Saturday, 26 November 2011

ราคาบ้านที่เหมาะสม

วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับราคาบ้านในหลายประเทศ

บทความนี้คำนวณว่าราคาบ้านในแต่ละประเทศเหมาะสมหรือไม่โดยใช่ดัชนีอัตราราคาบ้านต่อรายได้ กับ อัตราราคาบ้านต่อราคาเช่าบ้าน (การเพิ่มกับการลดลงราคาบ้านส่งผลต่อเศรษฐกิจมาก ดังนั้นการคำนวณหาราคาบ้านที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก)
ดัชนีนีเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าราคาบ้านในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ป่น และ เยอรมัน ถูกกว่าราคาที่เหมาะสมและราคาบ้านในประเทศ เบลเยี่ยม แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และ ฮ่องกง แพงกว่าราคาที่เหมาะสม
แต่เรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าราคาบ้านจะมีการเพิ่มหรือลดลงเร็ว เพราะว่าก่อนที่ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง จะเปลี่ยนแปลงนั้นค่อนข้างจะใช้เวลานาน นอจจากนี้เรื่องนี้ก็ไม่แสดงให้เห็นว่าแค่ราคาบ้านเท่านั้นหรือไม่ที่ปรับเปลี่ยนเพราะดชนีนี้คิดจากรายได้กับราคาเช่าบ้านที่เหมาะสม แต่บางที่รายได้กับราคาเช่าบ้านอาจจะไม่ใช่ราคาที่เหมาะสมก็ได้ซึ่งปัจจัยนี้ก็จะส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน 

อีกอย่างหนึ่ง การคำนวณหาราคาที่เหมาะสมมีหลายวิธีและไม่แน่ใจว่าความคิดเห็นที่มาจากวิธีนี้ถูกหรือไม่ (เพราะวิธีนี้ไม่ได้นำอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศหรืออัตราดอกเบี้ยของเงินยืม เป็นต้น มาคิดด้วย)
บางคนคิดว่าวิธีการตรวจนี้อาจทำให้เราเข้าใจผิดเรื่องราคาบ้านที่เหมาะสม ซึ่งบทความนี้ก็ยอมรับความคิดนี้และยังชี้ให้เห็นอีกว่าหลายประเทศที่มีความเสี่ยง(เช่น ประเทศ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และ ออสเตรเลีย เป็นต้น) ควรจะระวังเพราะอัตราเงินกู้ยืมต่อรายไดในประเทศเหล่านี้สูงมากและการลดราคาบ้านก็ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงง่าย
โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าดัชนีของบทความนี้แสดงให้เห็นว่าราคาบ้านในญี่ปุ่นถูกกว่าราคาบ้านที่เหมาะสม ๓๖ เปอร์เซ็นต์ โจคิดว่าสำหรับการคำนวณหาราคาบ้านในญี่ปุ่นโดยวิธีการคำนวณของบทความนี้มียังปัญหาอยู่เพราะว่าสถานการณ์ราคาบ้านของญี่ปุ่นในเมืองกับต่างจังหวัดไม่เหมือนกันเลย 
นอกจากนี้วิธีการคำนวณของบทความนี้คิดว่าดัชนีเฉลียระหว่าง ๓๖ ปีที่แล้ว ถึงปีนี้ดัชนีที่เหมาะสม แต่โจคิดว่า ดัชนีนี้ไม่ได้เป็นดัชนีที่เหมาะสมเพราะญี่ปุ่นเคยมีเหตุการณ์ราคาบ้านเฟ้อ ดังนั้นจะต้องไม่นำข้อมูลนี้มาคำนวณด้วย
(อีกอย่างหนึ่ง ดัชนีที่เหมาะสมที่มาจากข้อมูลเมื่อ ๒๐-๓๐ ปีมราแล้วไม่ได้เป็นคัชนีที่เหมาะสมของตอนนี้ เพราะสถานการณ์ทางจำนวนประชากรของสมัยก่อนไม่เหมือนกับตอนนี้) สำหรับราคาบ้านในโตเกียวโจคิดว่าราคาบ้านยังแพงกว่าราคาที่เหมาะสมอยู่
 
