Saturday, 8 November 2014

เข้าร่วมการอบรมออนไลน์ของ IMF



ตั้งแต่ ๓ อาทิตย์ที่แล้ว โจเข้าร่วมโปรแกรมการอบรมออนไลน์ของ IMF ผู้เข้าร่วมจะเรียน Debt Sustainability Analysis (การวิเคราะห์ความยั่งยืนของหนี้ของประเทศ) โดยใช้อินเทอร์เน็ต
 โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าคุณภาพของการศึกษาออนไลน์พัฒนาไปมาก ก่อนโจเข้าร่วมโจกลัวว่าจะเรียนคนเดียวโดยใช้อินเทอร์เน็ตยาก เพราะว่าจะรู้สึกเบื่อได้ง่ายและจะมีสมาธิยาก แต่โครงสร้างของการอบรมทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกสนใจมาก วิดีโอกับคำถามก็น่าสนใจและเราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคำถามในเว็บบอร์ดได้ด้วย (การรู้ความคิดเห็นของหลายคนจากหลายประเทศก็สนุกดี) ระบบการศึกษาแบบนี้ยังไม่สมบูรณ์ แต่คิดว่าการเรียนแบบนี้จะขยายตัวมากกว่านี้ สำหรับคนที่อยากจะเรียนสถานการณ์นี้ดีมาก (สามารถเรียนกับอาจารย์ที่สอนเก่งมากได้ ไม่เกี่ยวว่าจะอยู่ที่ไหน จะเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ ค่าเรียนก็ถูกหรือฟรี ) สำหรับอาจารย์ก็ดีเพราะว่าอาจารย์ไม่ต้องสอนหลายครั้งและสามารถใช้เวลานานๆกับการวิจัยก็ได้ 
แต่มีความเป็นไปได้ที่การศึกษาออนไลน์ทางวีดีโอจะมาแทนที่การศึกษาออฟไลน์ และจะเกิดผลเสียต่อตลาดแรงงานของการศึกษา โจก็เลยคิดว่าความสำคัญของการศึกษาออฟไลน์จะต้องเปลี่ยนจากการสอนเหมือนวีดีโอไปสู้การสนทนา หรือ การติดต่อกับนักเรียนแทน ถ้าวิธีสอนออฟไลน์ไม่เปลี่ยน ครูกับอาจารย์หลายคนอาจจะตกงาน

การไปทำงานที่อินเดีย



อาทิตย์ที่แล้วกับอาทิตย์นี้โจไปทำงานที่อินเดียมา ครั้งนี้ก็ไปนิวเดลีกับมุมไบและสัมภาษณ์กับหลายคน หลังจากรัฐบาลเปลี่ยนในพฤษภาคมที่ผ่านมา หลายคนหวังว่าสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจกับเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่คนที่โจไปสัมภาษณ์หลายคนบอกว่าสถานการณ์ยังไม่ค่อยเปลี่ยนยกเว้นความเชื่อมั่นนักลงทุนกับผู้บริโภค
 ดูเหมือนว่าคนอินเดียหลายคนคิดว่าของการปฏิรูปจะเร็วขึ้นในปีหน้า และเศรษฐกิจก็จะค่อยๆดีขึ้น แต่คนญี่ปุ่นที่ทำงานที่อินเดียหลายคนยังรู้สึกสงสัยว่ารัฐบาลจะสามารถเปลี่ยนหลายสิ่งได้หรือไม่ เพราะว่าการตัดสินใจของรัฐบาลอินเดียจะใช้เวลานาน (รัฐบาลกลางจะต้องเจรจากับรัฐบาลท้องถิ่นด้วย)  แต่ไม่มีคนที่คิดว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงกว่าตอนนี้ โจยังไม่เข้าใจว่าความแตกต่างระหว่างความคิดของคนอินเดียกับญี่ปุ่นมาจากที่ไหน แต่การสนทนากับพวกเขาช่วยการเข้าใจของโจมาก
ครั้งนี้โจรู้สึกว่ามลพิษทางอากาศ(กับเสียง)แย่ลงกว่าปีที่แล้วและรู้สึกว่าจะต้องเริ่มกำหนดนโยบายเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมในอนาคตอันใกล้ แต่ดูเหมือนว่ามีคนที่คิดแบบโจน้อย เพราะว่าพวกเขาคิดว่าการพัฒนาเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาความยากจนสำคัญมากกว่าการช่วยสิ่งแวดล้อม รัฐบาลอินเดียอยากจะเพิ่มอัตราส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตจาก ๑๕ เปอร์เซ็นต์เป็น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าข้อบังคับไม่เข้มงวดแรงขึ้นเลย โจกลัวว่ามลพิษจะแย่ลงมากไปกว่านี้

