วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของบริษัทในประเทศอังกฤษกับประเทศอินเดียที่น่าสนใจ
บทความบอกว่าตั้งแต่ราวๆ ๑๐ ปีที่แล้ว จำนวนการควบบริษัทกับการซื้อบริษัทระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศกำลังพัฒนานั่นเพิ่มขึ้น(ส่วนใหญ่เป็นบริษัทของประเทศอินเดีย)
บทความนี้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มบริษัท ทาทา และบอกว่าทาทาซื้อบริษัท Corus (บริษัทผลิดเหล็กกล้า)ในปี ๒๕๕๐ และควบบริษัท แลนด์โรเวอร์ กับ จากัวร์ จากบริษัท ฟอร์ดมอเตอร์ในปี ๒๕๕๑ ตอนนี้ในอุตสาหกรรมของประเทศอังกฤษ ทาทามีจำนวนพนักงานทางการผลิตมากที่สุด
บทความนี้อธิบายว่าทำไม ทาทา ถึงซื้อบริษัทของอังกฤษ(บางคนอาจจะรู้สึกแปลกใจเพราะเดี๋ยวนี้ เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นไม่ดี)และทำไมประเทศอังกฤษถึงยอมรับการควบบริษัทกับบริษัทต่างประเทศ (บางที่พนักงานใน บริษัทกับประชาชนอาจะไม่ยอมรับการควบบริษัทกับต่างประเทศเพราะว่าการบริหารจัดการงานกับวัฒนธรรมของบริษัทไม่เหมือนกันและกลัวว่าจะเกิดปัญหาขึ้น นอกจากนี้บางคนกลัวว่าบริษัทต่างประเทศจะไม่คิดว่าพนักงานในประเทศนี้สำคัญและทำให้เขาถูกไล่ออกง่าย)
สำหรับ ทาทา การควบบริษัททำให้มีตราสินค้าและทำให้สมารถทำธุรกิจในต่างประเทศได้ง่าย (การสร้างตราสินค้านั้นจะใช้เวลานาน)
สำหรับประเทศอังกฤษการควบบริษัทจะทำให้มีความสัมพันธ์ทางธุรพกิจกับประเทศในแถบเอเชียและทำให้มีโอกาสที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น นอกจากนี้ผู้จัดงานของบริษัทอังกฤษคิดว่าการบริหารจัดการงานรของทาทาคล้ายกับประเทศอังกฤษ (นอกจากนี้ สำนักงานใหญ่ของบางบริษัทในกลุ่มทาทาตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษและเรื่องนี้ทำให้ผู้จัดงานของบริษัทอังกฤษมีความเชื่อมั่นต่อทาทา)
หลังจากโจอ่านบทความนี้โจรู้สึกประทับใจกับการบริหารของทาทาตรงที่เศรษฐกิจของประเทศอินเดียนั้นดีอยู่แล้ว และไม่จำเป็นต้องไปทำธุรกิจที่ต่างประเทศก็ได้ แต่ทาทายังอยากที่จะไปทำธึรกิจที่ต่างประเทศต่อ (บริษัทของประเทศพัฒนาแล้วอยากทำธุรกิจที่ต่างประเทศเพราะเศรษฐกิจของเขาไม่ค่อยดี)
อีก อย่าง โจรู้สึกแปลกใจว่าทำไมทาทาซื้อแค่บริษัทของอังกฤษ ประเทศอื่นเช่นประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน ประเทศญี่ปุ่น ก็มีบริษัทที่มีชื่อเสียง แต่ไม่รู้ว่าทำไมทาทาไมถึงไม่อยากจะชื่อบริษัทของประเทศเหล่านี้
<อ้างอิง>
The new special relationship (Sep 10th 2011 From The Economist)
Tata for now (Sep 10th 2011 From The Economist)
No comments:
Post a Comment