วันศุกร์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีตัดสินใจว่ารัฐบาลจะปรับอัตราภาษีการบริโภคให้สูงขึ้น จาก ๕ เปอร์เซ็นต์ เป็น ๘ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๗ และปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งเป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ใน ปี ๒๕๕๘ (แต่ยังไม่แน่ใจว่านโยบายนี้จะถูกบังคับใช้ตามกฎหมายหรือไม่ การตัดสินใจนี้จะใช้เวลาอีกอย่างน้อย ๔-๖ เดือน)
นักการเมืองบางคนบอกว่านโยบายนี้จะต้องมีความยืดหยุ่น เช่นถ้าเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๗ แย่กว่าที่รัฐบาลคาดเอาไว้ ก็ไม่ปรับเพิ่มอัตราภาษี ถ้าเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะถดถอยหลังจากรัฐบาลปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้น จะระงับการใช้นโยบายนี้ชั่วคราวเป็นต้น
บางคนคิดว่าการมีความยืดหยุ่นนี้เป็นเรื่องดี แต่บางคนไม่ยอมรับความคิดนี้เพราะว่าถ้ารัฐบาลไม่ทำให้อัตราภาษีสูงขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นต่อไปและปัญหานี้จะทำให้เกิดผลเสียใหญ่ต่อเศรษฐกิจในอนาคต
โจคิดว่าถ้านโยบายนี้จะมีความยืดหยุ่นแบบนี้ จะทำให้แผนกที่คาดคะเนสถิติทางเศรษฐกิจ(เช่นแผนกบัญชีประชาชาติ)มีความรับผิดชอบมากขึ้น แต่คิดว่าความยืดหยุ่นของนโยบายนี้ไม่ควรจะขึ้นอยู่กับแค่ตัวเลขของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและรัฐบาลควรจะตัดสินใจโดยคิดถึงหลายๆปัจจัยด้วย
เพราะนอกจากสถานการณ์เศรษฐกิจ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับวิธีคาดคะเนด้วย (วิธีการปรับตัวเลขตามฤดูกาลมีหลายวิธีและการเลือกวิธีที่จะใช้ยากขึ้น) นอกจากนี้แล้วบางทีอัตราการเติบโตก็เปลี่ยนแปลงหลังจากมีข้อมูลใหม่ด้วย เมื่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีความใกล้เคียงตัวเลขเป้าหมาย การตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับแค่ตัวเลขทำให้มีความเสี่ยงที่รัฐบาลจะตัดสินใจผิด
โจคิดว่าถ้านโยบายนี้จะมีความยืดหยุ่นที่ขึ้นอยู่กับตัวเลขสถิติ ความสำคัญของความถูกต้องของสถิติก็จะเพิ่มขึ้น (แต่ตอนนี้การที่จะเพิ่มจำนวนพนักงานของแผนกสถิติก็ยากมาก) โจช่วยการวิจัยวิธีคาดคะเน GDP ที่แผนกบัญชีประชาชาติมา ๑ ปี และรู้สึกว่านอกจากวิธีคาดคะเนแล้วแผนกนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วย(ตอนนี้พนักงานทุกคนย้ายแผนกทุก ๒-๓ ปีและไม่มีเวลาเพิ่มทักษะในการคาดคะเน) แต่ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยากมากๆ)
No comments:
Post a Comment