Monday, 26 October 2015

ไม่ได้เขียนไดอารี่นานๆ

หลังจากโจย้ายมาทำงานที่สิงคโปร์ ราวๆ ๖ เดือนผ่านไปแล้ว ใน ๖ เดือนที่ผ่านมาไม่ได้เขียนภาษาไทยเลย รู้สึกว่าตัวเองลืมการสะกดภาษาไทยทั้งหมดแล้ว (เขียนไดอารี่ครั้งนี้ก็เลยใช้เวลานานกว่าเมื่อก่อน) บริษัทของโจให้โจมีโอกาสทำงานที่ธนาคารสาขาสิงคโปร์ และโจทำงานแผนกเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเซีย รู้สึกตกใจมากและรู้สึกเป็นพรหมลิขิตที่ตัวเองมาทำงานที่นี่ เพราะว่าก่อนโจรู้ว่าตัวเองจะมาทำงานที่นี่ โจอ่านหนังสือเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ (อัตชีวประวัตของ ลี กวนยู กับประวัติศาสตร์สิงคโปร์) โดยบังเอิญ

การทำงานของที่นี่คล้ายกันกับบริษัทตัวเอง แต่กว่าจะเคยชินกับสถานการณ์ใหม่ต้องใช้เวลามากกว่า ๕ เดือน เพราะว่าบรรยากาศกับวัฒนธรรมของธนาคารไม่เหมือนกันกับบริษัทของโจเลย (ไม่อยากเชื่อว่าบริษัทของโจก็เป็นบริษัทของกลุมการเงินเดียวกันและไม่อยากเชื่อว่าเจ้านายของบริษัทโจหลายคนมาจากธนาคาร) เปรียบเทียบกับสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจ รู้สึกว่าธนาคารเข้มงวดกับทุกอย่างและมีระเบียบมาก (รู้สึกว่ายไม่ค่อยมมีเสรีภาพในการทำงานและตอนแรกรู้สึกอึดอัดกับสาถานการณ์ใหม่) คิดว่าการทำงานโดยใช้ภาษาอังกฤษและการอาศัยอยู่ต่างปรเทศไม่ค่อยเกี่ยวกับความเหนื่อยนี้ จริงๆแล้วอาจจะมีเวลาว่างมากกว่าที่ญี่ปุ่น (สามารถกลับบ้านก่อน ๒ ทุ่มได้และไม่ต้องไปทำงานวันเสาร์อาทิตย์ด้วย) แต่หลังจากทำงานรู้สึกเหนื่อยมากกว่าญี่ปุ่นและพักผ่อนเท่าไรก็ยังรู้สึกเหนื่อย ดังนั้นไม่ได้มีอารมณ์เรียนภาษาไทย/ไปเที่ยวต่างประเทศเลย  (จริงๆแล้วนอกจากการเปลี่ยนบริษัทแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้โจรู้สึกเหนื่อยและไม่สบายด้วยเช่น มลพิษทางอากาศ ความหนาวของออฟฟิศ และ เตียงใหม่(ไม่เหมาะสมกับตัวเอง?) เป็นต้น เข้าใจว่าตัวเองตัวไม่แข็งแรงเลย ก่อนมาที่นี้โจคิดว่าตัวเองจะไปเที่ยวไทยบ่อยๆ แต่ไม่ได้ไปเที่ยวเลย 


แต่ในที่สุดเดี๋ยวนี้เรีมรู้สึกว่าตัวเองเคยชินนิดหน่อยและไม่ค่อยรู้สึกเหนื่อยเหมือนเมื่อก่อน จึงอยากจะทำหลายสิ่งที่ไม่สามารถทำได้เช่นเรียนภาษาไทยโดยเขียนไดอารี่เกี่ยวกับความคิดเห็นที่โจคิด หลังจากมาที่นี้ เรียนภาษาอังกฤษ เขียนรายงานทางการศึกษา ออกกำลังกาย และ ไปเที่ยวในสิงคโปร์และต่างประเทศด้วย

