วันนี้โจอ่านบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการตัดสินใจโดยใช้คติธรรม
นอกจากบทความนี้แล้ว บางที่นิตยสาร The
Economist ก็มีบทความเกี่ยวกับการใช้ภาษาต่างประเทศต่อวิธีคิดและชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การใช้ภาษาต่างประเทศจะเปลี่ยนวิธีคิด/ลักษณะนิสัยของคนที่พูด
เช่น เมื่อพูดภาษาต่างประเทศ บางคนพูดมากกว่าปกติ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถบอกได้ว่าความคิดนี้จริงๆถูกหรือไม่
บทความที่โจอ่านวันนี้แนะนำการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ภาษาต่างประเทศต่อการตัดสินใจโดยใช้คติธรรมโดยใช้ตัวอย่าง
“ปัญหา รถราง” ในตัวอย่างนี้ มีรถรางที่เบรกเสียแล้ว ถ้ารถรางนี้ไปตรงไปโดยไม่หยุด คนที่อยู่บนทางรถไฟ
๕ คนจะเสียชีวิต แต่ถ้าคนขับรถเลี้ยวไปทางอื่น คนอื่นที่อยู่ทางรถไฟนี้ แค่ ๑ คนจะเสียชีวิต
และ ๕ คนนั้นจะสามารถรอดชีวิตได้ สำหรับปัญหานี้ บางคนไม่ยอมรับ แต่หลายคนคิดว่าคนขับรถควรจะเลี้ยวดีกว่าเพราะฆ่า
แค่ ๑ คนดีกว่า ฆ่า ๕ คน
แต่ถ้าสถานการณ์เปลียนนิดหน่อย
ความคิดของเราก็เปลี่ยนด้วย ในสถานการณ์ใหม่ มีรถรางที่เบรกเสียและถ้ารถรางนี้ไปตรงไปโดยไม่หยุดคน ๕ คนจะเสียชีวิตเหมือนกัน แต่ไม่มีทางรถไฟอื่นและมีผู้ชายที่อยู่บนสะพานเหนื่อทางรถไฟแทน
เขาตัวใหญ่มากและอ้วนมากด้วย ถ้าเราผลักเขาตกลงไป เขาจะโดนรถรางชนต่ายเสียชีวต แต่รถรางจะหยุดและคน
๕ คนสามารถรอดชีวิตได้ ถ้าอยากจะช่วยหลายคน
เราควรจะผลักเขา แต่บางคน คนที่บอกว่าคนขับรถควรจะเลี้ยวในสถานการณ์ก่อนก็ไม่เห็นด้วย สำหรับบางคนนักวิจัยถามเรื่องนี้โดยใช้ภาษาแม่ของคนที่ตอบ
และสำหรับบางคนใช้ภาษาต่างประเทศ เขาเข้าใจว่าถ้าเปลี่ยนภาษา อัตราส่วนของคำตอบก็เปลี่ยนแปลงด้วยและเมื่อเราเข้าใช้ภาษาต่างประเทศ
อัตราส่วนที่คิดว่าเราควรจะผลักผู้ชายตกลงสูงขึ้นยังไม่แน่ใจว่าความแตกต่างนี้มาจากภาษาเท่านั้นหรือไม่
แต่นักเขียนบอกว่าเมื่อเราคิดโดยใช้ภาษาแม่ เรามักจะคิดด้วยความรู้สึกมากกว่าคิดด้วยเหตุผล
(ดูเหมือนว่าสมองที่ทำงานจะไม่เหมือนกันระหว่างภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศ)นักเขียนบอกว่าบางทีการใช้ภาษาต่างประเทศก็เลยทำให้เราคิดมีเหตุผล
http://www.olamoller.com/intuitive-vs-rational/ |
แต่โจไม่เคยรู้สึกว่าเมื่อใช้ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
การตัดสินใจโดยใช้คติธรรมของตัวเองเปลี่ยนและคิดมีเหตุผลมากกว่าภาษาญี่ปุ่น
อ้างอิง : Language and morality/ Gained in translation (May 17th 2014)