Saturday, 29 December 2018

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย

อาทิตย์ที่แล้วโจไปทำงาน (และเที่ยวด้วย) ที่กรุงเทพฯมา ครั้งนี้โจไปเจอนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจในระยะสั้นกับการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (เช่นปฏิรูประบบภาษี/ระบบประกันสังคม/ระบบการศึกษา เป็นต้น) มี ๒ คนที่ให้ความคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
https://maxpeoplehr.com/what-does-human-resources-really-do/
คนแรก (พนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่ช่วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศกำลังพัฒนา) ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของประเทศไทยเข้าใจความสำคัญของการปฏิรูปทางการศึกษา แต่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในลำดับแรกๆ รัฐบาลยังคงโฟกัสอยู่กับการพัฒนาสาธารณูปโภค เพราะว่าการพัฒนาสาธารณูปโภคนั้นใช้เวลาสั้นและเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจนกว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ผู้ให้ความคิดเห็นกล่าวว่า เขารู้สึกกังวลว่าแม้ว่าจะพัฒนาสาธารณูปโภคมากแค่ไหน แต่หากทรัพยากรมนุษย์ยังคงไม่พัฒนา (เช่น วิศวกร IT/Roboticsแพทย์ เป็นต้น) อาจจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้
คนที่ ๒ ( เป็นคนญี่ปุ่นที่ทำงานเป็นผู้จัดการของบริษัทจัดหางานที่อาศัยอยู่ที่ไทยมามากกว่า ๒๕ ปี) มีมุมมองที่แตกต่างจากคนแรก  เขาชี้ให้เห็นว่าแม้ว่ารัฐบาลจะยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายทางการศึกษาในเร็วๆนี้ แต่ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยจะค่อยๆพัฒนาต่อไป เพราะว่าเมื่อประมาณ ๒๕ ปีที่แล้ว เขาได้เริ่มทำงานที่ประเทศไทย ณ ขณะนั้น จำนวนวิศวกร นักบัญชี ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษหรือญี่ปุ่นยังไม่เป็นที่เพียงพอ ดันนั้นการหาพนักงานที่เหมาะสมกับบริษัทญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ในขณะเดียวกันจำนวนพนักงานที่มีความสามารถก็ค่อยๆเพิ่มขึ้น เขาจึงคิดว่าจำนวนวิศวกร IT/Robotics อาจจะค่อยๆเพิ่มขึ้นและปัญหาการขาดแคลนแรงงานจะได้รับการแก้ไข  นอกจากนี้เขากล่าวต่ออีกว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก
ใน ๒๕ ปีที่ผ่านมา แต่ในทางตรงกันข้ามความสามารถของคนญี่ปุ่นที่มาทำธุรกิจที่ไทยไม่ค่อยพัฒนา ยังมีคนน้อยที่สามารถทำงานโดยใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย นอกจากนี้คนญี่ปุ่นที่มาจากสำนักงานใหญ่ของญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะทำงานโดยใช้ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น คนญี่ปุ่นที่ถูกบริษัทส่งมาส่วนใหญ่อยู่ที่ไทยเพียงชั่วคราวเท่านั้นและไม่พยายามเข้าใจสังคมไทยให้ลึก  (แต่มีคนญี่ปุ่นบางคนคิดว่าตัวเองอยู่สูงกว่าคนไทย) โจรู้สึกแย่มากที่ฟังเรื่องนี้ นอกจากในประเทศไทยแล้ว โจรู้สึกว่ามีบริษัทญี่ปุ่น(โดยเฉพาะบริษัทใหญ่)ทำธุรกิจแบบนี้ในประเทศอื่นด้วย ถ้าอยากจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนต่างชาติที่ต่างประเทศ โจคิดว่าบริษัทญี่ปุ่นต้องเรียนรู้ว่า When in Rome, do as the Romans. (เมื่ออยู่ที่โรมก็ทำดังที่ชาวโรมทำกัน)
https://twitter.com/nextstepenglish/status/881340974882050048



Saturday, 8 December 2018

ไปเที่ยวอเมริกา


อาทิตย์ที่แล้ว โจไปเที่ยวอเมริกามา ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ ๒๕ ปีที่ไปอเมริกา (เคยไปเที่ยวกับครอบครัวในสมัยเด็ก แต่จำไม่ค่อยได้) ตอนแรกโจไปวอชิงตัน ดี.ซี.เพื่อเยี่ยมคุณป้าที่อาศัยอยู่ที่นั้นมากกว่า ๕๐ ปี โจถึงอาเมริกาวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน (หนึ่งวันหลังจากวันขอบคุณพระเจ้า) ทำให้ราคาไก่งวงลดลงมาก คุณป้าจึงซื้อไก่งวงมาทำอาหารให้โจกิน
ตั้งแต่วันเสาร์ถึงวันจันทร์โจไปพิพิธภัณฑ์หลายที่และเดินเล่นบริเวณที่มีอนุสาวรีย์วอชิงตัน โจสังเกตเห็นว่าวอชิงตัน ดี.ซี.ไม่มีตึกสูงกว่าอนุสาวรีย์วอชิงตัน (169 เมตร) และบรรยากาศสงบเงียบดี นอกจากนี้แล้วโจรู้สึกประทับใจที่รู้ว่าพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เข้าฟรีด้วย โจไปเที่ยวหลายที่เช่น หอศิลป์แห่งชาติ(National Gallery of Art) พิพิธภัณฑ์ยานบินและอวกาศแห่งชาติ (National Air and Space Museum) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ(National Archives) อนุสาวรีย์ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง (Martin Luther King’s memorial) เป็นต้น การแสดงของพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ก็น่าสนใจ นอกจากนี้แล้วเพื่อนคนอเมริกาเชิญโจกับคุณป้าไปที่บ้านของเค้าและเราทานอาหารเย็นด้วยกัน ไม่รู้ว่าบ้านที่วอชิงตัน ดี.ซี.โดยทั่วไปใหญ่แค่ไหน แต่รู้สึกว่าบ้านของเพื่อนดูเหมือนรีสอร์ต ถ้าอาศัยอยู่ที่วอชิงตัน ดี.ซี.จำเป็นเพราะว่าระบบขนส่งสาธารณะไม่ค่อยพัฒนา แต่บ้านใหญ่ มีธรรมชาติและสงบเงียบด้วย  