Saturday, 18 October 2014

ไปเที่ยวเขาใหญ่ โคราช และ พิมาย

อาทิตย์ที่แล้วโจไปเที่ยวไทยมา ครั้งนี้อยู่ที่กรุงเทพฯแค่ ๑ วันเท่านั้นและระหว่างอยู่ที่กรุงเทพฯก็ไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนเป็นพิเศษ โจไปเจอเพื่อนและไปดูวิวที่บาร์ของโรงแรม Banyan Tree แต่ดูเหมือนว่าเพื่อดูวิวสวยมากที่มีชื่อเสียง จะต้องทานอาหารด้วย (บาร์กับร้านอาหารอยู่ชั้นอื่น) 
ตั้งแต่วันที่ ๒ ถึงวันที่ ๔ โจเช่ารถขับไปเขาใหญ่ บรรยากาศของ รีสอร์ทที่โจพักก็ดี แต่รู้สึกว่าสำหรับคนต่างชาติหารีสอร์ทนั้นได้ยาก (ไม่สามารถหาที่นั่นโดยใช้ GPS ได้และไม่ได้เห็นป้ายที่มีภาษาอังกฤษด้วย ) 
วันที่ ๓ ตอนเช้าขับรถไปในอุทยานแห่งชาติของเขาใหญ่ ไม่รู้ว่าเพราะว่าฝนตกหรือไม่ แต่ไม่ค่อยเห็นสัตว์  โจก็เลยออกจากเขาใหญ่และไปพิมาย(ระหว่างเขาใหญ่กับพิมายใช้เวลานานกว่าที่คิดเอาไว้ ราว ๓-๔ ชั่วโมง 
ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับนโยบาย ของ ค.ศ.ช หรือไม่ แต่ไม่ต้องเสียค่าเข้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง(ปกติไม่ใช่ฟรี) โจชอบแบบเขมรและรู้สึกว่าสวยมาก หลังจากนั้นระหว่างกลับโรงแรม โจแวะโคราชเพื่อดูอนุสาวรีย์สุรนารีด้วย ไม่ได้ไปเที่ยวในโคราช แต่รู้สึกว่าบรรยากาศใกล้ๆอนุสาวรีย์คล้ายกับเชียงใหม่
วันที่ ๔ ระหว่างกลับกรุงเทพฯ โจไปพระราชวังบางปะอิน (เคยไปเที่ยวอยุธยาหลายครั้ง แต่ไปเที่ยวที่นี่เป็นครั้งแรก) โจรู้สึกตกใจและดีใจที่ได้เช่ารถกอล์ฟ รู้สึกว่าไปเที่ยวโดยขึ้นรถกอล์ฟ สะดวกมาก คิดว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่ไทยกับญี่ปุ่นยังไม่ค่อยมีบริการนี้ แต่ถ้ามีจำนวนนักท่องเที่ยวของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมาก 

ครั้งนี้จริงๆรู้สึกว่าค่าเงินเยนลดลงต่อเงินบาทมาก (๑ หมื่นเยนเท่ากับน้อยกว่า ๓ พันบาท ) สถานการณ์นี้ไม่ดีสำหรับคนญี่ปุ่นที่ไปเที่ยวไทย แต่สำหรับคนไทยที่จะไปเที่ยวญี่ปุ่นดีมาก รู้สึกผิดต่อนักท่องเที่ยวคนไทย แต่อยากให้เงินเยนเข็งขึ้นอีกครั้ง