Monday, 23 March 2015

R.I.P ลี กวน ยู

รู้สึกเสียใจและรู้สึกหลายสิงที่รู้ว่าเขาเสียชีวิตแล้ว


http://www.cnn.co.jp/photo/l/469923.html


ขอให้เขหลับให้สบายครับ

Sunday, 15 March 2015

ได้เพื่อนคนอินเดีย

ตั้งแต่เมื่อก่อนโจมีโอกาสเจอกับเลขานุการเอกทางเศรษฐกิจของประเทศอินเดียบ่อยๆ (ตอนแรกเขามาสัมภาษณ์เพื่อนร่วมงานของโจที่รับผิดชอบกับการวิจัยเศรษฐกิจจีน แต่หลังจากนั้น เขาก็มาสัมภาษณ์โจด้วยเพื่อเรียนรู้สถานการณ์เศรษฐกิจของอาเซียน) ราวๆ ๖ เดือนที่แล้ว เขากลับอินเดีย และ คนใหม่ที่มาแทนก็มาสัมภาษณ์โจต่อไป รู้สึกตกใจที่รู้ว่าทั้ง ๒ คนรู้สึกสนใจกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจีนกับประเทศอื่นในเอเซียมาก (การเรียนรู้เศรษฐกิจจีนไม่ใช่การทำงานของพวกเขา แต่พวกเขามีความชอบ/ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เศรษฐกิจจีน)

นอกจากวันธรรมดาแล้ว เขาเชิญโจทานอาหารอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้งในสุดสัปดาห์ด้วย ตอนแรกโจรู้สึกว่าเขาเป็นแค่คนรู้จักเฉยๆ แต่เดี๋ยวนี้โจรู้สึกว่าเขาเป็นเพื่อนคนอินคนเดียแรกของโจแล้ว (โจเข้าใจว่านอกจากสถานการณ์ที่เราทานอาหารด้วยกันบ่อยๆเพราะว่าเป็นเพื่อนกันอยู่แล้ว บางทีเราทานอาหารด้วยกันบ่อยๆแล้วกลายเป็นเพื่อนก็มีด้วย) เขาอายุมากกว่าโจมากกว่า ๒๕ ปี แต่นิสัยสุภาพและมีมารยาทมากด้วย(ไม่มีเพื่อนคนอังกฤษแต่เหมือน สุภาพบุรุษอังกฤษ ที่โจคิดเอาไว้)


ความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น จีน และอินเดียก็น่าสนใจมากด้วย  ดูเหมือนว่าเขาจะอยู่ที่โตเกียวอีก ๒ ปีและ จะกลับอินเดียเกษียณอยู่บ้านที่อยู่ที่ต่างจังหวัด หวังว่าหลังจากเขากลับอินเดียเขาจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนกับเอเซียโดยใช้ภาษาฮินดีได้และหวังว่าโจก็จะมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านเขาด้วยเช่นกัน

Friday, 13 March 2015

สัญญากับสำนักงานคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้ว

๔ ปีที่แล้วบริษัทของโจให้โจมีโอกาสทำงานที่สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจของสำนักงานคณะรัฐมนตรีเป็นพนักงานประจำ ๑ ปี ตอนนั้นโจทำงานที่แผนกบัญชีประชาชาติและ เข้าร่วมโครงการที่แก้ไขความแตกต่างทางสถิติระหว่าง GDP  ทางด้านรายจ่าย ด้านรายได้ และ ด้านการผลิต