หลังจากนั้นโจไปเที่ยวนิวยอร์กต่อไปคนเดียวเพื่อตามรอยการ์ตูน Banana Fish ตั้งแต่มากกว่า ๒๐ ปีที่แล้ว โจเป็นแฟนของการ์ตูนนี้และอยากจะไปตามรอย โจไปเซ็นทรัลปาร์ค (Central Park สวนสาธารณะ) หอสมุดประชาชนนิวยอร์ก (New York Public Library) และ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา(American Museum of Natural History) เป็นต้น รู้สึกดีใจที่ได้รู้ว่าไม่ว่าที่ไหนก็ยังเหมือนกับในการ์ตูนเรื่องนี้
หลังจากตามรอยเสร็จ โจไปทานอาหารกับคนรู้จักที่ทำงานที่นี่และหลังจากนันไปเที่ยวหลายที่เช่น อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ อเมริกา ตึกเอ็มไพร์สเตต ร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ เป็นต้น สถาปัตยกรรมของตึกเก่าๆก็สวยมาก ในวันสุดท้าย โจไปดูละครบรอดเวย์ “โฟรเซน (ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ)” เพราะว่าโจเคยดูหนังและรู้เนื้อเรื่องกับเพลงแล้ว แม้ว่าจะภาษาอังกฤษฟังไม่ทัน โจก็สามารถเข้าใจส่วนใหญ่ได้ การแสดงกับเพลงยอดเยี่ยมมาก แต่รู้สึกแปลกใจนิดหน่อยเกี่ยวกับการคัดเลือกนักแสดง ไม่แน่ใจว่าจังใจเลือกอย่างนี้หรือไม่ เพราะนักแสดงที่แสดง Elsa เป็นคนผิวขาวและนักแสดงที่ดสดงบท Anna เป็นคนผิวดำ(ในช่วนสมัยเด็ก นักแสดงทั้ง ๒ คน เป็นผิวขาว โจจึงรู้สึกแปลกนิดหน่อย)
ตอนนี้ผ่านไป ๕ วันแล้วหลังจากกลับมาญี่ปุ่น แต่โจยังมีอาการเจ็ตแล็ก (เมาเวลา) และรู้สึกไม่ค่อยสบาย คิดว่าคราวหน้าจะต้องเตรียมตัวให้ดีๆเพื่อป้องกันเจ็ตแล็ก

Monday, 19 November 2018

อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยกำลังจะสูงขึ้น?


ประมาณ ๘ เดือนที่แล้ว โจเขียนไดอารี่เกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศไทยและในไดอารี่นั้นโจเขียนว่าตัวเองรู้สึกสนใจที่ได้รู้ว่ามีกรรมการคนหนึ่งใน ๗ คน เสนอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ย  ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่เปลี่ยนนโยบายอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้ แต่เพราะว่าราคาน้ำมันค่อยๆปรับสูงขึ้นและเศรษฐกิจไทยก็ค่อยๆดีขึ้น จำนวนกรรมการที่สนับสนุนให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยก็ค่อยๆเพิ่มขึ้น ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเดือนกันยายนที่ผ่านมามีกรรมการ ๒ คนใน ๗ คน สนับสนุนให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยและในการประชุมของเดือนนี้มี ๓ คน ใน ๗ คนสนับสนุนให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ย  นักวิเคราะห์เศรษฐกิจกับนักลงทุนบางคนมีความคิดเห็นว่าธปท.จะปรับเพิ่มนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป (วันที่ ๑๙ ธันวาคม) 
แต่โจยังรู้สึกสงสัยว่าธปท. มีความจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มนโยบายอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ มี 3 เหตุผลหลักที่ทำโจคิดอย่างนี้ 1) ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง (๒ เดือนที่แล้ว ๑ บาร์เรล (barrel ) เท่ากับ ราวๆ ๗๐ ดอลล่าร์ แต่ตอนนี้เหลือราวๆ ๕๕ ดอลล่าร์) 2)อัตราเงินเฟ้อ (โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมอาหารสดกับพลังงาน) ยังไม่สูง เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธปท.คือ 2.5±1.5 แต่อัตราเงินเฟ้อตอนนี้อยู่ที่ราวๆ 1.3 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ยังต่ำกว่า 1 3) ผลสถิติเกี่ยวกับเศรษฐกิจของเดือนกันยายนที่รัฐบาลเปิดเผยเมื่อเดือนที่แล้วไม่ค่อยดีและยังมีปัจจัยอื่นที่มีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยแย่ลง (เช่น สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯและการเลือกตั้ง เป็นต้น)


https://markets.businessinsider.com/commodities/oil-price?type=wti

โจรู้สึกสนใจว่าธปท.จะปรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าจริงๆหรือไม่


<Reference>
Will Thailand’s low inflation continue under economic expansion? 

