Saturday, 17 December 2011

พิธีแต่งงานของเพื่อน

อาทิตย์ที่แล้วโจเข้าร่วมพิธีแต่งงานของเพื่อนสนิทสมัยยังเรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย
โจเคยเข้าร่วมพิธีแต่งงานของเพื่อนหลายครั้งแต่เข้าร่วมพิธีแต่งงานของเพื่อนสมัยเรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนต้น-ปลายเป็นครั้งแรก
หลังจากโจกับเพื่อนเรียนจบก็มีโอกาสไปเที่ยวลดลง ใน ๒-๓ ปีที่ผ่านมาไม่ได้มีโอกาสไปเที่ยวกับเขาเลย แต่ราวๆ ๓ เดือนที่แล้วเขาส่งเมล์ให้โจรู้ว่าเขาจะแต่งงาน (ตอนนั้นโจรู้สึกตกใจมาก)
ที่พิธีแต่งงานโจรู้สึกว่าเพื่อนดูเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เพราะสมัยเป็นนักเรียนเขาไม่ค่อยถนัดที่จะคุยกับคนอื่นและไม่ค่อยมีเพื่อน (ตอนนั้นโจคิดว่าขิวิตนี้เขาคงจะอยู่คนเดียว) แต่ดูเหมือนว่าเขาเปลี่ยนเป็นคนเข้าสังคมและมีเพื่อนมากขึ้น
*ในพิธีแต่งงานมีโอกาสได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับชีวิตของเขาตั้งแต่ก่อนเขาเข้าโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและหลังจากเข้ามหาวิทยาลัยแต่เนื้อหาในวิดีโอนี้ไม่ค่อยมีเรื่องตอนสมัยเรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย
แฟนของเขาสวยและนิสัยดี เขาดูมีความสุขมากและครอบครัวของเขาก็ดูมีความสุขมากเหมือนกันไม่รู้ว่าทำไมแต่ครั้งนี้โจรู้สึกดีใจมากกว่าพิธีแต่งงานที่โจเคยเข้าร่วมมา
สำหรับคนอายุ ๒๘ การแต่งงานถือเรื่องธรรมดา แต่โจรู้สึกตกใจเพราะนอกจากเขาแล้วเพื่อนสนิทสมัยยังเรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนต้น-ปลายยังไม่มีใครแต่งงานเลย (เรื่องที่อายุแต่งงานเฉลี่ยสูงขึ้นก็เป็นเรื่องจริง) 
แต่ดูเหมือนว่าเดี๋ยวนี้หลายคนเริ่มรู้สึกอยากจะแต่งงานและมีชีวิตที่มีมั่นคงมากขึ้น โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าความคิดเพื่อนหลายคนก็เริ่มเปลี่ยนเป็นแบบนี้ 
ดูเหมือนว่าอะไรๆก็เปลี่ยนแปลงไป

