วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย LIBOR ( อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารที่อยู่ในลอนดอน)
อัตราดอกเบี้ยนี้มีความสำคัญมากเพราะอัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของ
อัตราดอกเบี้ยอื่นในโลก นอกจากนี้แล้วอัตรานี้แสดงให้เห็นว่าระบบการเงินในโลกมีปัญหาแค่ไหน แต่เดี๋ยวนี้ หลายสำนักงานภาครัฐบาลเริ่มตรวจสอบธนาคารเพราะสำนักงานเหล่านี้รู้สึกสงสัยว่าธนาคารบอกอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารไม่ถูก
(สมาคมนายธนาคารของอังกฤษคาดคะเนอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยระหว่างธนาคารโดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่หลายธนาคารบอก เมื่อสมาคมนายธนาคารไม่ได้รับข้อมูล สมาคมนายธนาคารก็จะคาดคะเนเอง)
นอกจากครั้งนี้แล้ว ก็ยังมีตอนเศรษฐกิจไม่ค่อยดีเช่นหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในปี ๒๕๕๑ ด้วย เพราะเมื่อความเสี่ยงในตลาดการเงินเพิ่มมากขึ้น LIBOR ก็มักจะเพิ่มขึ้นด้วย แต่บางธนาคารไม่อยากให้ทุกคนรู้ว่าธนาคารมีความเสี่ยง
ตอนนี้สำนักงานภาครัฐบาลกำลังหาวิธีป้องกันธนาคารให้ข้อมูลเท็จและสมาคมนายธนาคารของอังกฤษก็กำลังหาวิธีคาดคะแนที่ดีกว่าตอนนี้อยู่ โจคิดว่ามีหลายวิธีที่ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่นรัฐบาลสามารถทำโทษธนาคารที่ให้ข้อมูลเท็จได้ และสมาคมนายธนาคารของอังกฤษก็สามารถเปิดเผยอัตราดอกเบี้ยออริจินัล ด้วยได้ (เนื่องจากตอนนี้สมาคมนายธนาคารของอังกฤษ ไม่ใช้ข้อมูล อัตราดอกเบี้ยที่สูงหรือต่ำมากเกินไป )
โจรู้สึกแปลกใจว่าทำไมทุกคนถึงใช้ LIBOR เป็นอัตรามาตรฐานโลก เพราะว่านอกจาก LIBOR แล้วหลายประเทศก็มีอัตราดอก เบี้ยแบบนี้ด้วยเช่นกัน เช่น มี EURIBOR กับ TIBOR เป็นต้น
<อ้างอิง>
Cleaning up Libor (From The Economist April 7th 2012)
An expensive smoking gun (From The Economist April 7th 2012)
Sunday, 15 April 2012
Sunday, 8 April 2012
การเปลี่ยงแปลงของประเทศพม่า (๒)
ในไดอารี่ของเดือนตุลาคมปีที่แล้วโจเขียนเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยงแปลงของประเทศพม่า (ตั้งแต่ราวๆ ๒ ปีที่แล้ว สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศพม่าเริ่มเปลี่ยนแปลงไปมาก) หลังจากตอนนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ดำเนินต่อไปและจำนวนบทความเกี่ยวกับประเทศพม่าก็เพิ่มขึ้นด้วย
อาทิตย์ที่แล้วมีการเลือกตั้งสำหรับตำแหน่งที่ว่างในรัฐบาลและกลุมที่สนับสนุนนางอองซานซูจีชนะที่นั่งส่วนมาก(ได้รับ ๔๓ ที่นั่งจาก ๔๕ ที่นั่ง)
นอกจากนี้แล้วรัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงระบบการเงินทางอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วย(ก่อนรัฐบาลเปลี่ยนแปลงระบบนี้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศพม่ามี ๒ อัตรา) การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ทำให้บางประเทศเริ่มคิดการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศพม่าและบางบริษัทได้เริ่มทำธุรกิจในประเทศพม่าแล้ว