อ้างอิง
House of horrors, part 2 (Nov 26th 2011 From The Economist)

Friday, 25 November 2011

อะเดล (Adele)


เดี๋ยวนี้โจฟังเพลงของ อะเดล บ่อย

ตอนแรกโจคิดว่าเขาอายุมากกว่าโจเพราะวิธีร้องเพลงของเขาฟังดูเป็นผู้ใหญ่ เสียงของเขาก็เป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้เสียงของเขาใสทุ้มค่ำและสร้างความปรัทับใจให้แก่ผู้ฟังมาก  เพลง Someone Like You มีท่วงทำนองไพเราะมากเป็นพิเศษ(*)
ตอนนี้อัลบั้มของเขาขายดีมากทั่วโลก (อัลบั้มใหม่ที่วางขายในปีนี้ขายได้มากกว่า ๑๒ ล้านแผ่น ) และเขามีชื่อเสียงมาก แต่ดูเหมือนว่าเขายังไม่ค่อยมีชื่อเสียงในญี่ปุ่น นอกจาก อะเดล แล้ว โจรู้สึกว่าหลายคนไม่สนใจนักร้องที่เป็นที่นิยมในยุโรปกับสหรัฐอเมริกา (สนใจแค่นักร้องเกาหลีเท่านั้น (?)
สมัยก่อนโจก็ฟังเพลงของญี่ปุ่นบ่อย แต่เดี๋ยวนี้โจไม่ฟังเพลงญี่ปุ่นและไม่ชอบกระแสตลาดเพลงของญี่ปุ่นเพราะ ดูเหมือนว่านักร้องกับผู้ฟังในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มุ่งเน้นแค่รูปลักษณ์ของนักร้องกับกระแสความนิยมตามสื่อเท่านั้น(นักร้องที่เป็นที่นิยมและขายดีในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็น ไอดอล กับดาราที่ไม่ใช่เป็นนักร้องทีอาชีพ)
และความสนใจเกี่ยวกับคุณภาพของการร้อง เสียง ทำนองเพลง และเนื้อเพลงลดลง (จริงๆแล้วมีนักร้องที่ม่งเน่นสิ่งเหล่านี้แต่ดูเหมือนว่าเพลงของนักร้องแบบนี้ขายไม่ค่อยดี) ไม่รู้ว่ากระแสใหม่นี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไร แต่โจชอบกระแสเก่ามากกว่ากระแสนี้

(*) โจรู้สึกว่าการอธิบายความประทับใจเกี่ยวกับงานศิลปะ (เช่น เพลง หนัง และ การถ่ายรูป เป็นต้น ยากมาก แค่พูด ดีหรือไม่ดีไม่ยากเลยแต่อธิบายว่าอะไรดีและดีอย่างไรยากมาก นอกจากปัญหาเกี่ยวกับภาษาแล้ว มีปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดความประทับใจเป็นภาษาไทยด้วย

Sunday, 20 November 2011

ทฤษฎี DSGE (๑)

