Sunday, 29 January 2012

เรื่องลึกลับของผึ้ง


วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับผึ้ง
บทความนี้บอกว่าตั้งแต่ ๕ ปีที่แล้วถึงตอนนี้หลายประเทศมีเหตุการณ์ที่น่าแปลกใจเกิดขึ้น (เหตุการณ์นี้ส่วนใหญ่เกิดที่สหรัฐอเมริกา) ผึ้งหลายตัวหายและตายไป (บางที่ ผึ้งหายและตายไปถึง๒๕ เปอร์เซ็นต์ ) เหตุการณ์นี้ส่งผลแย่ต่อเกษตรกรรมเพราะผึ้งกินแมลงที่ทำลายพืชผลทางการเกษตร
บางคนบอกว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ผึ้งหายและตายไปได้แก่  ควาเครียดที่มาจากหลายสิ่ง(ผึ้นเป็นสัตว์ที่ทนต่อความเครียดไม่ค่อยได้) โรคขาดอาหาร  ปุ๋ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
เรายังไม่แน่ใจว่าปัจจัยอะไรถูกแต่บทความนี้อธิบายถึงผลของการทดสอบทางยาฆ่าแมลงและบอกว่าปัจจัยนี้มักจะทำให้วิธีการสร้างรังของผึ้งเปลี่ยนแปลง (การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการหายและตายไป)
โจไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ แต่เคยได้ยินว่า เลมมิง(หนู)ก็หายและตายไปบ่อยๆ (จำนวนเลมมิงลดลงทุก ๓-๔ ปี แต่เรายังไม่แน่ใจว่าอะไรทำให้เลมมิงหายและตายไป) สำหรับเลมมิงหลายคนมีความเชื่อที่ผิดๆว่าเลมมิงมีลักษณะนิสัยที่ฆ่าตัวตายด้วยกัน 
การวิจัยพฤติกรรมของสัตว์ก็น่าสนใจมาก

อ้างอิง
Bee off (From The Economist Jan 28th 2011)

Saturday, 28 January 2012

ดรรชนีที่แสดงความสามารถในการยืดหยุ่นของนโยบายการคลังกับนโยบายการเงิน


วันนี้โจเห็นดรรชนีที่น่าสนใจ ดรรชนีนี้แสดงความสามารถในการยืดหยุ่นของนโยบายการคลังกับนโยบายการเงิน
เมื่อเศรษฐกิจแย่ลง รัฐบาลกับธนาคารกลางอยากจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการคลังกับนโยบายการเงินเพื่อทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ที่หลายประเทศไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้เพราะว่ารัฐบาลมีปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณ อัตราเงินเฟ้อสูงมากแล้วและไม่อยากทำให้อัตราเงืนเฟ้อสูงกว่าตอนนี้ หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่ำแล้วและไม่อยากทำให้ต่ำกว่าตอนนี้เป็นต้น
ดรรชนีนี้มาจากสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์เหล่านี้และแสดงว่าเมื่อเศรษฐกิจแย่ลงรัฐบาลกับธนาคารกลางสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้มากแค่ไหน(ถ้าไม่มีความสามารถในการยืดหยุ่น หมายความว่าเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมาก)



หลายคนคิดว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนามีความสามารถในการยืดหยุ่นของนโยบายมากกว่าแต่ในประเทศกำลังพัฒนา สถานการณ์ไม่เหมือนกัน ดรรชนีแสดงให้เห็นว่าประเทศอินเดีย บราซิลและเวียดนามไม่ค่อยมีความสามารถในการยืดหยุ่น(อัตราเงินเฟ้อสูงมาก และ งบประมาณของรัฐบาลก็มีหนี้มาก) แต่ประเทศจีน อินโดนีเซีย และ รัสเซียมีความสามารถในการยืดหยุ่นมาก

โจยังไม่ค่อยได้ตรวจดูปัญหาเกี่ยวกับวิธีคำนวณดรรชนีนี้ แต่รู้สึกว่าดรรชนีนี้ดีเพราะไม่เคยเห็นดรรชนีแบบนี้ที่แสดงความสามารถในการยืดหยุ่นของนโยบายและเข้าใจง่ายบทความนี้มีแค่ดรรชนีของประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นแต่อยากให้มีดรรชนีของประเทศพัฒนาแล้วด้วย

