มอายุเกษียณมีอะไรบ้าง เช่น ถ้าเราอายุมากขึ้นจะเรียนสิ่งใหม่ได้ยากขึ้น จะเคลื่อนย้ายตัวก็ยากขึ้น สำหรับบริษัทเรื่องนี้มีความหมายว่าผลิตภาพของแรงงานจะลดลง ไม่แน่ใจว่าบริษัทจะอยากจ้างคนรุ่นเก่าต่อไปหรือไม่ (ถ้าบริษัทจะต้องจ้างคนรุ่นเก่าต่อไป บริษัทอาจจะลดเงินเดือนลง ซึ่งไม่รู้ว่าคนรุ่นเก่าจะยอมรับเรื่องนี้หรือไม่ )
นอกจากนี้แล้วบางคนกลัวว่าถ้ามีแรงงานคนรุ่นเก่ามาก การตัดสินใจทางธุรกิจก็จะช้าขึ้น ถ้านโยบายการเพิ่มอายุเกษียณเป็นกฎหมาย ระบบบริษัทกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
โจคิดว่าในสังคมผู้สูงอายุคนรุ่นเก่าจะสามารถช่วยเหลือสังคมได้มากกว่าเมื่อก่อน แต่เรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าคนรุ่นเก่าจะต้องทำงานแค่ในบริษัท คนรุ่งเก่าสมารถช่วยเหลือสังคมทางอื่นได้เช่นดูแลลูกของคนรุ่นใหม่
สำหรับโจแล้ว ถ้าโจมีโอกาสที่จะได้วิจัยเศรษฐกิจที่โจสนใจจริงๆ โจก็อยากจะทำงานต่อไปจนตาย(เมื่อโจอายุมากขึ้นและมีความสามารถในการวิจัยลดลง โจจะยอมรับการปรับลดเงินเดือน แต่หวังว่าโจจะมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจมากๆ)
แต่ถ้าโจไม่มีโอกาสที่จะได้ทำงานต่อและมีทรัพย์สินเพียงพอ โจก็อยากจะเกษียณและจะวิจัยงานต่อไปที่บ้าน นอกจากนี้แล้ว อยากจะเล่นเปียโนทุกวัน จะเรียนภาษาใหม่ๆ จะออกกำลังกาย และจะอ่านวรรณคดีมากๆ (คิดว่าโจจะยุ่งจนตาย555)
<อ้างอิง>
Keep on trucking (From The Economist Feb 11th 2012)
No comments:
Post a Comment