Sunday, 11 November 2018

อ่อนไหวต่อเสียงในออฟฟิศมากขึ้น ?


ไม่รู้ว่าความเครียดจากการทำงานทำให้โจอ่อนไหวต่อเสียงมากขึ้นหรือไม่ แต่เดี๋ยวนี้โจรู้สึกว่าเสียงคีย์บอร์ดกับเมาส์ของเพื่อนร่วมงานส่งเสียงดังมาก ปกติที่ออฟฟิศโจพยายามทำงานโดยไม่ให้เกิดเสียงเท่าที่ทำได้ เช่น โจกดคีย์บอร์ดกับเมาส์เบาๆและขยับของเบาๆด้วย  นอกจากนี้แล้ว เมื่อคุยกับเพื่อนร่วมงานมากกว่า 3 นาที โจจะพาเพื่อนร่วมงานไปที่ห้องประชุมหรือโรงอาหารของบริษัท โจทำงานแบบนี้เพราะว่าออฟฟิศของโจเงียบกว่าออฟฟิศของบริษัททั่วไป(บรรยากาศคล้ายกันกับห้องสมุด)และเราสามารถได้ยินเสียงของคนอื่นได้อย่างชัดเจน โจรู้สึกว่าถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังจะทำให้เราไม่มีสมาธิและประสิทธิภาพในงานทำงานก็ลดลงมาก แต่เพื่อนร่วมงานที่พึ้งเข้าร่วมบริษัทกับคนที่ย้ายที่นั่งมาทำงานแถวๆโจทำงานโดยเกิดเสียงดังมาก (รู้สึกกลัวว่าคีย์บอร์ดกำลังจะแตก)
https://pt.slideshare.net/mollyyylovesyou/molly1030/5
ตอนแรกโจทำงานโดยใส่ที่อุดหูและบางทีเมื่อเพื่อนร่วมงานคุยกันนานๆแถวๆโจ โจบอกให้พวกเขาไปที่ห้องประชุม แต่พวกเขายังคงเสียงดังต่อไปและโจค่อยๆรู้สึกเบื่อที่จะต้องอดทนและเบื่อที่จะบอกเรื่องที่บอกไปหลายครั้งแล้วให้เพื่อนร่วมงานฟัง ความเครียดที่มาจากเสียงทำให้โจอ่อนไหวต่อเสียงมากขึ้นไปอีกและรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในวงจรอุบาทว์ ดังนั้นโจจึงตัดสินใจว่าจะทำงานที่อื่นเช่น ร้านกาแฟ บ้านหรือห้องสมุดของมหาวิทยาลัย (แวะออฟฟิศเพื่อเช็คเมล์ เข้าร่วมการประชุมและให้เจ้านายเช็ครายงานเท่านั้น) บางทีร้านกาแฟเสียงดังมากกว่าออฟฟิศแต่เข้าใจว่าตัวเองอดทนได้เพราะว่าตัวเองรู้อยู่แล้วว่าร้านกาแฟเป็นสถานที่แบบนั้น (ถ้าเสียงดังมากไป เมื่อไรก็ย้ายที่นั่งหรือร้านได้ด้วยโจเข้าใจว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่นบางคนก็รู้สึกว่ามีเสียงดัง แต่พวกเขายังไม่กล้าบอกเรื่องนี้ให้คนที่ทำเสียงดังและทำงานโดยอดทนต่อไป (จริงๆแล้วบริษัทของโจไม่มีเวลาจำกัดและไม่ต้องทำงานที่ออฟฟิศทุกวันตั้งแต่ตอนเช้าถึงตอนเย็น แต่หลายคนลังเลที่จะทำงานนอกบริษัท) โจรู้สึกสงสารกับคนที่อดทนกับสถานการณ์ลำบากโดยไม่แก้ไขปัญหาหรือเปลี่ยนสถานการณ์เอง คิดว่าวิธีที่โจใช้ก็ไม่ใช่วิธีดีสุดเพราะว่าไม่ได้แก้ไขปัญหาเลย แต่ยังรู้สึกว่า逃げるは恥だが役に立つ/Nigeru ha haji daga yakuni tatsu (ชื่อของชีรีย์ญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงมาก มีความหมายว่า การหนีเป็นเรื่องน่าอาย แต่ก็มีประโยชน์
https://www.smartbrief.com/original/2017/05/your-office-making-your-employees-less-productive
ดูเหมือนว่านอกจากออฟฟิศของโจแล้ว หลายบริษัทก็มีปัญหาแบบนี้ด้วยเช่นกัน แต่ในสังคมญี่ปุ่นยังไม่มีใครที่มีความกล้ามากพอที่จะออกมาต่อต้านกระแสสังคม เพื่อที่จะทำให้ออฟฟิศสงบเงียบขึ้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน อาจจะเพราะว่าหลายคนยังคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กๆและไม่ค่อยสำคัญ แต่โจคิดว่า ちりも積もれば山となる(แม้จะเป็นแค่สิ่งเล็กๆ แต่ถ้าทับถมกันมากก็จะกลายเป็นภูเขาได้) แม้ว่าเรารู้สึกเกรงใจแค่ไหน เราควรจะบอกให้คนเสียงดังรู้ว่าเขาเสียงดังแค่ไหนและรบกวนคนอื่นแค่ไหน ตอนนี้มีคีย์บอร์ดกับเมาส์ที่ไม่ค่อยมีเสียงแล้ว แต่อยากให้เทคโนโลยีพัฒนาอีกและอยากจะให้มีคีย์บอร์ดกับเมาส์ที่ไม่มีเสียงเลย