Sunday, 11 December 2011

ตลาดแรงงานผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่น

วันนี้โจอ่านบทความ(เก่า)เกี่ยวกับตลาดแรงงานผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง(เคยอ่าน แต่ลืมไปแล้ว)บทความนี้บอกว่าสังคมญี่ปุ่นสูญเสียแรงงานผู้หญิงที่มีความสามารถมากและเรื่องนี้กำลัส่งผลแย่ต่อเศรษฐกิจเพราะว่าจำนวนแรงงานของประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเริ่มลดลง
แต่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน(อัตราส่วนแรงงานของประชากรที่อายุมากกว่า ๑๕ ปี)ของผู้หญิงญี่ปุ่นยังมีอัตราน้อยกว่าประเทศอื่น(อัตราการเข้าร่วมแรงงานของผู้หญิงที่เรียนจบมหาวิทยาบัยมีแค่ ๖๗ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น) อัตราผู้หญิงที่สมัครใจลาออกจากบริษัทคิดเป็น ๗๔ เปอร์เซ็นต์ (๒๖ เปอร์เซ็นต์ถูกไล่ออก )
ผู้หญิงญี่ปุ่นที่มีความสามารถที่ลาออกจากบริษัทหลายคนรู้สึกไม่พอใจกับวัฒนธรรมเก่าของบริษัทเช่น ผู้หญิงได้รับเลื่อนตำแหน่งยาก (หลายคนรู้สึกว่าอยากจะทำงานต่อไปหลังจากแต่งงานและมีลูก แต่ถ้ามีลูกและลาหยุดจะได้เลื่อนตำแหน่งยากขึ้น เพราะหลายบริษัทคิดว่าพนักงานที่ทำงานนานและไม่ลาหยุดมีความสำคัญมาก )
นักเขียนของบทความนี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทของประเทศญี่ปุ่นประหยัดทรัพยากรหลายสิ่งเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมแต่ไม่รักษาแรงงานผู้หญิงที่มีความสามารถไว้ (เขาบอกว่าบริษัทจะต้องเพิ่มโอกาสทำงานที่บ้านให้มากขึ้น  และแนะนำว่าถ้าความคิดบริษัทไม่เปลี่ยนแปลงผู้หญิงที่ไม่พอใจจะเลือกที่จะทำงานบริษัทต่างชาติที่มีสาขาที่ประเทศญี่ปุ่นแทน)
นักวิจัยเศรษฐกิจของบริษัท โกลด์แมน แซคส์ บอกว่าถ้าสังคนมญี่ปุ่นใช้แรงงานที่มีความสามารถจะมีผลดี การเพิ่มแรงงานนี้จะทำให้ขนาดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นราวๆ ๑๕ เปอร์เซ็นต์
โจก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของบทความนี้แต่คิดว่าสำหรับการทำงานที่ใช้ข้อมูลที่มีความสำคัญทำงานที่บ้านอาจจะยากเพราะบริษัทกลัวว่าข้อมูลจะรั่วไหล
หลังจากโจอ่านบทความนี้ โจเปรียบเทียบอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศไทยและรู้สึกตกใจที่รู้ว่ากราฟสำหรับอัตราของประเทศไทยไม่มี ส่วนโค้ง M ”  อยากจะตรวจดูความแตกต่างของความคิดเห็นต่อผู้หญิงที่มีความสามารถระหว่างบริษัทญี่ปุ่นกับประเทศไทย
อ้างอิง
Land of the wasted talent (Dec 3rd 2011 From The Economist)

Sunday, 4 December 2011

งบประมาณของรัฐบาลในประเทศอังกฤษ


อาทิตย์ที่แล้ว สำนักงาน OBR (Office for Budget Responsibility : เป็นหน่วยงานอิสระที่อยู่ภายใต้การคำกับของภาครัฐ)  ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจกับการคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์งบประมาณของรัฐบาลในอนาคต
รายงานนี้บอกว่าอัตราการพัฒนาของเศรษฐกิจประเทศอังกฤษไม่ค่อยดีขึ้นเพราะการลดงบประมาณของรัฐบาลจะดำเนินต่อไป นอกจากนี้แล้วสถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณในยูโรโซนจะทำให้อัตราการเพิบโตของการส่งออกจากประเทศอังกฤษไปกลุ่มประเทศยูโรโซนลดลง (ราวๆ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกของทั้งหมดประเทศอังกฤษเป็นการส่งออกไปยูโรโซน) 
แต่รายงานนี้คิดว่าปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของยูโรโซนจะไม่ลุกลามเป็นวิกฤตทางการเงินโลก(หลายธนาคารอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับเงินคืนจากการลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศแน่นอน)