http://www.adb.org/publications/supply-and-use-tables-selected-economies-asia-and-pacific-research-study
หลังจากโจกลับบริษัท โจทำสัญญากับรัฐบาลและทำงานเป็นนักวิจัยที่ช่วยเหลือบางครั้งในช้วง ๓ ปีที่ผ่านมาโครงการนี้ยังไม่เสร็จ แต่พัฒนาเร็วกว่าที่คิดเอาไว้และสิ่งที่โจสามารถช่วยเหลือได้ก็เสร็จแล้วส่วนใหญ่
อาทิตย์นี้โจจึงตกลงว่าจะไม่ทำสัญญาต่อในปีงบประมาณหน้า (จริงๆแล้วมีเหตุผลอื่นด้วย)วันนี้โจคิดถึงตอนที่ทำงานที่รัฐบาลและรู้สึกเสียใจนิดหน่อยที่หลังจากนี้โอกาสที่จะไปรัฐบาลและเจอกับเพื่อนร่วมงานลดลง (แต่เพื่อนร่วมงานเมื่อโจทำงานส่วนใหญ่ย้ายแผนกแล้ว)
โจรู้สึกว่าการทำงานที่รัฐบาลทำให้โจเรียนรู้หลายสิ่งและประสบการณ์ของตัวเองเพิ่มขึ้นมากด้วยนอกจากนี้แล้ว ดีใจที่ได้รู้จักหลายคนที่เกี่ยวกับไทย(สำนักงานคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย และมีหลายคนที่เคยทำงานที่ไทย เจ้านายของแผนกอื่นที่เคยทำงานที่ไทยและรู้ว่าโจรู้สึกสนใจเศรษฐกิจไทยให้โจมีโอกาสทำงานแผนกอื่นด้วยและโจสามารถไปสัมภาษณ์ที่ไทยได้)  คิดว่าถ้าทำงานนี้ต่อไปเป็นอาชีพ ตัวเองอาจจะมีโอกาสอื่นที่จะเข้าร่วมโครงการของรัฐบาลแต่คิดว่าครั้งแรกเป็นครั้งพิเศษมากๆ  ครั้งแรกบริษัทให้โจมีโอกาสที่ดี  แต่คราวหน้าโจอยากจะได้รับโอกาสเองโดยใช้ความสามารถในการวิจัยเอง(อยากจะมีความสามารถที่ดีที่เหมาะสมกับการได้รับโอกาสที่ดี)และอยากจะเพิ่มประสบการณ์ด้วย

Sunday, 1 March 2015

งบประมาณของรัฐบาลสิงคโปร์

วันนี้โจเช็คงบประมาณของรัฐบาลสิงคโปร์ปีนี้ (ตั้งแต่ เมษายนปีนี้ ถึง มีนาคมปีหน้า) ที่รัฐบาลเปิดเผยอาทิตย์ ดูเหมือนว่าปีนี้รัฐบาลเพิ่มค่าใช้จ่ายขี้นสูงกว่ารายได้จากภาษีที่ได้รับเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน(รวมการพัฒนา terminal ใหม่ของสนามบินชางงีกับท่าเรือสิงคโปร์) เพิ่มขึ้นมาก  ดังนั้น การขาดดุลงบประมาณจะสูงที่สุดหลังจากปีที่เกิดวิกฤตการเงินโลกเมื่อ ๖ ปีที่แล้ว โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่ารัฐบาลสิงคโปร์กำหนดงบประมาณอย่างรอบคอบมาก ตั้งแต่เมื่อก่อนการขาดดุล(การเกินดุล)งบประมาณรัฐบาลสิงคโปร์น้อย(มาก)กว่าที่รัฐบาลคิดเอาไว้ 
ไม่แน่ใจว่าการเพิ่มค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเกี่ยวกับการเลือกตั้งของปีหน้า(หรือ ๒ ปีหน้า)แค่ไหน แต่ดูเหมือนว่านโยบายสำหรับผู้สูงอายุ วัยรุ่น คนต่างชาติ การลงทุนก็เปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจในระยะยาว มีคนญี่ปุ่นที่ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระยะสั้นน้อย แต่โจรู้สึกว่ามีหลายสิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถเรียนรู้ได้

