Thursday, 23 February 2012

นโยบายการเพิ่มอายุเกษียณ


วันนี้โจอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัยของโจและคิดหลายอย่าง
นักเขียนบอกว่าคนที่ไม่ยอมรับนโยบายการเพิ่มอายุเกษียณกำลังเข้าใจผิดอยู่ 
บางคนคิดว่านโยบายนี้ทำให้โอกาสในการทำงานของคนรุ่นใหม่ลดลง แต่นักเขียนบอกว่ากลุ่มที่คิดแบบนี้คิดว่าจำนวนการทำงานในสังคมมีจำกัด แต่ความคิดนี้ไม่ถูก(ถ้าจำนวนการทำงานในสังคมมีจำนวนจำกัดจริงๆการเพิ่มของจำนวนแรงงานผู้หญิงจะทำให้จำนวนแรงงานผู้ชายลดลง แต่ในความเป็นจริงแล้วการเพิ่มของจำนวนแรงงานผู้หญิงไม่ทำให้จำนวนแรงงานผู้ชายลดลง)

ประเทศที่อยู่ในกลุ่ม OECD ส่วนใหญ่มีอัตราการเข้าร่วมตลาดแรงงานของคนรุ่นเก่าสูง และอัตราการเข้าร่วมตลาดแรงงานของคนรุ่นใหม่ก็สูง นอกจากนี้แล้วในสังคมผู้สูงอายุ งบประมาณของรัฐบาลที่ช่วยเหลือคนรุ่นเก่าจะลดลง คนรุ่นเก่าก็เลยจะต้องทำงานนานกว่าเมื่อก่อน


โจก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนักเขียนในเรื่องจำนวนการทำงานในสังคมแต่คิดว่าเขาไม่ได้บอกว่าผลเสีย(ลำบาก)ของนโยบายการเพิ่มอายุเกษียณมีอะไรบ้าง เช่น ถ้าเราอายุมากขึ้นจะเรียนสิ่งใหม่ได้ยากขึ้น จะเคลื่อนย้ายตัวก็ยากขึ้น สำหรับบริษัทเรื่องนี้มีความหมายว่าผลิตภาพของแรงงานจะลดลง ไม่แน่ใจว่าบริษัทจะอยากจ้างคนรุ่นเก่าต่อไปหรือไม่ (ถ้าบริษัทจะต้องจ้างคนรุ่นเก่าต่อไป บริษัทอาจจะลดเงินเดือนลง ซึ่งไม่รู้ว่าคนรุ่นเก่าจะยอมรับเรื่องนี้หรือไม่ )
นอกจากนี้แล้วบางคนกลัวว่าถ้ามีแรงงานคนรุ่นเก่ามาก การตัดสินใจทางธุรกิจก็จะช้าขึ้น ถ้านโยบายการเพิ่มอายุเกษียณเป็นกฎหมาย ระบบบริษัทกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
 โจคิดว่าในสังคมผู้สูงอายุคนรุ่นเก่าจะสามารถช่วยเหลือสังคมได้มากกว่าเมื่อก่อน แต่เรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าคนรุ่นเก่าจะต้องทำงานแค่ในบริษัท คนรุ่งเก่าสมารถช่วยเหลือสังคมทางอื่นได้เช่นดูแลลูกของคนรุ่นใหม่ 

สำหรับโจแล้ว ถ้าโจมีโอกาสที่จะได้วิจัยเศรษฐกิจที่โจสนใจจริงๆ โจก็อยากจะทำงานต่อไปจนตาย(เมื่อโจอายุมากขึ้นและมีความสามารถในการวิจัยลดลง โจจะยอมรับการปรับลดเงินเดือน แต่หวังว่าโจจะมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจมากๆ)
แต่ถ้าโจไม่มีโอกาสที่จะได้ทำงานต่อและมีทรัพย์สินเพียงพอ โจก็อยากจะเกษียณและจะวิจัยงานต่อไปที่บ้าน นอกจากนี้แล้ว อยากจะเล่นเปียโนทุกวัน จะเรียนภาษาใหม่ๆ จะออกกำลังกาย และจะอ่านวรรณคดีมากๆ   (คิดว่าโจจะยุ่งจนตาย555)

อ้างอิง
Keep on trucking (From The Economist Feb 11th 2012)