ไปเที่ยว Hiroshima กับ Osaka

อาทิตย์ที่แล้วโจไปเที่ยว Hiroshima (ฮิโรชิมะ) กับ Osaka (โอซาก้า) กับเพื่อนที่มาจากสิงคโปร์
โจไป Hiroshima ๑ วันก่อนที่เพื่อนจะมาถึง Hiroshima เพื่อเจอเพื่อนสมัยมหาลัยที่ทำงานที่นี่
รู้สึกดีใจที่ได้รู้ว่าเขาเป็นพ่อคนแล้ว (รู้สึกว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ) ได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับการทำงานของเขาก็น่าสนใจด้วย (เขาช่วยธุรกิจของครอบครัวอาทิตย์ละ ๓-๔ วันในขณะที่เริ่มทำธุรกิจของตัวเองด้วย)  
หลังจากเพื่อนคนสิงคโปร์มาถึง Hiroshima เราไปเที่ยวที่ศาลเจ้า Itsukushima (อิสึกุชิมะ) ที่ตั้งอยู่บนเกาะ Miyajima (มิยาจิม่า ) วิวสวยมากและลมทะเลก็เย็นสบายดี แต่เพราะว่าโจไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และไม่ค่อยรู้คำศัพท์เฉพาะทางศาสนา จึงทำให้การอธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของศาลเจ้านี้ให้เพื่อนเป็นไปอย่างยากลำบาก (ทุกครั้งเมื่อโจพูดภาษาอังกฤษในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ โจรู้สึกแย่ที่รู้ว่าภาษาอังกฤษของตัวเองไม่ค่อยดีเท่าไร) หลังจากนั้นเราไปอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะและไปที่โอซาก้าต่อไป 
ในตอนเช้าโจพาเพื่อนไปปราสาทโอซาก้าและระหว่างที่เพื่อนไปเที่ยว โจไปทานอาหารกับรุ่นพี่ที่ทำงานที่โอซาก้า โจรู้สึกประทับใจกับเขามากเมื่อได้รู้ว่าเขาใช้เวลานอกเหนือจากการทำงานในการเรียนรู้เกี่ยวกับ Fintech (การทำงานของเขาไม่เกี่ยวกับ Fintech เลย) โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าเขาเขียนรายงานเกี่ยวกับหัวข้อนี้และเข้าร่วม Fintech Summit Tokyo เพื่อนำเสนอรายงานเขาโดยใช้เงินตัวเองและใช้วันหยุดด้วย เรื่องของเขาทำให้โจมีกำลังใจ หลังจากทานอาหารกับรุ่นพี่แล้ว โจไปเที่ยวอีก ๒-๓ ชั่วโมงกับเพื่อนและกลับมาโตเกียวในตอนเย็น
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีโอกาสเจอกับพวกเขา(เพื่อนของ ฮิโรชิมะ สิงคโปร์ กับโอซาก้า) แต่รู้สึกดีใจที่ได้เป็นเพื่อนของพวกเขานานๆ อยากจะคนมิตรภาพที่ดีแบบนี้ไว้ตลอดไป

Monday, 29 October 2018

ประเทศกูมี (Which is my country)の前半部分の歌詞の日本語訳と関連ニュース

日本のメディアでも紹介されていましたが、ประเทศกูมี Which is my country)という軍政批判のラップがタイで俄かに注目を集めています。メッセージ性の強い歌詞です。

Youtubeの字幕切り替えで英語の歌詞も参照できますが、前半部分の歌詞の意味を深く理解するには近年タイで注目された社会・政治ニュースとの関連性を知る必要があります。以下、同曲の歌詞と関連ニュースのご紹介です。緑色のタイ語がオリジナル、下線付きの日本語が意訳/仮訳です。

中盤以降は政治批判が中心で、時事ネタは殆ど含まれませんが、気が向けば後日更新しようと思います 。

---------------------------
ประเทศที่เสือดำหน้าคะมำเพราะ Rifle
クロヒョウがライフルによって倒される国
(⇒20182月、大手建設会社Italian Thai Development社の社長が、カンチャナブリ県の野生動物保護地区で密猟を行った容疑で逮捕されています Youtubeの英語歌詞では、“ライフル”のスペルが“Riffle”と記述されていますが、"Rifle"のことだと思われます。