และประเทศอังกฤษก็อาจจะสามรถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยของเศรษฐกิจได้(แต่บางคนบอกว่าความคิดเห็นแบบนี้เป็นความคิดเห็นมองโลกในแก่ดีเกินไป)
นิตยสาร The Economist เปรียบเทียบนโยบายทางงบประมาณของรัฐบาลประเทศอังกฤษกับประเทศอื่นที่อยู่ในยูโรโซนและบอกว่ากระทรวงการคลังของอังกฤษมีผลงานดีกว่าประเทศอื่น เช่นประเทศอังกฤษลดงบประมาณรัฐบาลงเร็วกว่าประเทศอื่นและป้องกันการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลได้
(ในปีนี้หลายประเทศถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาล มีคนบอกว่าอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตประเทศฝรั่งเศสอาจจะถูกปรับลดลงจาก AAA)
ดูเหมือนว่า OBR  กับรัฐบาลคิดว่าควรจะดำเนินการลดงบประมาณต่อไปและ อังกฤษมีความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจน้อย แต่นิตยสาร The Economist ชี้ให้เห็นว่าประเทศอังกฤษมีความเสี่ยงนี้มากกว่าที่ OBR  กับรัฐบาลคิดและรัฐบาลควรจะเพิ่มการใช้จ่ายทางงบประมาณนิดหน่อย
(จริงๆแล้วรัฐบาลกำลังอยากจะเพิ่มการใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน สนามบิน และรถไฟ เป็นต้น เพราะเมาอเปรียบเทียบการเดินทางคมนาคมของอังกฤษกับประเทศอื่น คุณภาพของการคมนาคมในประเทศอังกฤษไม่ค่อยดี การพัฒนานี้อาจจะทำให้อัตราการพัฒนาของเศรษฐกิจประเทศอังกฤษเพิ่มขึ้น แต่ตอนนี้รัฐบาลคิดว่าการลดงบประมาณลงมีความสำคัญมากกว่า)
ไม่แน่ใจว่าการเพิ่มงบประมาณสำหรับสาธารณูปโคพื้นฐานนี้จะทำให้อังกฤษถูกปรับลดกความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลลงหรือไม่ แต่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจว่าจะลดหรือเพิ่มการใช้จ่าย การตัดสินใจนี้เป็รการตัดสินใจที่ยากมาก

อ้างอิง
Into the storm (Dec 3rd 2011 From The Economist)
The dash for cash (Dec 3rd 2011 From The Economist)
Weapons of mass construction (Dec 3rd 2011 From The Economist)
Impossible, indispensable France (Dec 3rd 2011 From The Economist)
The horsemen approach (Dec 3rd 2011 From The Economist)

Saturday, 3 December 2011

เศรษฐกิจของภาคแอฟริกา


วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจภาคแอฟริกา ตั้งแต่สมัยก่อนหลายบทความบอกว่าเศรษฐกิจของภาคแอฟริกาจะดีขึ้นและการทำธุรกิจในภาคแอฟริกาจะมีความสำคัญมากขึ้น 

แต่จริงๆแล้วเศรษฐกิจของภาคแอฟริกาดีขึ้นน้อยกว่าที่คิดเอาไว้ เพราะว่าการพัฒนาของเศรษฐกิจในประเทศแอฟริกาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแค่เรื่องการเพิ่มจำนวน ประชากรกับเรื่องธุรกิจเกี่ยวกับทรัพยากร(ถ้าราคากับอุปสงค์ของทรัพยากรลดลง อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจก็จะลดลงง่าย) 

แต่นักเขียนของบทความนี้บอกว่า เดี๋ยวนี้อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคแอฟริกามีความมั่นคงมากขึ้น เพราะปริมาณอุปสงค์ของทรับยากรของประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียมีความมั่นคงมากขึ้น