เมื่อวันศุกร์โจเข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับทฤษฎี DSGE ทำให้คิดถึงหลายสิ่ง
สมัยโจเรียนปริญญาโท โจเคยเรียนทฤษฎีนี้แต่ตอนนั้นไม่ได้เข้าใจเลย แต่คิดว่าทฤษฎีนีเป็นทฤษฎีที่ดีกว่าทฤษฎีอื่นเพราะว่าคณิตศาสตร์ที่อยู่ในทฤษฎีนี้ซับซ้อนและเข้าใจยากมาก
แต่หลังจากโจเรียนจบและเริ่มวิจัยสถานการณ์เศรษฐกิจจริง ความคิดนี้เปลี่ยนไป เพราะโจรู้สึกว่าโลกนี้ซับซ้อนมากกว่าในทฤษฎี และโลกนี้มีหลายปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง (เช่นการเปลี่ยนแปลง กฎหมาย ระบบบริษัท ระบบตลาดการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น) แต่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คิดว่าปัจจัยเหล่านี้ไม่ค่อยสำคัญและไม่ค่อยวิจัยปัจจัยเหล่านี้อย่างละเอียดโดยการใช้ข้อมูลหลายตัวประกอบการวิจัย
 (สมัยก่อนเพื่อนของโจที่วิจัยทฤษฎีนี้บอกว่าการใช้ปัจจัยที่โจกล่าวถึงในบ้างต้นเช่นการเปลี่ยนแปลง กฎหมาย ระบบบริษัท เป็นต้น ไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะไม่มีสูตรในคณิตศาสตร์เพื่อใช้คำนวณปัจจัยเหล่านี้ แต่โจคิดว่าการเข้าใจเศรษฐกิจในความเป็นจริงมีความสำคัญมากกว่าการเข้าใจแค่ทฤษฎี การเข้าใจแค่ทฤษฎีไม่ได้แปลว่าเขาเข้าใจเศรษฐกิจในความเป็นจริง) 

นอกจากนี้แล้วโจรู้สึกว่าคนที่วิจัยทฤษฎีนี้บางคนไม่ค่อยสนใจเศรษฐกิจในความเป็นจริงและไม่สามารถอธิบายความนัยของทฤษฎีนี้ให้คนธรรมดาเข้าใจได้ง่าย 
โจคิดว่าการวิจัยเศรษฐกิจมีหลายวิธีและการวิจัยเศรษฐกิจโดยใช้ทฤษฎีที่มีคณิตศาสตร์เป็นเพียง ๑ วิธีในหลายวิธี นักวิจัยที่ใช้หลายวิธีก็เลยควรจะแบ่งปันวิธีที่เขาใช้ระหว่างกันเพื่อเข้าใจเศรษฐกิจได้ดีขึ้น แต่บางคนดูเหมือนจะคิดว่าเขาเก่งกว่าคนอื่นเพราะเขาใช้ทฤษฎีที่คนอื่นไม่เข้าใจโจคิดว่าถ้าคนอื่นไม่เข้าใจ 
เรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าเขาฉลาดและความคิดของเขาดีกว่าคนอื่น แต่แปลว่าการอธิบายของเขาไม่ดีเลยเท่านั้นสมัยโจเรียนปริญญาโทโจคิดว่าโจไม่เข้าใจทฤษฎีนี้เพราะโจหัวไม่ดีและไม่เกี่ยวกับวิธีสอนของอาจารย์ แต่หลังจากโจเริ่มทำงานความคิดนี้ก็เปลี่ยนไป

หัวหน้าของโจบอกโจบ่อยๆ ว่า เราจะต้องเขียนรายงานให้เข้าใจง่ายเพราะเราอยากให้หลายคนอ่าน ถ้าคนอ่านรู้สึกไม่สนใจเพราะเขาไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่เราเขียน จะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน จริงๆ โจคิดว่าการเขียนรายงานให้หลายคนเข้าใจเป็นสิ่งที่ยากมาก