Saturday, 18 February 2012

ความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติของประเทศในแถบแอฟริกา


นิตยสาร The Economist ของอาทิตย์ที่แล้วมีบทความเกี่ยวกับธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติในประเทศแถบแอฟริกา บทความนี้บอกว่าเดี๋ยวนี้ประเทศแถบแอฟริกามีความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติของตนเองมากกว่าเมื่อก่อน (ปริมาณอุปสงค์ของทรัพยากรธรรมชาติในประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิ่มขึ้นและบริษัทเหมืองแร่บางบริษัทก็เลยอยากจะทำธุรกิจในประเทศแถบแอฟริกา)
สมัยก่อนก็มีสถานการณ์แบบนี้ แต่สถานการณ์ของตอนนี้มีความแตกต่างหลายอย่าง เช่น สมัยก่อนเรื่องเกี่ยวกับความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับน้ำมัน แต่สมัยนี้มีเรื่องแบบนี้สำหรับทรัพยากรธรรมชาติอื่นหลายชนิดด้วย 
สมัยก่อนประเทศที่ส่งออกทรัพยากรธรรมชาติมีความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติเพราะประชาชนอยากปกป้องทรัพยากรที่อยู่ในประเทศ สมัยนี้ประเทศที่ส่งออกทรัพยากรมีความชาตินิยมในทรัพยากรธรรมชาติเพราะประเทศเหล่านี้อยากจะได้กำไรมากๆจากบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจเหมืองแร่ในประเทศเหล่านี้
แต่นักเขียนชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของบางประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยถนัดเจรจากับบริษัทเหมืองแร่ (รัฐบาลทำให้ราคาสัมปทานเหมืองแร่แพงไป เปลี่ยนแปลงระบบบ่อยๆและทำให้บริษัทไม่ไว้ใจรัฐบาล) นักเขียนบอกว่าราคาสัมปทานเหมืองแร่เหมาะสม ถูกและกำไรของบริษัทยุติธรรมมากกว่าที่รัฐบาลคิดเอาไว้เพราะการทำเหมืองแร่ใช้เวลานานและใช้เงินมาก
 (สำหรับบริษัทการทำธุรกิจในประเทศแถบแอฟริกามีความเสี่ยงมาก ดังนั้นถ้าได้กำไรไม่มาก จะไม่มีบริษัทที่อยากทำธุรกิจในประเทศแถบแอฟริกา สำหรับประเทศในแถบแอฟริกาเรื่องนี้เป็นเรื่องไม่ดี เพราะตอนนี้ประเทศแถบแอฟริกายังไม่มีเงินที่จะทำเหมืองแร่เอง จึงต้องยอมรับบริษัทต่างชาติ) ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติในประเทศแถบแอฟริกาก็เลยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเจรจาของรัฐบาล
โจไม่แน่ใจว่าถ้ารัฐบาลกับบริษัทมีโอกาสเจรจาหลายครั้ง ราคาสัมปทานเหมืองแร่จะเปลี่ยนแปลงเป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่(ถ้าไม่มีโอกาสหลายครั้ง นอกจากการคำนวณราคาเองแล้ว รัฐบาลควรจะให้สถาบันอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวพันกับทั้งบริษัทต่างชาติและรัฐบาลคำนวณราคาที่เหมาะสมให้ด้วย)

อ้างอิง
More for my people (From The Economist Feb 11th 2011)
Wish you were mine (From The Economist Feb 11th 2011)

Saturday, 11 February 2012

เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน


เดี๋ยวนี้ดรรชนีและสถิติหลายตัวแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วกำลังดีขึ้น ตั้งแต่ ๓-๕เดือนที่แล้วดรรชนีหุ้นปรับตัวสูงขึ้น   
อัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกาลดลงอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรของประเทศอิตาลีกับสเปนก็กำลังลดลง แต่บ้างคนคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจะแย่ลงอีกครั้งเหมือนกับปีที่แล้ว (ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วดีขึ้นต่อเนือน ราวๆ ๖ เดือน แต่หลังจากนั้นเศรษฐกิจแย่ลง )

อย่างไรก็ตามสถานการณ์บางอยางไม่เหมือนกันกับปีที่แล้ว เช่นปีที่แล้วมีการเดินขบวนประท้วงในประเทศแถบแอฟริกาเหนือกับตะวันออกกลางทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น(นอกจากนี้แล้วมีคนบอกว่านโยบายการเงินของธนาคารกลางทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นด้วย) การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นก็ทำให้เศรษฐกิจแย่ลง 
แต่ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงเหมือนกับปีที่แล้ว เช่นปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาลในแถบยูโรโซน (ดูเหมือนว่าสถานการณ์นี้ไม่ดีขึ้นเลย หลายคนกลัวว่าปัญหานี้จะทำให้เกิดวิกฤตการเงินในยูโรป)
นอกจากนี้แล้ว ตอนนี้เศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาชะลอการเติบโตลงและหลายคนยังกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศจีน
โจรู้สึกตกใจที่รู้เรื่องนี้เพราะเดี๋ยวนี้โจไม่ค่อยตามเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วในระยะสั้นและไม่ค่อยรู้สึกว่าเศรษฐกิจกำลังดีขึ้น โจหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นแต่ไม่ได้คิดว่าความเสี่ยงของปัญหาในกลุ่มยูโรโซนจะลดลงในระยะสั้น เพราะการแก้ไขปัญหานี้จะใช้เวลามาก)

อ้างอิง
Not quite party time (From The Economist Feb 11th 2011)
A game of two halves (From The Economist Feb 11th 2011)