นอกจากนี้แล้วยังมีหลายปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นด้วย เช่น คุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้น (อัตราของโรค HIV ลดลง)  คุณภาพทางการศึกษาดีขึ้น และการเมืองก็มีความมั่นคงมากขึ้น เป็นต้น 
ตอนนี้อัตราการพัฒนาของภาคแอฟริการมีอัตราาวๆเท่ากับประเทศกำลังพัฒนาในภาคเอเซีย(ราวๆ ๖ เปอร์เซ็นต์)  แต่หลายคนคิดว่าในอนาคตอัตราการพัฒนาในแถบเอเซียจะลดลงเพราะว่าจำนวนประชากรของหลาวๆประเทศจะลดลงซึ่งจะมีผลต่อปัญหาเกี่ยวกับคนรุ่นเก่า
บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของภาคแอฟริกาจะดีขึ้น แต่เรื่องนี้ไม่ได้แปลว่า
เศรษฐกิจของภาคแอฟริกาจะมีผลต่อเศรษฐกิจโลกมาก เพราะเศรษฐกิจของภาคแอฟริกายังมีขนาดเล็กและจะต้องใช้เวลานานมากในการที่จะขยายขนาดเศรษฐกิจนี้ 
สำหรับเรื่องเกี่ยวกับขนาดของเศรษฐกิจ โจคิดว่าหลายคนกำลังเข้าใจผิดอยู่
(เดี๋ยวนี้มีคนบอกว่ามีโอกาสในการทำธุรกิจเกี่ยวกับการบริโภคในประเทศแอฟริกา แต่โจไม่คิดแบบนั้นเพราะประชาชนยังไม่มีอำนาจซื้อ 
โจคิดว่าการทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต(ผลิตสินค้าในภาคแอฟริกาและส่งออกไปยังประเทศพัฒนาแล้ว) จะมีโอกาสมากกว่าเพราะที่ภาคแอฟริกามีค่าแรงถูกกว่าภาคอื่น) แต่เรื่องนี้จะกลายเป็นว่าบริษัทจะย้ายไปที่ภาคแอฟริกาและทำให้แรงงานในประเทศพัฒนาแล้วตกงาน คิดว่าแรงงานภาคการผลิตในประเทศพัฒนาแล้วควรจะมีความสามารถที่แรงงานในประเทศกำลังพัฒนายังไม่มีหรือมียากเพื่อปัองกันการตกงาน


อ้างอิง
Africa rising (Dec 3rd 2011 From The Economist)
The shines bright (Dec 3rd 2011 From The Economist)

Saturday, 26 November 2011

ราคาบ้านที่เหมาะสม

วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับราคาบ้านในหลายประเทศ

บทความนี้คำนวณว่าราคาบ้านในแต่ละประเทศเหมาะสมหรือไม่โดยใช่ดัชนีอัตราราคาบ้านต่อรายได้ กับ อัตราราคาบ้านต่อราคาเช่าบ้าน (การเพิ่มกับการลดลงราคาบ้านส่งผลต่อเศรษฐกิจมาก ดังนั้นการคำนวณหาราคาบ้านที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก)
ดัชนีนีเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าราคาบ้านในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ป่น และ เยอรมัน ถูกกว่าราคาที่เหมาะสมและราคาบ้านในประเทศ เบลเยี่ยม แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และ ฮ่องกง แพงกว่าราคาที่เหมาะสม
แต่เรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าราคาบ้านจะมีการเพิ่มหรือลดลงเร็ว เพราะว่าก่อนที่ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง จะเปลี่ยนแปลงนั้นค่อนข้างจะใช้เวลานาน นอจจากนี้เรื่องนี้ก็ไม่แสดงให้เห็นว่าแค่ราคาบ้านเท่านั้นหรือไม่ที่ปรับเปลี่ยนเพราะดชนีนี้คิดจากรายได้กับราคาเช่าบ้านที่เหมาะสม แต่บางที่รายได้กับราคาเช่าบ้านอาจจะไม่ใช่ราคาที่เหมาะสมก็ได้ซึ่งปัจจัยนี้ก็จะส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน 