Saturday, 28 February 2015

การเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน GDP ของประเทศอินเดีย

เดือนนี้ประเทศอินเดียเปิดเผย GDP ที่ใช้มาตรฐานใหม่  เมื่อเช็คตัวเลขใหม่ นอกจากโจแล้ว หลายคนรู้สึกงง เพราะว่าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของเมื่อก่อนเพิ่มขึ้นมาก (GDP ที่ใช้มาตรฐานเก่าแสดงให้เห็นว่าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของปีที่แล้วราวๆ๕.๕ เปอร์เช็นต์ แต่มาตรฐานใหม่แสดงว่าอัตรานั้นสูงกว่า ๗ เปอร์เซ็นต์) 
GDP Growth in India and China / Catching the dragon (Feb 9th 2015)
ยังไม่แน่ใจว่า GDP ใหม่ที่สะท้อนเศรษฐกิจแท้จริงมากกว่า GDP เก่าหรือไม่ โจคิดว่าตั้งแต่ปีที่แล้วเศรษฐกิจอินเดียเริ่มค่อยๆดีขึ้น แต่สถิติอื่นเช่น ดัชนีการผลิตของอุตสาหกรรมการผลิต ยอดขายรถยนต์ การส่งออก และ PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ) แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอินเดียยังไม่ค่อยดีไม่เหมือนตัวเลขของ  GDP ใหม่
"Even the RBI's Rajan is Congused by India's New GDP Numbers" From The Wall Street Journal (Feb 3rd, 2015)
http://blogs.wsj.com/indiarealtime/2015/02/03/even-the-rbis-rajan-is-confused-by-indias-new-gdp-numbers/
อยากจะรู้รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานและอยากจะรู้ว่าถ้าการปฎิรูปทางเศรษฐกิจดำเนินต่อไป อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะสูงกว่า ๙ เปอร์เซ็นต์ หรือไม่


Sunday, 22 February 2015

บริการขนส่งของสนามบินชว่งดึกของสนามบินคันไซ

เมื่อโจไปเที่ยวโอซาก้า โจรู้สึกว่าบริการขนส่งของสนามบินตอนดึกของสนามบินคันไซไม่ดีเลย (โดยเฉาพาะสำหรับคนต่างชาติ) หลังจากบริการรถไฟใต้ดิหมด (23:40) หาแท็กซี่ยากมาก

โจเข้าใจผิดว่าจะถึงกีโมงก็หาแท็กซีไม่ยาก แต่ดูเหมือนว่าถ้าไม่อยากรอนานๆจะต้องจองก่อน มีรถบัสที่ไปอุเมะดะแต่รถบัสนี้ไม่แวะที่อื่นและไม่สะดวกเลยสำหรับคนที่อยากจะพักใกล้สนามบิน
http://www.okkbus.co.jp/en/index3.html
รู้สึกโชคดีที่คนที่รอแท็กซีกับโจเช็คข้อมูลและบอกให้รู้ว่ามีบริการรถบัสที่ไประยะใกล้(ออกชั่วโมงละ 1 ครั้ง) แต่คิดว่าถ้าเขาไม่บอกให้โจรู้ โจคงไม่สังเกตเห็นบริการนี้เลยแน่ๆ รู้สึกตกใจที่รู้ว่าไม่มีพนักงานของสนามบินที่ช่วยคนที่มีปัญหาเลย นอกจากนี้แล้วรู้สึกตกใจที่รู้ว่าคนขับรถบัสพูดแค่ภาษาญี่ปุ่นและไม่มีประกาศภาษาอังกฤษ


โจรู้สึกกลัวว่าคนต่างชาติจะมีภาพไม่ดีกับบริการญี่ปุ่นและคิดว่ารัฐบาล/บริษัทที่จัดบริการสนามบินจะต้องเปลี่ยนสถานการณ์ให้ดีขึ้น

