ในเวลาส่วนตัว โจเขียนรายงานเกี่ยวกับสถิติของเศรษฐกิจไทย
และส่งรายงานนี้ให้นิตยสารสมาคมญี่ปุ่น-ไทย ทุก 2 เดือน
ตอนนี้โจเขียนเรื่องเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของรายได้ เมื่อโจเขียนหัวข้อนี้โจใช้วิธีคำนวนความเหลื่อมล้ำดังนี้
- นอกจากรายได้ อะไรๆก็เหมือนกัน (เช่น ไม่มีเงินฝืด/เงินเฟ้อ)
- ในปี 2545 รายได้ของคน/ภาค /จังหวัด A คือ 10 และสำหรับคน/ภาค /จังหวัด B คือ 100
- ในปี 2555 รายได้ของคน/ภาค /จังหวัด A คือ 20 และสำหรับคน/ภาค /จังหวัด B คือ 200
โจถามตัวเองว่า ในสถานการณ์นี้ เราสามารถบอกว่า
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่าง A กับ B เพิ่มขึ้นหรือไม่ (ในที่นี้โจพูดเกี่ยวกับแค่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้
ไม่ได้พูดถึงความเหลื่อมล้ำทางความสุขที่มาจากรายได้ นอกจากรายได้แล้วความเหลื่อมล้ำทางความสุขขึ้นอยู่กับสมการของความสุขในการบริโภคและมีความซับซ้อนมากขึ้น)
ถ้าเราเปรียบเทียบ A กับ B โดยใช้ “รายได้ของ B ลบ รายได้ A” ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น
(เพิ่มจาก 90 เป็น 180) แต่ถ้าเราเปรียบเทียบโดยใช้ อัตราความแตกจ่างในรายได้ระหว่าง
B และ A ความเหลื่อมล้ำไม่เปลี่ยนเลยเมื่อเราคำนวนความเหลื่อมล้ำทางรายได้
เราควรจะใช้วิธีไหนดีและเพราะอะไร
โจใช้วิธีที่เปรียบเทียบใช้อัตราบ่อยๆโดยไม่ค่อยคิดเรื่องรายละเอียดและเหตุผล
แต่เดี๋ยวนี้เพื่อนโจไม่ยอมรับวิธีนี้และโจไม่ได้อธิบายให้ละเอียด จึงเริ่มรู้สึกไม่แน่ใจว่าทำไมโจใช้วิธีนี้มากกว่า
และรู้สึกอึดอัดด้วย
จริงๆแล้วในรายงาน โจสามารถอธิบายแค่
“เมื่อเราคำนวนความเหลื่อมล้ำ
มีหลายวิธี” เท่านั้นก็ได้ แต่ถ้าโจเขียนแบบนั้น ผู้อ่านอาจจะรู้สึกแปลกใจเหมือนกับโจ โจจะต้องคิดเรื่องเหตุผลอีกครั้ง
* จริงๆแล้ว “รายได้ (* Per capita Gross Regional & Provincial Product) ของกรุงเทพฯลบรายได้ของภาคอีสาน” เพื่มขึ้นใน 10 ปีที่ผ่านมา
แต่อัตราความแตกจ่างในรายได้ระหว่าง กรุงเทพกับภาคอสาน ไม่เปลี่ยนเลย ในกรณีนี้เราจะอธิบายอย่างไรดี
คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่ตอบง่ายสำหรับคนที่ฉลาด
แต่สำหรับคนบ้าแบบโจเข้าใจ/อธิบายยาก
No comments:
Post a Comment