อาทิตย์นี้โจกับเพื่อนร่วมงานที่รุ่นเดียวกันมีโอกาสเจอกับนักศึกษาหลายคนที่รู้สึกสนใจที่จะทำงานในบริษัทของโจ โจอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของบริษัทเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจบริษัทมากขึ้น
หลังจากคุยกับพวกเขาแล้ว เพื่อนร่วมงานถามโจว่าตัวเองอยากจะทำงานกับใครและใครเหมาะสมกับการเป็นนักวิจัยเศรษฐกิจของบริษัท โจรู้สึกว่าการคุยกับนักศึกษาแค่ ราวๆ ๑ ชั่วโมงไม่เพียงพอที่จะทำให้รู้ว่าใครเหมาะสมกับการเป็นนักวิจัยเศรษฐกิจ
ดังนั้นจึงไม่กล้าเลือกใครโดยที่ไม่รู้รายละเอียดของพวกเขา (ไม่มีใครที่นิสัยแรงหรือแปลกมากไป โจจึงรู้สึกว่าจะทำงานกับใครก็ได้)
|
https://quotefancy.com/quote/1224278/Daniel-Handler-I-don-t-know-if-you-ve-ever-noticed-this-but-first-impressions-are-often |
ถ้าเรากำลังจะจ้างพนักงานขายที่ต้องเจอกับลูกค้า ความประทับใจเมื่อแรกพบกับความสามารถในการสื่อสารอาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่โจคิดว่าสำหรับอาชีพนี้ ปัจจัยอื่นเช่น ความสามารถที่คิดให้ซับซ้อนและนานๆโดยไม่ยอมแพ้และความสนใจกับการวิจัยสำคัญมากว่าความสามารถในการสื่อสาร
แม้ว่าความประทับใจเมื่อแรกพบของพวกเขา/เธอไม่ดีเท่าไรเพราะว่าพวกเขาไม่มีความสามารถที่ดีในการสื่อสารและอธิบายความคิดเห็นไม่เก่งในการสัมภาษณ์
แต่ถ้าพวกเขามีเวลาพอ มีความเป็นไปได้ที่เขาจะสามารถคิดความคิดเห็นที่ดีกว่าคนอื่น
จริงๆแล้ว เพื่อนร่วมงานของโจหลายคนไม่ค่อยมีความสามารถด้านการสื่อสาร โจจึงรู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานเป็นพวกถือตัวและไม่มีความเกรงใจเพราะว่าพวกเขาพูดถึงนักศึกษาที่เหมาะสมกับบริษัทโดยไม่ดูเอง
ไม่รู้ว่าพวกเขาเชื่อว่าตัวเองมีความสามารถในการเลือกนักศึกษาที่ดีหรือไม่ แต่ในภาษาญี่ปุ่น
มีสุภาษิตที่มาจากประวัติศาสตร์ประเทศจีน “千里の馬は常に有れども伯楽は常に有らず
(Senri no uma wa tsune ni aredomo hakuraku wa tsune niwa
arazu)
” ที่มีความหมายว่า “แม้ว่าจะมีม้าที่สามารถวิ่งได้วันละ 400 กม.อยู่
แต่คนที่ขาดความสามารถในการเลือกม้าก็ไม่สามารถมองเห็นม้าตัวนั้นได้”
|
https://kknews.cc/news/vmxqn5a.html |
โจจึงไม่แน่ใจว่าระบบการเลือกนักศึกษาของบริษัทที่ขึ้นอยู่กับความประทับใจเมื่อแรกพบที่มาจากการสัมภาษณ์เป็นสิ่งที่ดีหรือยุติธรรมหรือไม่ โจคิดว่าเราควรจะคิดลองวิธีอื่นเช่นการฝึกงานหรือให้นักศึกษานำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อการวิจัยของตัวเอง
เป็นต้น