ไปคอนเสิร์ตของ X Japan

๒ อาทิตย์ที่แล้ว โจไปคอนเสิร์ตของ X Japan มา คอนเสิร์ตของครั้งนี้เป็นคอนเสิร์ตโหมโรงของเมดิสัน สแควร์ การ์เดน  และเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกในรอบ ๔ ปีที่ผ่านมา ครั้งนี้ที่นั่งเป็นที่นั่งดีมาก (แถว ๑๑ ที่จากเวที) และสามารถดูหน้าตาให้ชัดเจนได้   
รู้สึกว่าการแสดงกับหน้าตาของโยชิกิไม่แก่เลย ไม่อยากเชื่อว่าเขาอายุเท่ากับเจ้านายของโจ แต่รู้สึกว่าแฟนของ  X Japan แก่แล้ว (แฟนจริงๆที่รู้จักสมัย  X Japan ใส่ชุดแรงๆส่วนใหญ่อายุมากกว่าโจ ๑๐ ปี ) คนที่เล่นคอสเพลย์บางคนก็น่ากลัวกว่าน่ารัก/สวย  ไม่รู้ว่า X Japan จะเล่นต่อไปถึงเมื่อไรแต่ถ้ามีโอกาสอยากจะไปอีกครั้ง


Sunday, 28 September 2014

วันที่โชคไม่ดี

ไม่รู้ว่าเพราะว่าเดี๋ยวนี้เหนื่อยมากไปจากการทำงานประจำและลืมเรื่องอื่นง่ายหรือไม่ แต่เมื่อวานนี้เป็นวันที่โชคไม่ดีเลย ตอนเช้าโจไปรับวีซ่าของอินเดีย เมื่อโจขอวีซ่าอาทิตย์ที่แล้ว โจรับเอกสารที่บอกว่า คนที่จะมารับวีซ่าจะต้องมา 17:00-17:30 ของ วันธรรมดา แต่ก่อนโจเช็คโฮมเพจของศูนย์วีซ่า โฮมเพจบอกว่า เราสามารถจะมารับระหว่างเวลา/วันอื่นที่ศูนย์วีซ่าเปิดก็ได้  โจก็เลยไปรับตอนเช้าของวันนี้ แต่พนักงานบอกว่าไม่สามารถรับได้นะครับ (ไม่รู้ว่าความรับผิดชอบอยู่กับโจหรือไม่ )
http://iheartinspiration.com/quotes/bad-day-bad-life/#!prettyPhoto
หลังจากนั้น โจไปทำงานที่บริษัทต่อ  ตอนเย็นไปเรียนภาษาไทย แต่โจลืมกระเป๋าเงินที่บริษัทและจะต้องยกเลิก (ไม่อยากขอยืม) หลังจากยกเลิกการเรียนภาษาไทย โจกลับบริษัทเอากระเป๋าเงินและกลับบ้าน แต่ไม่สามารถเข้าบ้านได้ เพราะว่าลืมกุญแจที่ห้อง พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน แบตเตอรี่มือถือหมด ตอนนั้นโจรู้สึกเกือบจะฆ่าตัวตาย (แต่พ่อแม่กลับมาภายใน 30 นาที)  อยากจะพักผ่อนนานๆ