Saturday, 21 February 2015

ไปเที่ยวโอซาก้ากับนะระ

อาทิตย์ที่แล้วโจไปเที่ยวโอซาก้ากับนะระมา  เมื่อก่อนโจเคยไปเที่ยวนะระกับครอบครัว ตอนนั้นโจไม่ค่อยจำที่อยู่ของสถานที่ท่องเที่ยวเพราะว่าพ่อแม่เป็นคนพาเที่ยวและไม่ต้องเช็คแผนที่เอง ครั้งนี้ไปเที่ยวเองและโจสามารถเข้าใจแผนที่ของนะระได้มาก
ครั้งนี้รู้สึกว่าไปเดินเล่นสวนสาธารณะ นะระ โดยให้อาหารให้กวางก็สนุกดี บรรยากาศวัดโทไดก็ดีตอนโจไปเที่ยวตอนกลางคืนมีเทศการอิลูมิเนชันชื่อ Nararurie และไปเดินเล่นแถวๆวัดโทไดอีก ๑ รอบ เดินเล่นตอนกลางคืนถึงจะหนาวมากแต่วิวก็สวยมาก  นอกจากดูวิวแล้วดีใจที่ได้ดูดอกไม้ไฟด้วย
หลังจากนั้นโจไปเที่ยวโอซาก้าต่อ โจไปเที่ยวโดตมโบะริ กับพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำรู้สึกว่าไปที่ไหนก็มีนักท่องเที่ยวคนจีนมาก ก่อนกลับโตเกียวแวะโรงอาบน้ำสาธารณะที่อยู่ใกล้สนามบินด้วย ไม่ค่อยมีเวลาอยู่ที่นี่นาน แต่รู้สึกว่าที่นี่น่าอยู่มากและสามารถอยู่ตลอดวันได้
คราวหน้าถ้ามีโอกาสไปเที่ยวภาคคันไซ อยากจะไปเที่ยวจังหวัดอื่นที่ยังไม่เคยไป (เช่น วะกะยะมะ เฮียวโงะ)

Sunday, 1 February 2015

เพื่อนสนิทเป็นโรคซึมเศร้า

http://www.thelistorian.com/10-astonishing-statistics-about-world-health/
ไม่รู้ว่าทำไม แต่ดูเหมือนว่า ตั้งแต่ราวๆ ๑ เดือนที่แล้ว เพื่อนสนิทคนหนึงเป็นโรคซึมเศร้า เขาบอกว่าตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าอะไรทำให้เขารู้สึกกังวลมาก แต่เดี๋ยวนี้ไม่สามารถนอนได้(ตื่นนอนทุก๑-๒ ชั่วโมง) ไม่ค่อยมีอารมณ์ทานอาหาร จังหวะหายใจกับหัวใจเต้นก็ไม่เป็นปกติและเหนื่อยได้ง่ายด้วย  (โจก็รู้สึกว่าเขาไม่เป็นปกติ แต่ไม่แน่ใจว่าเพราะว่าเจอกับเขาบ่อยๆหรือไม่ จึงไม่ได้สังเกตเห็นว่าน้ำหนักของเขาลดลงมากกว่า ๙  กิโล) เขาไปหาหมอแล้วและ ตอนนี้กินยาที่ทำให้นอนได้ง่าย แต่เขาบอกว่าไม่อยากอยู่คนเดียวในวันสุดสัปดาห์และมาพักบ้านโจบ่อยๆ (สงสัยว่าเขาเข้าใจผิดว่าที่นี่เป็นโรงพยาบาล หรือ โรงแรม/รีสอร์ทหรือเปล่า) อยากจะรู้ว่าจะช่วยเขาอย่างไรดี (ถ้ารู้ความกังวลของเขาแล้ว ก็ช่วยได้ แต่ถ้าไม่รู้ว่าอะไร คือ เหตุผล ก็ช่วยยาก)

