Saturday 18 February 2012

ความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติของประเทศในแถบแอฟริกา


นิตยสาร The Economist ของอาทิตย์ที่แล้วมีบทความเกี่ยวกับธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติในประเทศแถบแอฟริกา บทความนี้บอกว่าเดี๋ยวนี้ประเทศแถบแอฟริกามีความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติของตนเองมากกว่าเมื่อก่อน (ปริมาณอุปสงค์ของทรัพยากรธรรมชาติในประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิ่มขึ้นและบริษัทเหมืองแร่บางบริษัทก็เลยอยากจะทำธุรกิจในประเทศแถบแอฟริกา)
สมัยก่อนก็มีสถานการณ์แบบนี้ แต่สถานการณ์ของตอนนี้มีความแตกต่างหลายอย่าง เช่น สมัยก่อนเรื่องเกี่ยวกับความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับน้ำมัน แต่สมัยนี้มีเรื่องแบบนี้สำหรับทรัพยากรธรรมชาติอื่นหลายชนิดด้วย 
สมัยก่อนประเทศที่ส่งออกทรัพยากรธรรมชาติมีความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติเพราะประชาชนอยากปกป้องทรัพยากรที่อยู่ในประเทศ สมัยนี้ประเทศที่ส่งออกทรัพยากรมีความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติเพราะประเทศเหล่านี้อยากจะได้กำไรมากๆจากบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจเหมืองแร่ในประเทศเหล่านี้
แต่นักเขียนชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของบางประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยถนัดเจรจากับบริษัทเหมืองแร่ (รัฐบาลทำให้ราคาสัมปทานเหมืองแร่แพงไป เปลี่ยนแปลงระบบบ่อยๆและทำให้บริษัทไม่ไว้ใจรัฐบาล) นักเขียนบอกว่าราคาสัมปทานเหมืองแร่เหมาะสม ถูกและกำไรของบริษัทยุติธรรมมากกว่าที่รัฐบาลคิดเอาไว้เพราะการทำเหมืองแร่ใช้เวลานานและใช้เงินมาก
 (สำหรับบริษัทการทำธุรกิจในประเทศแถบแอฟริกามีความเสี่ยงมาก ดังนั้นถ้าได้กำไรไม่มาก จะไม่มีบริษัทที่อยากทำธุรกิจในประเทศแถบแอฟริกา สำหรับประเทศในแถบแอฟริกาเรื่องนี้เป็นเรื่องไม่ดี เพราะตอนนี้ประเทศแถบแอฟริกายังไม่มีเงินที่จะทำเหมืองแร่เอง จึงต้องยอมรับบริษัทต่างชาติ) ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติในประเทศแถบแอฟริกาก็เลยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเจรจาของรัฐบาล
โจไม่แน่ใจว่าถ้ารัฐบาลกับบริษัทมีโอกาสเจรจาหลายครั้ง ราคาสัมปทานเหมืองแร่จะเปลี่ยนแปลงเป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่(ถ้าไม่มีโอกาสหลายครั้ง นอกจากการคำนวณราคาเองแล้ว รัฐบาลควรจะให้สถาบันอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวพันกับทั้งบริษัทต่างชาติและรัฐบาลคำนวณราคาที่เหมาะสมให้ด้วย)

อ้างอิง
More for my people (From The Economist Feb 11th 2011)
Wish you were mine (From The Economist Feb 11th 2011)

No comments:

Post a Comment