แต่นักเขียนบอกว่าการเปลี่ยนแปลงของประเทศพม่ายังไม่เพียงพอเลยและจะใช้เวลานานกว่าที่ทุกคนคิดเอาไว้ และมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศพม่าก็ควรจะดำเนินต่อไปดี จริงๆแล้วในการเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองที่ว่างกลุ่มนางอองซานซูจีชนะแต่ยังคิดเป็นแค่ ๖ เปอร์เซ็นต์ ของที่นั่งทั้งหมดในรัฐบาลเท่านัน และ หลังจากการเลือกตั้งใหญ่ใน ปี ๒๕๕๙
รัฐบาลของตอนนี้(ทหารเก่า)จะมีอำนาจต่อไปเพราะว่ากฎหมายที่รัฐบาลปัจจุบันกำหนดได้จะปกป้องและสนับสนุนพวกเขาต่อไป นักเขียนบอกว่าสถานการณ์ในอนาคตจะขึ้นอยู่กับประธานาธิบดีเต็งเส่ง(แต่โจคิดว่านอกจากเขาแล้ว อดีตนายพลตานฉ่วย(ประธานเก่าของทหาร)ก็มีความสำคัญเหมือนกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง)
จริงๆโจรู้สึกว่าจำนวนบทความเกี่ยวกับประเทศพ่มากำลังเพิ่มขึ้น แต่เนื้อความของรายงานสวันใหญ่เหมือนกัน (ประเทศพม่ามีความสามารถทางการพัฒนามากๆแต่มีความเสี่ยงทางการเมืองด้วย)
ยังไม่แน่ใจว่าจะได้เขียนหรือไม่ แต่โจกำลังคิดว่าในปีนี้จะเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพม่า ถ้าโจจะเขียนอยากจะเขียนสิ่งที่รายงานอื่นยังไม่ค่อยเขียน(เช่นผลดีกับผลเสียของการพัฒนาประเทศพม่าต่อเศรษฐกิจไทย)
<อ้างอิง>
The Yangon spring (From The Economist April 7th 2012)
The Lady of all landslides (From The Economist April 7th 2012)
Saturday, 7 April 2012
กองทุนการเงินเอเซีย
วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับกองทุนการเงินเอเซีย(กองรทุนป้องกันการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเซีย)เดี๋ยวนี้หลายคนพูดเรื่องเกี่ยวกับระบบ(วิธี)ป้องกันการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป
จริงๆแล้วระบบนี้มาจากความไม่พอใจกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประทเทศช่วยเหลือประเทศในเอเชีย กองทุนการเงินระหว่างประเทศทำให้หลายประเทศลดค่าใช้จ่ายทางรัฐบาลลงมาก และปรับอัตราภาษีให้สูงมาก ประเทศในเอเซียก็เลยรู้สึกว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้มงวดมากไป
ในปี ๒๕๔๓ สัญญาถูกนำมาใช้จริงในธนาคารกลางในเอเซีย ในปี ๒๕๕๓ ระบบนี้เปลี่ยนแปลงนิดหน่อยและเปิดสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อตรวจความเสี่ยงทางการเงินในเอเซีย
ในปี ๒๕๕๕ งบประมาณของระบบนี้เพิ่ม ขึ้น ๒ เท่าเพื่อเตรียมรับมือวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต แต่ระบบนี้ยังไม่เปลี่ยนเป็นกองทุนการเงินเอเซีย(ระบบนี้ คือสัญญราะหว่างธนาคารกลางในเอเซีย) เพราะกองทุนการเงินระหว่างประทเทศกับอเมริกาไม่ค่อยยอมรับการเปิดกองทุนการเงินเอเซีย
นักเขียนชี้ให้เห็นว่าตอนนี้งบประมาณของระบบนี้ยังมีขนาดไม่ใหญ่และถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
การเงินประเทศเหล่านี้จะต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เพราะขั้วอำนาจทางการเงินก็มีการเปลี่ยนแปลงถึงในเอเซีย
แต่โจคิดว่าจะมีกองทุนการเงินเอเซียยากมาก เพราะถ้ากองทุนการเงินเอเซียเปิด กองทุนการเงินเอเซียจะต้องมีอำนาจที่สามารถเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งในประเทศที่ขอความช่วยเหลือได้ แต่คิดว่าหลายประเทศไม่อยากให้กองทุนการเงินเอเซียมีอำนาจมากไป(นอกจากนี้หลายสำนักงานในเอเชียยังไม่มีอำนาจเพียงพอเช่นอาเซียนไม่มีอำนาจที่แก้ไขปัญหาในอาเซียน)