ประเทศที่พล่ามแต่ศีลธรรมแต่อาชญากรรมสูงกว่า Eiffel
モラルを説いているが、犯罪率がエッフェル塔よりも高い国
(⇒201856月に横領・資金洗浄などの容疑で高位の僧侶が逮捕されるなど、仏教界でも汚職事件が起こっています。

ประเทศที่กฎหมายไม่สู้พระธรรมหรือ Bible
仏法や聖書とは比べられないような法律をもつ国
(⇒20174月に施行された新憲法が、5年間の経過措置期間を含むなど軍政の権力温存につながりかねない要素を含んでいることを批判しています )

ประเทศที่คนดีๆ มี มีสดุดีเป็น idol
一番良い人がアイドルの国
(⇒政府の支持率は今一つな一方、今年AKBグループのBNK48の歌う「恋するフォーチュンクッキー」がタイで大ヒットし、同グループが社会現象化しています

ประเทศที่ตุลาการมีบ้านพักบนอุทยาน
裁判官が国立公園に家をもつ国
(⇒20185月、チェンマイの国立公園の一部が裁判所職員の宿舎として譲渡されたことに対して地元住民による反対運動が起こり、返還されることとなりました。

ประเทศที่ใจกลางกรุงกลายเป็นทุ่งสังหาร
都市の中心部が戦場になる国

ประเทศที่ผู้นำทานอิฐทานปูนเป็นของหวาน ประเทศไร้ Corruption ที่ไม่มีการตรวจสอบ
リーダーが、レンガ(←税金の意)をスイーツのように食べる国 汚職があっても捜査の行われない国
(⇒税金が、汚職に使われており、表面化した後も捜査が不十分なまま打ち切られることを揶揄しています)

ประเทศที่นาฬิกา รมต. เป็นของศพ
副首相の時計が死人の物の国
(⇒20181月、多数の高級時計を未申告で所有していることで、副首相に資産隠し疑惑が生じましたが、「友人から借りた」と釈明しています

ประเทศที่มีสภาเป็นห้องนั่งเล่นของนักรบ ประเทศที่เขียนรัฐธรรมนูญให้กองทัพใช้ตีนลบ
議会が兵士の遊び部屋となっている国 書かれた憲法が軍靴で消される国

ประเทศที่ศิลปินวางท่าเป็นขบถ
アーティストが反逆者となるだろう国
(⇒このような曲をアップロードした自身の未来を占っていると考えられます)

ประเทศที่ขบถเจออำนาจราดจนหัวหด ประเทศที่ขบถเดินตามรัฐเป็นฝูงมด ประเทศที่มีคนใส่สูทเวลาติดคำพูดปากเขาว่าแล้วตาขยิบ
反逆者が権力にひるむ国 反逆者が蟻の巣のように政府に従う国 スーツに身を包んでいる人が言葉に詰まりウインクをする国
(⇒政治活動が禁止されてきたこともありますが、社会的に影響力のある人が、軍政に配慮して言いたいこと/言うべきことを言わない状況を批判しています)

คนจนวิ่งตามนโยบาย ต้องตายเพราะไม่มีบัตรสามสิบ
30バーツがない貧乏人は政策に従って死ななければいけない
(⇒現在議論が進められている医療改革により、低所得者向け医療制度である「30バーツ医療制度」が廃止されることの悪影響を懸念しています)

ประเทศที่รวยอำนาจเลยจับเสือป่ายังกะปลาดิบ
金持ちの権力者はジャングルのトラ(←クロヒョウ?)を魚の刺身のように食べる
(⇒冒頭に出てきたように、Italian Thai Development社の社長はクロヒョウを密猟して食べていたようです 

จับมือใครดมไม่ได้ ก็เอาเป็นว่างั้นกูไม่ผิด ประเทศที่ฆ่าคนตายถ้ามีเงินก็ช่วยคดี
誰も捕まえることができないので、罪もないことになる 金があれば殺人も簡単な国
(⇒例えば 2012年にはレッドブル創業者の孫が警察官を車で撥ねて死亡させる事故が起きていますが、50万バーツを払い保釈され大きな非難を浴びました。)

ประเทศที่กฎยืดได้ซะยิ่งกว่าแขน Luffy
ルフィーの腕よりも柔軟に伸びる法律を持つ国
(⇒アニメ「ワンピース」のルフィが「ゴムゴムの実」を使って伸ばせる腕よりも、柔軟に裁量で法律が適用されていると批判しています)


Tuesday, 23 October 2018

อาทิตย์ตกสวย

อาทิตย์ที่แล้ว โจไป Egawa Kaigan มา (รู้สึกตกใจที่รู้ว่ามีข้อมูลภาษาไทยแล้ว)
เหมือนหลายคนบอกวิวอาทิตย์ตกสวยมาก







Thursday, 27 September 2018

คอลัมน์ ของ NNA (News Net Asia)