Sunday, 25 January 2015

เศรษฐกิจไทยถึง ปี ๒๕๖๓

เมื่อวานนี้โจได้รับรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยจากคนที่รู้จักของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจอื่นเขียนพวกเขาเขียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปีนี้ถึง ปี ๒๕๖๓ และสรุปว่ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะไม่ค่อยดีขึ้นในอีก ๖ ปี ข้างหน้านและอัตราการขยายตัวตามศักยภาพก็จะค่อยๆลดลง พวกเขาคิดอย่างนี้เพราะว่าการปฏิรูปของเศรษฐกิจกับการเมืองอาจจะใช้เวลาอีกนานและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ปรากฏในระยะสั้น นอกจากนี้แล้วสังคมไทยจะเข้าสูสังคมผู้สูงอายุและจำนวนแรงงาน (อายุระหว่าง ๑๕ ปีถึง ๖๔ ปี) จะเริ่มลดลงอีกใน ๓-๔ ปี และเกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจด้วย โจก็เข้าใจและเห็นด้วยกับความคิดเห็นของพวกเขาบางที่ แต่โจรู้สึกสงสัยว่าพวกเขามองในแง่ร้ายโดยตรวจสอบไม่ค่อยละเอียด (การวิเคราะห์ไม่พอ)
เช่นถ้าพวกเขาอยากจะบอกว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ค่อยดีขึ้น พวกเขาจะต้องอธิบายว่าการส่งออก (โดยเฉพาะการส่งออกที่ไปประเทศจีน) ก็ไม่เพิ่มขึ้นต่อไปหรือไม่ และอุปสงค์ HDD ของโลกก็ไม่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ด้วย (โจคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่การส่งออกของไทยจะเพิ่มอีก เพราะว่าถ้าเปรียบเทียบอัตราขยายตัวเศรษฐกิจต่างประเทศ อัตราขยายตัวของการส่งออกตอนนี้ต่ำไป จริงๆแล้วอัตราขยายตัวของประเทศจีนค่อยๆลดลง แต่ยังมากกว่า ๗ เปอร์เซ็นต์ แต่การส่งออกของประเทศไทยที่ไปจีนไม่เพิ่มเลย  ตอนนี้อุปสงค์ HDD โลกไม่เพิ่มเพราะว่าหลายคนใช้ SSD แทน HDD แต่มีคนคิดว่าตอนนี้การย้ายจากคอมพิวเตอร์ เป็น แท็บเล็ตทำให้ยอดขาย HDD ลดลงแต่ อุปสงค์ ของ HDD สำหรับศูนย์ข้อมูลยังค่อยๆเพิ่มขึ้น และในระยะยาวการลดลงที่มาจากการย้ายจาก HDD ถึง SSD จะหยุด และการเพิ่มอุปสงค์ของศูนย์ข้อมูลทำให้เพิ่มยอดขายอีกครั้ง นอกจากนี้โจรู้สึกแปลกใจว่าทำไมพวกเขาไม่บอกอะไรเกี่ยวกับยอดขายของรถยต์เลย เพระว่าการลดลงของยอดขายรถยนต์หลังจากนโยบายคืนภาษีเสร็จ คือ เหตุผลหลักต่อเศรษฐกิจไม่ดีเดี๋ยวนี้  ถ้าพิจารณาการพัฒนาเศรษฐกิจหรือการเพิ่มรายได้กับอัตราที่มีรถยนต์ โจคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่ยอดขายจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง อยากจะรู้ว่าพวกเขาคิดว่ายอดขายของรถจะเป็นอย่างไรนอกเหนือไปจากนี้ โจอยากจะรู้ว่าถ้าความคิดเห็นของพวกเขาถูก(มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะไม่ค่อยดีขึ้น) ทำไมบริษัทญี่ปุ่นรู้สึกสนใจกับการลงทุนที่ไทยในอีก ๒-๓ ปี ข้างหน้ามากกว่าประเทศอื่น (โจคิดว่าหลายบริษัทลงทุนในไทยเพราะว่า พวกเขาคิดว่ายอดขายในประเทศไทย กับการส่งออกไทยจะเพิ่ม พวกเขาเข้าใจผิดหรือไม่) ไม่แน่ใจว่าโจมองในแง่ดีมากและความคิดเห็นของตัวเองอะไรๆก็ผิดหรือไม่ แต่ยังไม่กล้าเห็นด้วยกับความคิดเห็นของคนที่รู้จักโดยไม่ตรวจสอบให้ละเอียดก่อน