Sunday, 31 August 2014

คำพูด ของ คิง (มาร์ติน ลูเทอร์ คิง) กับ แมลคัม เอ็กซ์



หลังจากอ่านบทความเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอเมริกา (อุบัติเหตุที่เด็กผู้ชายคนผิวดำถูกตำรวจยิงเสียชีวิต)  โจรู้สึกสนใจกับประวัติศาสตร์ของการเหยียดผิว เมื่อโจหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตรู้สึกสนใจกับชีวิตของ คิง (มาร์ติน ลูเทอร์ คิง) กับ แมลคัม เอ็กซ์ เป้าหมายสูงสุดของทั้งสองคนเหมือนกันคืออยากให้คนผิวดำเท่าเทียมกับคนผิวขาว แต่วิธิของแมลคัม เอ็กซ์ แรงมากและเขาตำหนิคนผิวขาวมาก  ความคิดเห็นของเขามีผลกระทบต่อ มูฮัมหมัดอาลีด้วย แต่เปรียบเทียบกับแมลคัม เอ็กซ์ แล้ว คิงอ่อนมาก เขาลองเปลี่ยนแปลงสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรง (แต่ ทั้ง สองคนถูกฆ่า) ความเหมือนกันในเป้าหมายสูงสุดกับความแตกต่างในวิธีใช้ทำให้โจนึกถึงหนังสือประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า โจยังไม่รู้รายละเอียดของพวกเขา แต่คำพูดของพวกเขาทำให้โจรู้สึกประทับใจเสรีภาพไม่เคยได้มาเพราะผู้กดขี่สมัครใจให้ แต่ผู้ที่ถูกกดขี่จะต้องเรียกร้องมัน (Freedom is never voluntarily given by the oppressor; it must be demanded by the oppressed
Source: http://www.political-humor.org/freedom-is-never-voluntarily-given-by-the-oppressor-it-must-be-demanded-by-the-oppressed.shtml
เรายอมรับความล้มเหลวในบางเรื่อง แต่ต้องไม่ยอมแพ้ในการสร้างความหวัง (We must accept finite disappointment, but never lose infinite hope)  ถ้าคุณไม่อดทนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คุณก็จะล้มเหลวในทุกๆสิ่ง If you don't stand for something, you'll fall for anything
อยากจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับพวกเขา

การเหยียดผิวของอเมริกา



เดือนนี้ที่อเมริกา มีอุบัติเหตุที่ทำให้หลายคนคิดถึงการเหยียดผิวของอเมริกาที่รัฐมิสซูรี ผู้ชาย อายุ ๑๘ ปี ซึ่งเป็นคนผิวดำที่ไม่มีอาวุธถูกตำรวจยิงเสียชีวิต ยังไม่แน่ใจว่าอุบัติเหตุนี้เกี่ยวกับการเหยียดผิวหรือไม่เพราะว่าเรื่องเล่าระหว่างตำรวจกับเพื่อนของเด็กผู้ชายมีความแตกต่างมาก ตำรวจบอกว่าเด็กผู้ชายพยายามขโมยปืนของตำรวจและตำรวจรู้สึกว่าอันตราย แต่เพื่อนที่อยู่กับผู้ชายบอกว่าเขายอมจำนนโดยไม่ทำอะไรแต่ตำรวจยิง เราไม่สามารถรู้ความจริงได้เพราะว่าไม่มีวิดีโอ แต่ดูเหมือนว่าหลายคนคิดว่าเกี่ยวกับการเหยียดผิว 
http://nypost.com/2013/10/18/supreme-court-at-a-loss-over-racial-discrimination/
โจไม่รู้ว่าตอนนี้ที่สังคมอเมริกามีการเหยียดผิวแค่ไหน แต่รู้สึกสนใจกับวิธิแก้ไขปัญหาแบบนี้ที่ บทความ ของ The Economist แนะนำ  บทความนั้นบอกว่า ตอนแรกตำรวจควรติดกล้องเล็ก  รัฐบาลก็การเปลี่ยนแปลงระบบทรัพยากรมมนุษย์ และเพิ่มจำนวนตำรวจผิวดำในรัฐที่มีคนผิวดำมาก (ดูเหมือนว่าตอนนี้ตำรวจไม่ค่อยย้ายงานระหว่างรัฐ) นอกจากนี้แล้วนักเขียนบอกว่ารัฐบาลควรจะเพิ่มจำนวนรัฐที่อนุญาตให้ใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมายเพราะว่าตอนนี้คนผิวดำหลายคนถูกจับจากการใช้กัญชา และทำให้ความเชื่อมันระหว่างตำรวจกับคนผิวดำแย่ โจไม่แน่ใจว่าการอนุญาตให้ใช้กัญชาทำให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียเหมือนบทความนี้บอกหรือไม่ แต่รู้สึกสนใจบทความนี้มากกว่าบทความอื่น (เพราะว่าโจรู้สึกว่ามีหลายบทความที่ตำหนิการเหยียดผิวโดยไม่บอกวิธีแก้ไขปัญหา)