โจชอบอ่านคอลัมน์ ของ NNA (News Net Asia) ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันในเอเชีย
ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เขียคอลัมน์นี้ (อาจจะเป็นผู้สูงอายุคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯมากกว่า ๔๐ ปี) แต่วันนี้โจอ่านคอลัมน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่น่าสนใจ เขาเขียนว่าเมื่อประมาณ ๔๐ ปีที่แล้ว ที่กรุงเทพฯมีน้อยคนที่ใช้ร่มในฤดูฝน เพราะว่าคนไทยรู้ว่าฝนตกแค่ชั่วคราวและหลายคนรอฝนหยุดโดยไม่รีปร้อน (เรื่องมาสายก็ไม่เป็นปัญหา)  แต่สมัยนี้หลายคนใช้ร่มและรีปไปให้ตรงเวลา 
นอกจากนี้แล้วเวลาเร่งด่วน BTS ก็มีผู้โดยสารมากเหมือนโตเกียวด้วย จริงๆแล้วการพัฒนาของเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจทำให้ชีวิตสะดวกดี แต่ทำให้สังคมไทยมีความเครียดมากไปและทำให้เวลาฟักผ่อนลดลง ดันนั้นผู้เขียนจึงบอกว่า ตัวเองกำลังรู้สึกกลัวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย” ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะนิยมสังคมไทยเมื่อ 40 ปีที่แล้วมากกว่าสมัยนี้หรือไม่ (เพราะว่าโจไม่ชอบรอคน ถ้าเขามาสายมากโดยไม่ใช้ร่มและโดยไม่ให้โจรู้ว่าเขารอฝนหยุด โจอาจจะโมโหกับเขาได้) แต่โจก็กลัวว่าสังคมดิจิตอลจะทำให้ชีวิตตัวเองเปลี่ยนอย่างไร


Friday, 21 September 2018

เดือนนี้ยุ่งมาก


เดือนนี้โจยุ่งมากและไม่ได้เขียนไดอารี่ประมาน 1เดือน
ตั้งแต่วันที่ 4 ถึงวันที่ 8 โจไปทำงานที่กัมพูชาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับอุสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (โจกำลังเขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่เคยเขียนในไดอารี่) โจรู้สึกว่าการไปทำงานครั้งนี้มีประโยชน์มากกว่าที่คิดเอาไว้ ไปดูสถานการณ์การผลิตที่โรงงานและคุยกับหลายคน (เช่น เจ้าของโรงงาน พนักงานของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องน่งห่ม นักวิจัยเศรษฐกิจของสำนักงานระว่างประเทศเป็นต้น) ก็ช่วยทำให้สามารถเข้าใจอุสาหกรรมนี้ได้ลึกขึ้น คนส่วนใหญ่ที่โจเจอครั้งนี้คิดว่าการผลิตเครื่องนุงห่มจะขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์มากกว่าเทคโนโลยีต่อไป เพราะว่าเทคโนโลยีใหม่ๆยังใช้ต้นทุนแพงมากไป (ความคิดเห็นของพวกเขาก็ช่วยโจมาก แต่โจคิดว่าตัวเองควรจะไปเจอคนที่มีความคิดเห็นอื่นด้วยเพื่อรับฟังความคิดเห็นหลายๆด้าน) หลังจากกลับมาเพื่อที่จะมุ่งเนนเขียนรายงานเรื่องนี้ โจไปหลายที่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้และรู้สึกว่า Desktop Research (วิจัยเองคนเดี๋ยวโดยใช้คอมพิวเตอร์)เท่านั้นไม่เพียงพอเลย
นอกจากเขียนรายงานนี้แล้ว เดือนนี้โจต้องเขียนอีก 5 รายงาน ( รายงานยาวประมาณ 10 หน้า  3 รายงานและ 2 รายงานสั้งประมาณ 2 หน้า 2 รายงาน) ให้เสร็จในเดือนนี้ ตอนแรกโจรู้สึกงานหนักมากแต่ในที่สุดก็สามารถณ์เขียนให้เสร็จจนได้ ยังไม่แน่ใจว่าตั้งแต่เดือนหน้าจะเขียนหัวข้ออะไรดีแต่อยากจะพักผ่อนก่อน)


Sunday, 26 August 2018

เหตุผลที่วิจัยประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจไทย

วันอังคารที่ผ่านมาโจเข้าร่วมการประชุมที่เกี่ยวกับการวิจัยประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจไทย เมื่อประมาณ ๓-๔ ปีที่แล้ว อาจารย์ คน หนึ่งเคยเชินโจเข้าร่วมโครการนีและโจช่วยคำนวณ GDP ของเศรษฐกิจก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่โจไม่ได้ช่วยอะไรอีกหลังจากตัวเองย้ายไปทำงานที่สิงคโปร์ ดันนั้นครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกที่โจเจอกับอาจารย์ หลายคนที่เกี่ยวกับโครการนี้ ในการประชุมนี้ทำให้โจเข้าใจความแตกต่างที่เกี่ยวกับเหตุผลการวิจัยประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจไทย (สำหรับโจการเรียนประวัติศาสตร์ก็เป็นวิธีเรียนรู้เศรษฐกิจปัจจุบันกับอนาคต แต่เป็นเป้าหมายสำหรับอาจารย์คนอื่น)เพราะว่าปกติโจเขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเพื่อช่วยบริษัทญี่ปุ่นหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและพวกเขาให้ความสนใจกับสถานการณ์ปัจจุบันกับอนาคตมากกว่าอดีต
เมื่อโจเขียนรายงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจ โจถามตัวเองว่าการเรียนรู้อดีตจะสามารถช่วยการพยากรณ์อนาคตได้แค่ไหน แต่เข้าใจว่าอาจารย์หลายคนไม่ค่อยสนใจผลกระทบต่อปัจจุบัน/อนาคตและสนใจแค่อดีตเท่านั้น (อาจจะเพราะว่าได้มีความสนุกจากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์) ครั้งนี้ไม่ได้ถามพวกเขาว่ามีความสุขอย่างไรในการวิจัยประวัติศาสตร์ คราวหน้านอกจากเรื่องสถิติแล้ว อยากจะถามคุณค่าของการวิจัยประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจด้วย