นอกจากโจแล้ว หลังจากวิกฤตการเงินโลกในปี ๒๕๕๑ หลายคนก็ชี้ให้เห็นว่าการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีนี้มีปัญหามากเพราะทฤษฎีนี้ไม่ได้คาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตกับป้องกันวิกฤตไม่ให้เกิดขึ้น (เช่น ทฤษฎีนี้คิดว่า คนเรามีฟฤติกรรมที่มีเหตึผลตลาดการเงินกับแรงงานก็ไม่มีปัญหา และไม่มีการผิดนัดชำระหนี้กับเศรษฐกิจฟองสบู่ เป็นต้น)
ตอนนั้นโจคิดว่าความคิดของโจถูกและกระแสเกี่ยวกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตการประชุมเกี่ยวกับทฤษฎี DSGE เมื่อวันศุกร์ทำให้โจเริ่มรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้วเพราะมีคนอธิบายให้โจรู้ว่ามีการปรับเปลี่ยนอะไรในทฤษฎีบ้างหลังจากเกิดวิกฤต
*โจไม่ได้บอกว่าทฤษฎีที่ใช้คณิตศาสต์ซับซอนไม่จำเป็น สำหรับหลายสิ่ง เช่นทฤษฎีราคา หรือ ตราสารอนุพันธ์ ทฤษฎีที่มีการใช้สมการทางคณิตศาสตร์แบบนี้จำเป็น
*โจคิดว่าการพัฒนาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ควรจะทำให้สังคมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นแต่บางคนยังไม่ค่อยสนใจสถานการณ์เศรษฐกิจในความเป็นจริงและมุ่งเน้นแค่การวิจัยทฤษฎีที่ไม่มีผลในทางปฏิบัติได้มากพอ
 *มีต่อในสัปดาห์หน้า

Saturday, 19 November 2011

การเมืองของประเทศอินเดีย

วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับการเมืองของประเทศอินเดีย(ก่อนอ่านบทความนี้โจไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองของประเทศอินเดียเลย) 
บทความนี้มุ่งเน้นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว เนห์รู คานธี (ครอบครัวนี้มีนักการเมืองมาก แต่ไม่เกี่ยวข้องกับ มหาตมะ คานธี ที่ทำให้ประเทศอินเดียเป็นอิสระจากประเทศอังกฤษ) 
 
ในครอบครัวนี้มี นักการเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่ชื่อว่า สอเนีย คานธี (เขาได้คะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งก่อน แต่เขาไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะนักการเมืองบางคนคิดว่าการที่เขาเกิดและโตที่ต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมะสมซึ่งเขาก็ยอมรับความคิดนี้และให้นักการเมือง มานโมฮัน ซิงห์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน)


 ตอนนี้การเมืองในประเทศอินเดียกำลังมีปัญหาอยู่และจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเอาคนรุ่นใหม่เข้ามาแทนคนรุ่นเก่า เพราะว่านาง สอเนียคานธี ไม่สบาย และนายกรัฐมนตรีจะอายุมากกว่า ๘๐ ปีแล้ว
หลายคนคิดว่านาย ราหุล คานธี ที่เป็นลูกชายของนาง สอเนียคานธี เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเพราะเขายังอายุ ๔๑ ปี และมีชื่อเสียงมาก  ครอบครัวของเขามีความสัมพันธ์กับนักการเมืองคนอื่นซึ่งจะทำให้การเมืองดำเนินไปอย่างสะดวก
มีคนบอกว่าถ้าเขาจะสามารถทำให้นักการเมืองที่สนับสนุนเขาได้ชนะในการเลือกตังแต่ละภาคใน ๑-๒ ปีข้างหน้า เขาก็จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีใน ปี ๒๕๕๗ 

นิตยสาร The Economist ก็คิดว่าสำหรับประเทศอินเดียแล้วการเปลี่ยนแปลงเอาคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นสิ่งจำเป็น แต่การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหามีปัญหา เพราะว่าการเมืองในประเทศอินเดียจะขึ้นอยู่กับแค่ครอบครัว เนห์รู คานธี และไม่ได้เป็นอิสระจากระบบแบบนี้   

ไม่แน่ใจว่าเขาจะยอมทำสิ่งที่จำเป็นต่อประเทศอินเดียแต่ส่งผลเสียต่อครอบครัวเขาหรือไม่(แต่บทความนี้ไม่ได้บอกว่าใควรจะเป็นนายกรัฐมนตรีดี)