อ้างอิง
Shake it all about (From The Economist Jan 28th 2011
Waiting for the green light (From The Economist Jan 28th 2012)

Tuesday, 24 January 2012

การลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนา


วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจ 
เดี๋ยวนี้บางคนคิดว่าในอนาคตความสำคัญทางด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาในโลกจะลดลงเพราะการลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มเร็วกว่าสหรัฐอเมริกา แต่นักเขียนของบทความนี้บอกว่าความคิดเห็นนี้ไม่ค่อยถูก
เขาชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาไม่ได้แปลว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีจะเพิ่มขึ้น(การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาคืออินพุต และ การพัฒนาเทคโนโลยีคือเอาท์พุต)
จริงๆแล้วการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนามีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต แต่การพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นอยู่กับผลิตภาพด้วยถ้าผลิตภาพของการวิจัยกับพัฒนาเพิ่มมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา เรื่องที่การลดทุนด้านการวิจัยและพัฒนามีขนาดลดลง ไม่ได้แปลว่าความสำคัญทางด้านเทคโนโลยีของอเมริกาจะลดลงด้วย
นอกจากนี้แล้ว เขาชี้ให้เห็นว่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิ่มขึ้นเพราะว่าบริษัทของอเมริกาที่มีสาขาที่นั้นกำลังเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอยู่
โจก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนักเขียน แต่คิดว่าการที่จะตรวจสอบว่าการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังเพิ่มอยู่นั้นมาจากการลงทุนของบริษัทของอเมริกาจริงหรือไม่ได้ยากมาก (เพราะเราจะต้องจัดเรียงข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนใหม่ และจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับ เอาท์พุต การพัฒนาเทคโนโลยี)
อยากให้หน่วยงานสถิติคำนวณแทนโจ (ข้อมูลนี้อาจจะมีความสำคัญมาก)

อ้างอิง
Brain gain (From The Economist Jan 21th 2012)

Saturday, 21 January 2012

เขื่อนไซยะบุรี


วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรี(เขื่อนที่อยู่ในประเทศลาว)

บทความนี้บอกว่าประเทศลาวกำลังอยากจะสร้างเขื่อนนี้เพราะประเทศลาวอยากจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่นี่และ อยากจะส่งออกไฟฟ้า แต่นอกจากประเทศลาว หลายประเทศที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำโขงไม่อยากให้ประเทศลาวสร้างเขื่อนนี้ เพราะว่าทุกประเทศกลัวว่าการสร้างเขื่อนนี้
จะส่งผลแย่ต่อสิ่งแวดล้อม

 สำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(สมาคมที่มาจากประเทศ ลาว ไทย เวียดนาม และกัมพูชา )ตัดสินใจว่าจะไม่ยอมรับการสร้างเขื่อนนี้เพราะยังไม่มีข้อมลจากการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากพอ(แต่สำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงไม่มีอำนาจพอที่จะทำให้ประเทศลาวหยุดสร้างเขื่อนนี้)
มีคนบอกว่าสำหรับเรื่องนี้ประเทศไทยมีอทธิผล เพราะบริษัทพลังงานของประเทศไทยอาจจะซื้อไฟฟ้าที่มาจากเขื่อนนี้ นอกจากนี้แล้วธนาคารของประเทศไทยปล่อยกู้ให้บริษัทไทยที่จะสร้างเขื่อนนี้ นอกจากประเทศลาวแล้ว ประเทศจีนก็กำลังอยากจะสร้างเขื่อนที่แม่น้ำโขง
ก่อนโจอ่านบทความนี้โจไม่เคยฟังเรื่องนี้ เรื่องเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนนี้ดูเหมือนว่ามีความสำคัญมากๆสำหรับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศลาวกับปรพเทศอื่น แต่หนังสือพิมพ์กับนิตยสารของญี่ปุ่นไม่มีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ 
โจยังไม่เข้าใจสถานการณ์นี้และยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นยังไงในอนาคต อยากให้มีบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ในแถบแม่น้ำโขงมากกว่านี้
 
อ้างอิง
In Suspension ( Jan 7th 2012 From The Economist)