Saturday, 24 January 2015

ไปดูการแสดงของ ทะกะระซึกะ

อาทิตย์ที่แล้วโจไปดูการแสดงของทะกะระซึกะซึงเป็นหนึ่งในสวัสดิการของบริษัท (ทะกะระซึกะ คือ คณะนักแสดงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในญี่ปุ่นและมีแต่นักแสดงผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงาน ปกติผู้ชมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงแต่ดูเหมือนว่าเดี๋ยวนี้จำนวนผู้ชมผู้ชายก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นอยู่) 
การแสดงที่โจไปดูมี ๒ ภาค ตอนแรกมีการแสดงเกี่ยวกับเรื่องพระเจ้ากุสตาฟที่ ๓ ของประเทศสวีเดนโจรู้สึกสนุกมากกว่าที่คิดเอาไว้และรู้สึกตกใจที่ดูการเปลี่ยนของเวที หลังจากเรื่องนี้จบ  มีการแสดงที่ไม่มีเรื่อง(ร้องเพลงและเต้น) รู้สึกว่าหรูหรามากแต่อยากให้มีเนื้อหาด้วยที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับคนที่ไม่มีหัวทางศิลปะ หัวข้อของการแสดงนี้ คือ Phoenix และดูเหมือนว่าทุกฉากก็เกี่ยวกับ Phoenix แต่ไม่เข้าใจข้อความทีต้องการสื่อของการแสดงนี้ (ไม่แน่ใจว่ามีข้อความหรือไม่) ดีใจที่ได้รู้ว่าการแสดงของคณะที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเป็นอย่างไร แต่รู้สึกว่า ๑ ครั้งก็พอสำหรับโจ (การเข้าใจความน่าดึงดูดของการแสดงก็ยาก)

Monday, 19 January 2015

อัตราแลกเปลี่ยนโดยทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ

ตอนนี้โจเขียนรายงานเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาท และ รู้สึกตกใจที่รู้ว่าค่าเงินบาทในตลาตการเงินถูกกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่มาจากทฤษฏีความเสมอของอำนาจซื้อมากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์
สำหรับค่าเงินเยน ความแตกต่างน้อยกว่า ๒๐ เปอร์เช็นต์ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราอัตราแลกเปลี่ยนที่มาจากทฤษฎีสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจริง แต่สำหรับค่าเงินบาท อัตราที่มาจากอัตราทฤษฏีไม่ค่อยเกี่ยวกัน ดูเหมือนว่านอกจากค่าเงินบาทแล้ว ค่าเงินของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียก็ถูกกว่าอัตราที่มาจากทฤษฏี อยากจะรู้ว่าถ้าประเทศเหล่านี้ที่มีการผ่อนปรนกฎข้อบังคับ จำทำให้ ค่าเงินแข็งขึ้นหรือไม่

Sunday, 18 January 2015

วันครบรอบ ๒๐ ปี

http://www.city.kobe.lg.jp/information/project/shinsai20/shinsai20logo.html
(เขียนวันที่ ๑๗) วันนี้โจรู้สึกตกใจที่รู้ว่าวันนี้แป็นวันครบรอบ ๒๐ ปี ของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮังชิง(ญี่ปุ่น) พ.ศ ๒๕๓๘ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวนั้น โจยัง ๑๑ ขวบ และชีวิตประจำวันของเด็กที่อยู่ที่โตเกียวไม่เปลี่ยนอะไรเลย(จึงไม่ค่อยจำรายละเอียด)  แต่จำได้ว่าทางด่วนฮังชิงถล่มลงมา
วันนี้มีโอกาสดูรายการเกี่ยวกับ ๒๐ ปี ตั้งแต่แผ่นดินไหวนั้นเกิด รู้สึกสนใจกับวิธีฟื้นฟูเมืองโดยไม่เกิดผลเสีย ที่ โคเบะ  ตอนแรกมีหลายคนที่ไม่มีบ้านและอยู่ที่บ้านชั่วคราว หลังจากรัฐบาลสร้างคอนโดมิเนียม รัฐบาลจะต้องเลือกคนที่จะเข้าคอนโดนั้นเพราะว่าจำนวนคอนโดมิเนียมไม่พอ ตอนนั้นรัฐบาลให้ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวเข้าก่อนเพื่อช่วยเหลือ แต่คอนโดมิเนียมนั้นมีแต่ผู้สูงอายุไม่มีวัยรุ่นที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุบางคนเสียชีวิตโดยไม่มีใครสังเกตเห็น (เมื่อเลือกคนที่เข้าคอนโดมิเนียม มีคนบอกว่าให้ครอบครัวอายุน้อยเข้าคอนโดมิเนียมด้วยดีกว่า แต่ถ้าให้คนอายุน้อยเข้าด่วย ผู้สูงอายุหลายคนจะต้องอยู่บ้านชั่วคราวที่คุณภาพชีวิตไม่ดีนานๆ ) ดูเหมือนว่าตอนนี้เมืองโคเบะบ้านกับตึกสร้างและกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ปัญหาอื่นเช่นสังคมผู้สูงอายุใหญ่ขึ้น