โจคิดว่านอกจากประเทศอินเดียแล้วหลายประเทศก็มีปัญหาการเมืองอย่างนี้ เดี๋ยวนี้การเมืองของญี่ปุ่นกำลังเริ่มคิดวที่จะมีกฎระเบียบที่ในครอบครัวมีนักการเมืองอยู่


คิดว่าผลดีผลเสียของการออกกฎระเบียบเหล่านี้จะประเมินได้ยากมาก
อ้างอิง
Must it be Gandhi ?(Nov 19th 2011 From The Economist)
The golden Rahul (Nov 19th 2011 From The Economist)

Tuesday, 15 November 2011

กองทุนเฮ็ดจฟันด์

วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับกองทุนเฮดจ์ฟันด์ บทความนี้บอกว่าสมัยก่อน(หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี พ.ศ ๒๕๔๐)ทุกคนเกลียดเฮ็ดจ์ฟันด์ 
แต่เดี๋ยวนี้ในเอเซียจำนวนกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์ที่มาจากสหรัฐอเมริกากับยุโรปมีจำนวนเพิ่มขึ้น นักเขียนชี้ให้เห็นว่านอกจากปัจจัยต่างๆในเอ(เซียเช่นอัตราการเพิ่มพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของระเบียบในการทำธุรกิจกับภาษีต่อบริษัทการเงิน เป็นต้น) แล้ว ปัจจัยทางด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วนั้นก็ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์เริ่มย้ายที่ทำธุรกิจ

แต่นักเขียนบอกว่ากองทุนเฮ็ดจฟันด์จะทำธุรกิจในเอเซียยากมาก เพราะระบบของตลาดการเงินยังไม่ค่อยดีและในแต่ละประเทศก็มีระบบไม่เหมื่อนกัน 
นอกจากนี้แล้วสถานการณ์ของตลาดการเงินของประเทศกำลังพัฒนาเปลี่ยนง่ายกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งนักลงทุนจะต้องเข้าใจความแตกต่างนี้ก่อนที่จะเข้ามาลงทุน

ปกติเราไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของกองทุนเฮ็ดจฟันด์เพราะหน่วยงานทางด้านสถิติของรัฐบาลไม่ได้ตรวจสอบบริษัทแบบนี้
 
 โจคิดว่านอกจากกองทุนเฮ็ดจฟันด์แล้ว ธนาคารในญี่ปุ่นก็ควรจะทำธุรกิจในต่างประเทศในแถบเอเซียมากกว่านี้  

ดูเหมือนว่าหลายธนาคารเข้าใจถึงโอกาสในการทำธุรกิจที่ต่างประเทศแล้วแต่ยังกลัวความเสี่ยงทางด้านตลาดการเงิน การเมือง และเศรฐกิจมากกว่าบริษัทการเงินของต่างประเทศอยู่




อ้างอิง
The crocodiles are coming (Oct 29th 2011 From The Economist)

Monday, 14 November 2011

นิตยสาร Courrier Japon

อาทิตย์ที่แล้วโจซื้อนิตยสาร Courrier Japon มาอ่านเป็นครั้งแรก 
 
ปกติโจไม่ค่อยซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร นอกจาก หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น  Financial Times, The Wall Street Journal และนิตยสาร The Economist 

แต่รู้สึกว่าคุณภาพนิตยสารนี้ดีเพราะทุกบทความมีแค่ ๑-๒ หน้าแต่สรุปข่าวต่างประเทศให้เข้าใจได้ง่าย   

นอกจากนี้แล้วนิตยสารนี้มีหลายเรื่องเกี่ยวกับหลายประเทศและมีหลายความคิดเห็นหลากหลายเพราะบทความของนิตยสารนี้มาจากหลายนิตยสารกับหนังสือพิมพ์ทั่วโลก