ตั้งแต่เดือนนี้โจจะเริ่มเข้าร่วมการประชุมที่เรียนภาษาอังกฤษในบริษัทอีกครั้ง(ตั้งแต่โจเริ่มทำงานที่รัฐบาลในปีที่แล้ว ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤเป็นประจำ) อยากจะอธิบายเรื่องที่โจเขียนในไดอารี่โดยใช้ภาษาอังกฤษด้วย(การอ่านบทความที่เป็นภาษาอังกฤษไม่ค่อยยากมาก แต่การอธิบายเป็นภาษาอังกฤษยากมากๆ)
<อ้างอิง>
A rather flimsy firewall (From The Economist Feb 7th 2012)
แต่นักเขียนมุ่งเน้นระบบนี้ในเอเซียเพรา ๑๕ ปีที่แล้ว(ในวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเซีย) บางประเทศในเอเซียเคยเกิดสถานการณ์ที่คล้ายกับในยุโรป หลังจากวิกฤตในเอเซีย หลายประเทศ(ประเทศอาเซียนกับ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน) ตัดสินใจว่าควรจะมีระบบที่ช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหา(จึงเกิดสัญญา“ความริเริ่มเชียงใหม่” )
ในปี ๒๕๔๓ สัญญาถูกนำมาใช้จริงในธนาคารกลางในเอเซีย ในปี ๒๕๕๓ ระบบนี้เปลี่ยนแปลงนิดหน่อยและเปิดสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อตรวจความเสี่ยงทางการเงินในเอเซีย
ในปี ๒๕๕๕ งบประมาณของระบบนี้เพิ่ม ขึ้น ๒ เท่าเพื่อเตรียมรับมือวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต แต่ระบบนี้ยังไม่เปลี่ยนเป็นกองทุนการเงินเอเซีย(ระบบนี้ คือสัญญราะหว่างธนาคารกลางในเอเซีย) เพราะกองทุนการเงินระหว่างประทเทศกับอเมริกาไม่ค่อยยอมรับการเปิดกองทุนการเงินเอเซีย
นักเขียนชี้ให้เห็นว่าตอนนี้งบประมาณของระบบนี้ยังมีขนาดไม่ใหญ่และถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
การเงินประเทศเหล่านี้จะต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เพราะขั้วอำนาจทางการเงินก็มีการเปลี่ยนแปลงถึงในเอเซีย
<อ้างอิง>
A rather flimsy firewall (From The Economist Feb 7th 2012)
Sunday, 1 April 2012
ภาษีการบริโภค
วันศุกร์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีตัดสินใจว่ารัฐบาลจะปรับอัตราภาษีการบริโภคให้สูงขึ้น จาก ๕ เปอร์เซ็นต์ เป็น ๘ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๗ และปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งเป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ใน ปี ๒๕๕๘ (แต่ยังไม่แน่ใจว่านโยบายนี้จะถูกบังคับใช้ตามกฎหมายหรือไม่ การตัดสินใจนี้จะใช้เวลาอีกอย่างน้อย ๔-๖ เดือน)
นักการเมืองบางคนบอกว่านโยบายนี้จะต้องมีความยืดหยุ่น เช่นถ้าเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๗ แย่กว่าที่รัฐบาลคาดเอาไว้ ก็ไม่ปรับเพิ่มอัตราภาษี ถ้าเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะถดถอยหลังจากรัฐบาลปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้น จะระงับการใช้นโยบายนี้ชั่วคราวเป็นต้น
บางคนคิดว่าการมีความยืดหยุ่นนี้เป็นเรื่องดี แต่บางคนไม่ยอมรับความคิดนี้เพราะว่าถ้ารัฐบาลไม่ทำให้อัตราภาษีสูงขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นต่อไปและปัญหานี้จะทำให้เกิดผลเสียใหญ่ต่อเศรษฐกิจในอนาคต
โจคิดว่าถ้านโยบายนี้จะมีความยืดหยุ่นแบบนี้ จะทำให้แผนกที่คาดคะเนสถิติทางเศรษฐกิจ(เช่นแผนกบัญชีประชาชาติ)มีความรับผิดชอบมากขึ้น แต่คิดว่าความยืดหยุ่นของนโยบายนี้ไม่ควรจะขึ้นอยู่กับแค่ตัวเลขของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและรัฐบาลควรจะตัดสินใจโดยคิดถึงหลายๆปัจจัยด้วย