Sunday, 5 February 2012

นักวิจัยเศรษฐกิจในรัฐบาล

เมื่อวานนี้โจไปทานอาหารกับเจ้านายคนเก่าของรุ่นพี่
ก่อนโจไปทานอาหารกับเขาโจไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับเขา แต่เมื่อโจคุยกับเขาแล้วโจรู้สึกประทับใจกับความสามารถของเขามาก โจคิดว่าความสามารถในการวิจัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไม่เหมือนกับความสามารถในการวิจัยเศรษฐกิจจริง
 (นักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานที่มหาวิทยาลัยมีความสามารถในการวิจัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มากแต่บางคนไม่ค่อยสนใจเศรษฐกิจจริง นักวิจัยเศรษฐกิจที่ทำงานที่รัฐบาลหรือบริษัทมีความสามารถใน การวิจัยเศรษฐกิจจริงแต่ไม่ค่อยมีโอกาสวิจัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์)
แต่ดูเหมือนว่าเขามีทั้ง ๒ อย่าง นอกจากนี้แล้วโจรู้สึกตกใจมากที่รู้ว่าการวิจัย ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจจริงเป็นการทำงานพิเศษในเวลาว่าง(งานหลักของเขาคือการ กำหนดรายละเอียดตรวจสอบแก้ไขนโยบาย) นอกจากเขาแล้วโจมีโอกาสเจอกับคนแบบนี้อีกเมื่อโจไปทำงานที่กรุงเทพฯ(เขามาจากรัฐบาลญี่ปุนเพื่อช่วยรัฐบาลประเทศไทย) คิดว่าทั้ง ๒ คน ขยันศึกษาหลายสิ่งมากๆในเวลาว่างส่วนตัว
โจก็อยากจะเป็นคนแบบนี้ด้วย แต่โจลองเปรียบเทียบตัวเองกับพวกเขาและรู้สึกแย่มาก (พวกเขามีประสบการณ์มากกว่าโจ ๒๐ ปี แต่ก็โจไม่ได้คิดว่าถ้าโจจะทำงานและศึกษางานเหมือนตอนนี้ไปอีก ๒๐ ปี โจจะมีความสามารถเหมือนพวกเขา)  
โจคิดว่าควรจะต้องเปลี่ยนแปลงชีวตตอนนี้อยางจริงจัง

Saturday, 4 February 2012

คนรักร่วมเพศในประเทศอิสลาม


วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อคนรักร่วมเพศในประเทศอิสลาม ประเทศอิสลามส่วนใหญ่ห้ามการรักร่วมเพศ บางประเทศจับคนรักร่วมเพศและลงโทษประหารชีวิต (แต่หลายประเทศมีที่ชุมนุมชนย่างไม่เปิดเผยกลุ่มของคนรักร่วมเพศ)
ความคิดเห็นต่อคนรักร่วมเพศแบบนี้มาจากศาสนาอิสลาม (บางคนเชื่อว่า ในเรื่อง  โซดอม และโกโมราห์เมือง โซดอมถูกพระเจ้าทำลายเพราะมีคนรักร่วมเพศมาก) 
นักเขียนบอกว่าสถานการณ์ทางคนรักร่วมเพศกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงอยู่  แต่ยังไม่เพียงพ่อเลยและ มีปัญหามากๆ สมัยก่อนคนรักร่วมเพศในประเทศอิสลามไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่สมัยนี้อินเทอร์เน็ตให้โอกาสแสดงความคิดเห็นและเจอกับคนรักร่วมเพศคนอื่น 
นอกจากนี้แล้ว เดี๋ยวนี้กลุ่มที่ยอมรับคนรักร่วมเพศได้วิจัยศาสนาอิสลามและบอกว่าความคิดเห็นที่มาจากเรื่องโซดอม และ โกโมราห์ไม่ถูก (กลุ่มนี้บอกว่าศาสนาอิสลามไม่ได้ห้ามการรักร่วมเพศ) กลุ่มที่ไม่ยอมรับคนรักร่วมเพศยังไม่ยอมรับความคิดเห็นนี้ แต่เริ่มรู้สึกว่าอยากจะป้องกันการรักร่วมเพศโดยไม่ใช้ความรุนแรงและไม่ทำให้พวกเขากลัว
โจไม่แน่ใจว่าสังคมญี่ปุ่นยอมรับคนรักร่วมเพศมากกว่าสังคมอื่นหรือไม่ แต่คิดว่าคนญี่ปุ่นไม่มีความเกลียดชังต่อคนรักร่วมเพศด้วยสาเหตุที่มาจากศาสนา เพราะคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ค่อยนับถือ(หรือไม่สนใจ)ศาสนา เหมือนคนต่างชาติ (โจได้ยินว่าศาสนาพุทธไม่ห้ามการรักร่วมเพศ  แต่คิดว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยสนใจความคิดเห็นที่มาจากศาสนา)
บางทีโจคิดว่าเรื่องที่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยนับถือศาสนาเป็นการป้องกันปัญหาสังคมที่มีต้นเหตุมาจากศาสนาซึ่งประเทศอื่นกำลังเผชิญอยู่

อ้างอิง
Straight but narrow (From The Economist Feb 4th 2011)