ความเหนื่อยล้าที่มาจากความร้อนในฤดูร้อน


ไม่รู้ว่าภาษาไทยมีคำศัพท์แบบนีหรือไม่ แต่เดี๋ยวนีโจเป็น 夏バテ(ความเหนื่อยล้าทีมาจาก ความร้อนในฤดูร้อน) และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลกลง ปกติโจชอบฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาวเพราะว่าตัวเองขีหนาวมาก แต่ฤดูร้อนของอปีนีร้อนมากเกินไปอยากจะได้เทคโนโลยีทีเก็บความร้อนในฤดูนีสำหรับฤดูหนาว


Monday, 6 August 2018

โดนชีวิตเกลียดชังอยู่


เดี๋ยวนี้โจได้มีโอกาสคิดเกี่ยวกับความสำคัญของชีวิตประจำวัน ไม่แน่ใจว่าครอบครัวของโจมีพันธุกรรมของโรคที่มะเร็งหรื่อไม่ แต่ภายใน ๑ เดือนที่ผ่านมา มีญาติ ๓ คนที่ตรวจพบมะเร็งและได้รับการผ่าตัด (รู้สึกเสียใจที่ได้รู้ว่าคุณป้าคนหนึ่งต้องตัดเอากระเพราะออกจากร่างกายและ คุณลุงอีกคนหนึงต้องตัดกล่องเสียงและสูญเสียความสามารถในการเปล่งเสียงไป) โจคิดว่าชีวิตประจำวันที่จะได้เจอกับญาติบ่อยๆจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ แต่อาจจะเพราะว่าคุณป้า ๒ คน เข้าโรงพยาบาลที่แม่ของโจเคยเข้าบ่อยๆ เมื่อไปเยี่ยมพวกเขาทำให้โจรู้สึกว่าชีวิตประจำวันไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปตลอดกาล ยังมีความเครียดในการทำงานมากและเดี๋ยวนี้ตัวเองก็อารณ์เสียได้ง่าย แต่แม้ว่าจะมีปัญหาหลายอย่างในชีวิตตัวเอง บางที่โจควรจะรู้สึกขอบคุณกับการที่ได้มีชีวิตประจำวันมากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ตัวเองยังสุขภาพแข็งแรงและสามารถไปทำงานได้ ไปทานอาหารได้ คุยกับเพื่อนโดยใช้เสียงของตัวเองได้ด้วย แต่กลับเข้าใจผิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
https://www.brainyquote.com/quotes/william_morris_386448
ไม่แน่ใจว่าระบบค้นหาของ Google กับ Youtube ก็รู้ความรู้สึกของโจหรือไม่ แต่เดี๋ยวนี้ Youtube แนะนำเพลงที่โจรู้สึกสนใจมาก ชื่อเพลงนี้命に嫌われている(โดนชีวิตเกลียดชังอยู่ ) ชื่อเพลงนี้ก็ดูแปลกๆเพราะว่าชีวิตเองไม่มีความรู้สึ



แต่คนที่เขียนเนื้อเพลงนี้คิดว่าชีวิตกำลังเกลียดชังเราอยู่เพราะว่าเราเอาแต่เกลียดชังสภาพแวดล้อมที่เกิดมา โดยไม่เคยลิ้มรสความสุขและสาปแช่งอดีตกันได้อย่างง่ายดาย ชีวิตอาจจะโมโหกับคนแบบนี้จึงหนีไปจากเราทำให้เสียชีวิตรู้ว่าความคิดเห็นนี้ไม่เป็นวิทยาศาสตร์เลย แต่รู้สึกน่าสนใจมาก เหมือนกับว่าเนื้อเพลงนี้กำลังจะบอกเราที่มักจะลืมความสุขที่อยู้ตรงหน้าและคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่น่าเบื่อโจอยากจะมีความเกรงใจต่อชีวิตมากกว่าตอนนี้และอยากให้ชีวิตชอบตัวเองมากด้วย