เพราะนอกจากสถานการณ์เศรษฐกิจ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับวิธีคาดคะเนด้วย (วิธีการปรับตัวเลขตามฤดูกาลมีหลายวิธีและการเลือกวิธีที่จะใช้ยากขึ้น) นอกจากนี้แล้วบางทีอัตราการเติบโตก็เปลี่ยนแปลงหลังจากมีข้อมูลใหม่ด้วย เมื่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีความใกล้เคียงตัวเลขเป้าหมาย การตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับแค่ตัวเลขทำให้มีความเสี่ยงที่รัฐบาลจะตัดสินใจผิด
โจคิดว่าถ้านโยบายนี้จะมีความยืดหยุ่นที่ขึ้นอยู่กับตัวเลขสถิติ ความสำคัญของความถูกต้องของสถิติก็จะเพิ่มขึ้น (แต่ตอนนี้การที่จะเพิ่มจำนวนพนักงานของแผนกสถิติก็ยากมาก) โจช่วยการวิจัยวิธีคาดคะเน GDP ที่แผนกบัญชีประชาชาติมา ๑ ปี และรู้สึกว่านอกจากวิธีคาดคะเนแล้วแผนกนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วย(ตอนนี้พนักงานทุกคนย้ายแผนกทุก ๒-๓ ปีและไม่มีเวลาเพิ่มทักษะในการคาดคะเน) แต่ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยากมากๆ)
นักการเมืองบางคนบอกว่านโยบายนี้จะต้องมีความยืดหยุ่น เช่นถ้าเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๗ แย่กว่าที่รัฐบาลคาดเอาไว้ ก็ไม่ปรับเพิ่มอัตราภาษี ถ้าเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะถดถอยหลังจากรัฐบาลปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้น จะระงับการใช้นโยบายนี้ชั่วคราวเป็นต้น
บางคนคิดว่าการมีความยืดหยุ่นนี้เป็นเรื่องดี แต่บางคนไม่ยอมรับความคิดนี้เพราะว่าถ้ารัฐบาลไม่ทำให้อัตราภาษีสูงขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นต่อไปและปัญหานี้จะทำให้เกิดผลเสียใหญ่ต่อเศรษฐกิจในอนาคต
โจคิดว่าถ้านโยบายนี้จะมีความยืดหยุ่นแบบนี้ จะทำให้แผนกที่คาดคะเนสถิติทางเศรษฐกิจ(เช่นแผนกบัญชีประชาชาติ)มีความรับผิดชอบมากขึ้น แต่คิดว่าความยืดหยุ่นของนโยบายนี้ไม่ควรจะขึ้นอยู่กับแค่ตัวเลขของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและรัฐบาลควรจะตัดสินใจโดยคิดถึงหลายๆปัจจัยด้วย
เพราะนอกจากสถานการณ์เศรษฐกิจ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับวิธีคาดคะเนด้วย (วิธีการปรับตัวเลขตามฤดูกาลมีหลายวิธีและการเลือกวิธีที่จะใช้ยากขึ้น) นอกจากนี้แล้วบางทีอัตราการเติบโตก็เปลี่ยนแปลงหลังจากมีข้อมูลใหม่ด้วย เมื่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีความใกล้เคียงตัวเลขเป้าหมาย การตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับแค่ตัวเลขทำให้มีความเสี่ยงที่รัฐบาลจะตัดสินใจผิด
โจคิดว่าถ้านโยบายนี้จะมีความยืดหยุ่นที่ขึ้นอยู่กับตัวเลขสถิติ ความสำคัญของความถูกต้องของสถิติก็จะเพิ่มขึ้น (แต่ตอนนี้การที่จะเพิ่มจำนวนพนักงานของแผนกสถิติก็ยากมาก) โจช่วยการวิจัยวิธีคาดคะเน GDP ที่แผนกบัญชีประชาชาติมา ๑ ปี และรู้สึกว่านอกจากวิธีคาดคะเนแล้วแผนกนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วย(ตอนนี้พนักงานทุกคนย้ายแผนกทุก ๒-๓ ปีและไม่มีเวลาเพิ่มทักษะในการคาดคะเน) แต่ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยากมากๆ)
Subscribe to:
Posts (Atom)