Sunday 20 February 2011

ปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร

วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์

อาทิตย์นี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร
ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ฝ่ายไทยกับกัมพูชาได้ปะทะกัน ทั้ง ๒ ประเทศส่งทหารของตนเข้าไปในเขตแดนที่กำลังมีปัญหากันอยู่

ก่อนอ่านบทความนี้โจไม่รู้ว่าทำไมทั้ง ๒ ประเทศเถียงเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร บทความนี้บอกว่า พ..๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาแต่ไม่ตัดสินว่าแผ่นดินที่อยู่รอบๆปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศไหน ดั้งนั้นตอนนี้ ๒ ประเทศจึงถกเถียงกัน


..๒๕๕๑ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก ตอนแรกรัฐบาลไทยดูเหมือนจะยอมรับและสนับสนุนการขี้นทะเบียนครั้งนี้ แต่ตอนนี้รัฐบาลไทยไม่ยอมแล้ว (บางคนบอกว่าเป็นแพราะนายกเก่าทักษิณยอมรับการขึ้นทะเบียน แต่กลุ่มที่ไม่ชอบเขาและไม่ยอมรับการขึ้นทะเบียนครั้งนี้ก็มี เลนยกประเด็นนี้มาอีกครั้ง )


บทความนี้ไม่บอกว่าประเทศไหนถูกหรือผิดแต่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชานี้แสดงให้รู้ว่า อาเซียน(สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)ไม่มีอำนาจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในอาเซียน
บางคนบอกว่าฝ่ายประเทศไทยคิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาเท่านันและไม่อยากให้ประเทศอื่นเข้ามาร่วมแก้ปัญหานี้ แต่ประเทศกัมพูชากลับอยากให้ประเทศอื่นรวมแก้ปัญหาด้วย ซึ่งไม่ใช่อาเซียนแต่เป็นสหประชาชาติที่อยากจะให้มาเข้าร่วมแก้ปัญหา 
 
นักเขียนบทความนี้บอกว่าถ้าเราทบทวนประวัติศาสตร์ของอาเซียนอีกครั้ง เราจะเข้าใจว่าทำไมอาเซียนไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขปัญหา ตอนแรกอาเซียนถูกก่อตั้งพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากสงครามในประเทศเวียดนามเสร็จสิ้นแล้ว อาเซียนยอมให้หลายประเทศเข้าร่วม เช่นประเทศเวียดนามกับลาวเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ประเทศพม่าเป็นประเทศเผด็จการทหาร เป็นต้น แต่ความคิดกับระบบการเมืองของประเทศใหม่ที่มาเข้าร่วมนั้นไม่เหมือนกับประเทศอื่น ดังนั้นจึงต้องมีการออกระเบียบใหม่ซึ่งยากขี้นและทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆก็ยากขี้นด้วย


บทความนี้บอกว่า ตอนนี้ ”นิ่งเฉย” คือ ปฏิกิริยาตอบรับปกติของอาเซียน
จริงๆแล้วบางคนในอาเซียนอยากจะเปลี่ยนสถนการณ์นี้ นักเขียนบอกว่าอาเซียนกำลังวางแผนที่จะจัดฟุตบอลโลกที่๒๕๗๓เพื่อประสานความสัมพันธ์ภายในอาเซียน

หลังจากโจอ่านบทความนี้โจไม่ค่อยเข้าใจว่าอะไรเป็นข้อดีของการเข้าร่วมอาเซียน
สำหรับนักวิจัยเศรษฐกิจอย่างโจ อยากให้อาเซียนมีสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจที่รวบรวมข้อมูลของอาเซียนและวิจัยข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลที่ได้นันเป็นหนั่งเดียวและแม่นยำมากขึ้น
เฮ้อออออออออออ เขียนเรื่องเกี่ยวกับการเมืองโดยใช่ภาษาไทยยากมาก

<ประวัติศาสตร์ของอาเซียน>
..๒๕๐๔:เริ่มโดย ประเทศไทย มาเลเชีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ พิลิปปินส์
..๒๕๒๗:ประเทศบรูไนเข้าร่วมเป็นสมาชิก
..๒๕๒๘:ประเทศเวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิก
..๒๕๔๐:ประเทศลาว กับ พม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิก
..๒๕๔๒:ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิก


<อ้างอิง>
Thai-Cambodian conflict:Temple trouble (The Economist Feb 10th 2011)
Banyan:Loose stalks posing as a sheaf (The Economist Feb 10th 2011)


<English version (abstract) >
I read articles about the conflict between Thailand and Cambodia in this week.
The articles explain the historical background of this conflict and history of ASEAN. The writer points out that this conflict shows that ASEAN does not have enough power to settle the situation and further efforts to regional integration are needed.
I recommend that ASEAN would set up the department like Eurostat to create statistics which are based on the same definition. It would contribute to the regional integration.





No comments:

Post a Comment