อีกอย่างหนึ่ง การคำนวณหาราคาที่เหมาะสมมีหลายวิธีและไม่แน่ใจว่าความคิดเห็นที่มาจากวิธีนี้ถูกหรือไม่ (เพราะวิธีนี้ไม่ได้นำอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศหรืออัตราดอกเบี้ยของเงินยืม เป็นต้น มาคิดด้วย)
บางคนคิดว่าวิธีการตรวจนี้อาจทำให้เราเข้าใจผิดเรื่องราคาบ้านที่เหมาะสม ซึ่งบทความนี้ก็ยอมรับความคิดนี้และยังชี้ให้เห็นอีกว่าหลายประเทศที่มีความเสี่ยง(เช่น ประเทศ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และ ออสเตรเลีย เป็นต้น) ควรจะระวังเพราะอัตราเงินกู้ยืมต่อรายไดในประเทศเหล่านี้สูงมากและการลดราคาบ้านก็ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงง่าย
โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าดัชนีของบทความนี้แสดงให้เห็นว่าราคาบ้านในญี่ปุ่นถูกกว่าราคาบ้านที่เหมาะสม ๓๖ เปอร์เซ็นต์ โจคิดว่าสำหรับการคำนวณหาราคาบ้านในญี่ปุ่นโดยวิธีการคำนวณของบทความนี้มียังปัญหาอยู่เพราะว่าสถานการณ์ราคาบ้านของญี่ปุ่นในเมืองกับต่างจังหวัดไม่เหมือนกันเลย 
นอกจากนี้วิธีการคำนวณของบทความนี้คิดว่าดัชนีเฉลียระหว่าง ๓๖ ปีที่แล้ว ถึงปีนี้ดัชนีที่เหมาะสม แต่โจคิดว่า ดัชนีนี้ไม่ได้เป็นดัชนีที่เหมาะสมเพราะญี่ปุ่นเคยมีเหตุการณ์ราคาบ้านเฟ้อ ดังนั้นจะต้องไม่นำข้อมูลนี้มาคำนวณด้วย
(อีกอย่างหนึ่ง ดัชนีที่เหมาะสมที่มาจากข้อมูลเมื่อ ๒๐-๓๐ ปีมราแล้วไม่ได้เป็นคัชนีที่เหมาะสมของตอนนี้ เพราะสถานการณ์ทางจำนวนประชากรของสมัยก่อนไม่เหมือนกับตอนนี้) สำหรับราคาบ้านในโตเกียวโจคิดว่าราคาบ้านยังแพงกว่าราคาที่เหมาะสมอยู่
 
อ้างอิง
House of horrors, part 2 (Nov 26th 2011 From The Economist)

Friday, 25 November 2011

อะเดล (Adele)


เดี๋ยวนี้โจฟังเพลงของ อะเดล บ่อย

ตอนแรกโจคิดว่าเขาอายุมากกว่าโจเพราะวิธีร้องเพลงของเขาฟังดูเป็นผู้ใหญ่ เสียงของเขาก็เป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้เสียงของเขาใสทุ้มค่ำและสร้างความปรัทับใจให้แก่ผู้ฟังมาก  เพลง Someone Like You มีท่วงทำนองไพเราะมากเป็นพิเศษ(*)
ตอนนี้อัลบั้มของเขาขายดีมากทั่วโลก (อัลบั้มใหม่ที่วางขายในปีนี้ขายได้มากกว่า ๑๒ ล้านแผ่น ) และเขามีชื่อเสียงมาก แต่ดูเหมือนว่าเขายังไม่ค่อยมีชื่อเสียงในญี่ปุ่น นอกจาก อะเดล แล้ว โจรู้สึกว่าหลายคนไม่สนใจนักร้องที่เป็นที่นิยมในยุโรปกับสหรัฐอเมริกา (สนใจแค่นักร้องเกาหลีเท่านั้น (?)
สมัยก่อนโจก็ฟังเพลงของญี่ปุ่นบ่อย แต่เดี๋ยวนี้โจไม่ฟังเพลงญี่ปุ่นและไม่ชอบกระแสตลาดเพลงของญี่ปุ่นเพราะ ดูเหมือนว่านักร้องกับผู้ฟังในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มุ่งเน้นแค่รูปลักษณ์ของนักร้องกับกระแสความนิยมตามสื่อเท่านั้น(นักร้องที่เป็นที่นิยมและขายดีในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็น ไอดอล กับดาราที่ไม่ใช่เป็นนักร้องทีอาชีพ)
และความสนใจเกี่ยวกับคุณภาพของการร้อง เสียง ทำนองเพลง และเนื้อเพลงลดลง (จริงๆแล้วมีนักร้องที่ม่งเน่นสิ่งเหล่านี้แต่ดูเหมือนว่าเพลงของนักร้องแบบนี้ขายไม่ค่อยดี) ไม่รู้ว่ากระแสใหม่นี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไร แต่โจชอบกระแสเก่ามากกว่ากระแสนี้

(*) โจรู้สึกว่าการอธิบายความประทับใจเกี่ยวกับงานศิลปะ (เช่น เพลง หนัง และ การถ่ายรูป เป็นต้น ยากมาก แค่พูด ดีหรือไม่ดีไม่ยากเลยแต่อธิบายว่าอะไรดีและดีอย่างไรยากมาก นอกจากปัญหาเกี่ยวกับภาษาแล้ว มีปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดความประทับใจเป็นภาษาไทยด้วย