โจรู้สึกสนใจข่าวจากทั่วโลกแต่หนังสือพิมพ์กับนิตยสารส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นมุ่งเน้นหัวข้อในประเทศกับเหตการณ์ในต่างประเทศที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
โจคิดว่าเนื้อหาของนิตยสาร The Economist ครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลกและความคิดเห็นของนิตยสารนี้ก็ดีมากแต่บางทีรู้สึกว่าความคิดเห็นของนิตยสารนี้ไม่เหมือนกันกับนิตยสารอื่นและอยากรู้ความคิดเห็นของคนอื่นด้วย

Sunday, 13 November 2011

ริอานน่า

นักร้องริอานน่าจะวางขาย อัลบั้มใหม่
โจรู้สึกว่าตั้งแต่เขาเริ่มเข้าสู่วงการจนถึงตอนนี้ภาพลักษณ์ของเขาเปลี่ยนแปลงมาก
สมัยก่อนทุกคนคิดว่าเขาน่ารัก และวิธีการร้องเพลงของเขาก็น่ารักมาก

แต่ตั้งแต่ ๑-๓ ปีที่แล้ว ภาพลักษณ์ของเขาเปลี่ยนเป็นแบบเซ็กส์ซี่และดูเหมือนว่ามีโอกาสได้ร้องกับนักร้องที่ดี (เช่น เอ็มมิเน็ม เจย์-ซี และ คานเยเวสต์เป็นต้น)มากขึ้น
เดี๋ยวนี้ ภาพลักษณ์ของเขาเปลี่ยนเป็นแบบแรงๆ(ไม่รู้ว่าเขานึกออกเลดี้กาก้าหรือเปล่า)
ไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับนิสัยของเขา(แต่ได้ยินว่ามีปัญหาอยู่)แต่อยางไรก็ตามโจชอบสไตล์เพลงกับเสื้อผ้าของเขา

Saturday, 12 November 2011

นายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโกนี


อาทิตย์นี้นายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโกนีตัดสินใจว่าเขาจะลาออก

ตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อนนิตยสาร The Economist บอกว่า เขาจะต้องลาออก เพราะนโยบายของเขาไม่ดีเลย นอกจากนี้แล้วนิสัยของเขาก็มีปัญหามาก(เขามีปัญหาเกี่ยวกับผู้หญิงมาก)และเรื่องนี้ทำให้ความเป็นผู้ของประเทศอิตาลีในโลกลดลง
โจก็คิดว่าเขามีปัญหามากและไม่ค่อยเหมาะกับตำแหน่งนายก แต่โจคิดว่าเขาได้เป็นนายกฯนานเพราะนอกจากข้อเสียแล้ว นิสัยของเขามีส่วนดีมากด้วย
(คิดว่าการแสดงออกทางสีหน้าอยางตรงไปตรงมาของเขาทำให้เราชอบเขา จริงๆรู้สึกว่าสีหน้าของเขาแสดงออกให้เห็นถึงความรู้สึกของเขามาก 
เมื่อเขารู้สึกดีเขายิ้ม เมื่อรู้สึกโกรธเขาโมโหมาก เมื่อรู้สึกเสียใจเขาร้องให้เป็นต้น  คิดว่านายกฯของประเทศอื่นไม่ค่อยแสดงความรู้สึกของตัวเอง )

คิดว่าการเปลี่ยงแปลงนายกฯก็ยังไม่พอและไม่แน่ใจว่าการลดลงของงบประมาณรัฐบาลจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่
แต่ถ้าสถานการณ์ของประเทศอิตาลีแย่ลงและขอความช่วยเหลือจาก IMF กับ EU จะทำให้เศรษฐกิจโลกแย่ลงด้วย(เครษฐกิจของประเทศอิตาลีมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๓ ในยูโรโซน)
                                     
อ้างอิง
That’s all, folks (Nov 12th 2011 From The Economist)
Addio, Silvio (Nov 12th 2011 From The Economist)
Rushing for the exits (Nov 12th 2011 From The Economist)
The man who screwed an entire country (Jun 9th 2011 From The Economist)