Tuesday, 17 July 2018

ประชาธิปไตยกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

อาทิตย์นี้โจเขียนรายงานสั้นที่เกี่ยวกับการเมืองไทย (เป็นภาษาญี่ปุ่น) ในรายงานนี้โจนำเสนอกราฟเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ดรรชนีประชาธิปไตยที่สำนักงาน EIU (Economist Intelligence Unit) เป็นผู้กำหนด ดรรชนีนี้แสดงว่าประเทศนั้นมีประชาธิปไตยแค่ไหนระหว่างคะแนน 0 ถึง 10 และกราฟนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มี per capita GDP ต่ำกว่า ๑ หมื่นดอลล่าร์ การพัฒนาเศรษฐกิจไม่ค่อยเกี่ยวของกับสถานการณ์ประชาธิปไตย แต่สำหรับประเทศที่มี per capita GDP สูงกว่า หมื่นดอลล่าร์การพัฒนาเศรษฐกิจเหมือนจะดูมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางประชาธิปไตย ยังไม่ชัดเจนว่า per capita GDP จะสูงขึ้นเพราะว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมาก หรือเพราะการที่ per capita GDP สูงขึ้นส่งผลให้ระบบการเมืองมีประชาธิปไตยมากกว่าแต่ประเทศที่มี per capita GDP สูงกว่า หมื่นดอลล่าร์และดรรชนีประชาธิปไตยต่ำกว่าไทยมีแต่ประเทศที่ส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น (เช่น ซาอุดิอาระเบีย, UAE เป็นต้น) และไม่แน่ใจว่าประเทศไทยจะสามารถเข้าสู่ประเทศรายได้สูงโดยไม่มีประชาธิปไตยได้หรือไม่ (รัฐบาลกำลังมีแผนการที่จะมีการเลือกตั้งในปีหน้า แต่ถ้าคิดตามระบบการเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลในตอนนี้อาจจะมีอำนาจต่อไปและความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยก็ยังไม่มากเท่าไร)

ยังมีความเป็นไปได้ที่ประเทศจีนจะเข้าสู่ประเทศรายได้สูงโดยไม่เปลี่ยนระบบการเมือง แต่ระบบการเมืองแบบจีนมีความเสี่ยงเพราะว่าแม้ว่านโยบายผิด/ไม่ดีเท่าไร ประชาชนก็ไม่สามารถหยุดรัฐบาลได้  เมื่อโจเขียนรายงานนี้ โจนึกถึงคำพูดของ  Winston. S Churchill  “Democracy is the worst form of government, except for all the others that had been tried (ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดแต่เป็นรูปแบบการปกครองที่แย่น้อยที่สุด)
อย่างไรก็ตาม โจหวังว่าทั้งการเมือง/ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นโดยไม่มีปัญหาเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2013-2014 



Monday, 16 July 2018

ยุ่งมาก

ประมาณ 3 อาทิตย์ที่ผ่านมามีหลายเรื่องเกิดขึ้นในทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ทำให้โจไม่ได้เขียนไดอารี่เลย ในชีวิตการทำงานมีปัญหาหลายเรื่องและปัญหาเหล่านี้คอยรบกวนจิตใจและทำให้โจอารมณ์เสียในการทำงานมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกลงไปจนยากเกินจะเยียวยา โจพยายามไปคุยปรึกษากับคนหลายคนเพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาทางแก้ไขกับปัญหาเรื้อรังนี้
สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้นกับชีวิตส่วนตัว ยังไม่แน่ใจว่าชีวิตของตัวเองจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่ตอนนี้รู้สึกเหมือนบทกวีของเชคสเปียร์ There is a tide in the affairs of men. Which, taken at the flood, leads on to fortune; Omitted, all voyage of their life is bound in shallows and in miseries (ชีวิตเราควรเฝ้าแลกระแสสินธุ์ ยามเจิ่งหนักรีบตักไว้ใช้อาบกิน หากเหือดสิ้นจะทุกข์ยากลำบากกาย )
https://quotefancy.com/quote/45252/William-Shakespeare-There-is-a-tide-in-the-affairs-of-men-which-taken-at-the-floud-leads
หวังว่าจะสามารถได้พบกับกระแสคลื่นที่สอดคล้องกับตัวเองได้

Wednesday, 11 July 2018

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในอนาคต


อาทิตย์นี้โจได้มีโอกาสดูวิดีโอที่น่าสนใจมาก วิดีโอนี้แนะนำเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตเครื่องนุ่งห่ม
ตอนนี้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมนุษย์มากและประเทศจีนเป็นประเทศที่ผลิตเครื่องนุ่งห่มมากที่สุดในโลก แต่หลายโรงงานเริ่มย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศอื่นที่ค่าแรงงานถูกกว่า(เช่นกัมพูชา เวียดนามและ บังคลาเทศ เป็นต้น) หลายคนคิดอยู่ว่าสถานการณ์นี้จะดำเนินต่อไป แต่มีความเป็นไปได้ที่เทคโนโลยีใหม่ๆจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ตอนนี้ เช่นหากการใช้เครื่องจักรสามารถผลิตเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ต้นทุนถูกกว่ามนุษย์ได้ (บริษัท SoftWear Automation กำลังพัฒนาเครื่องจักรที่สามารถผลิตเครื่องนุ่งห่มอัตโนมิติ 100 เปอร์เซ็นต์) 
ดูเหมือนว่าจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับผลกระทบของการพัฒนาเทคโนโลยีระหว่าง 2 องค์กร ได้แค่องค์กรแรงงานระหว่างประเทศกังวลว่าเทคโนโลยีใหม่ๆจะมาแทนมนุษย์และทำให้เกิดภาวะตกงาน แต่ธนาคารพัฒนาเอเชียคิดว่าเทคโนโลยีใหม่ยังใช้ต้นทุนแพงกว่ามนุษย์และบริษัทจะยังนิยมลงทุนผลิตในประเทศกำลังพัฒนาต่อไป
สนใจว่าสถานการณ์การโยกย้ายโรงงานในประเทศจีนจะเป็นอย่างไรต่อไป