Tuesday, 13 January 2015

ผลกระทบของการลดลงของราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจเอเซีย

ตั้งแต่ ๓-๔ เดือนที่แล้ว ราคาน้ำมันระหว่างประเทศลดลงราว ๕๐ เปอร์เซ็นต์  และโจกำลังตรวจสอบผลกระทบของการลดลงต่อเศรษฐกิจเอเซีย  เขียนรายงานยังไม่เสร็จ แต่เข้าใจว่า 1) โดยสรุปการลดลงของราคาน้ำมันเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อเศรษฐกิจเอเซีย (สำหรับประเทศมาเลเซีย เกิดผลเสียมากกว่าผลดีในระยะสั้น  แต่ในระยะยาวมีผลดีมากกว่า) 2)ผลกระทบต่อ ไทย สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกงมากกว่าประเทศอื่น (เพราะว่าพลังงานของ ประเทศอื่นเช่น ประเทศ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ขึ้นอยู่กับถ่านหินด้วยและ ความสำคัญของน้ำมันต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศอื่น) 
From The Economist "Daily chart : Oil at $50"
http://www.economist.com/blogs/graphicdetail/2015/01/daily-chart-1
แต่ยังไม่แน่ใจว่านโยบายทางการเงินของแต่ละประเทศ(รวมประเทศพัฒนาแล้ว)จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรและจะเกิดผลกระทบอะไรต่อเอเซีย อยากจะรู้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะสามารถแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืดหรือไม่

Monday, 12 January 2015

อ่านหนังสือเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์

เดือนที่แล้วกับเดือนนี้โจอ่านหนังสือเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ ๒ เล่ม และรู้สึกหลายสิ่ง ตอนแรก โจอ่านอัตชีวประวัติของ ลี กวนยู ที่เขาเขียนราวๆ ๑๕ ปีที่แล้ว โจรู้สึกตกใจที่รู้รายละเอียดของกรรมวิธีสร้างประเทศ ไม่แน่ใจว่าระบบแบบสิงคโปร์ดีกว่าแบบอื่นหรือไม่ แต่เข้าใจว่าทำไมเขาคิดว่าความสงบสุขกับระเบียบของสังคมสำคัญกว่าเสรีภาพสื่อมวลน  โจรู้สึกประทับใจกับความสามารถของเขา (เขามีความเชื่อที่ชัดเจน ความสามารถทางภาษา และความเป็นผู้นำ)
หลังจากอ่านหนังสือนี้ โจอ่านหนังสืออื่นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สิงคโปร์ที่นักวิจัยคนญี่ปุ่นเขียนหนังสือนี้รอบรวมการเปลี่ยนแปลงของการเมืองกับเศรษฐกิจหลังจากอัตชีวประวัติของ ลี กวนยูตีพิมพ์ และ บอกว่าการเมืองแบบ ลี กวนยู อาจจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ความเป็นไปได้ที่พรรคฝ่ายค้านจะเป็นรัฐบาลก็ยังน้อย โจรู้สึกว่าหนังสือนี้รวมความคิดเห็นที่อัตชีวประวัติของ ลี กวนยูไม่มี และ โจรู้สึกว่ารัฐบาลสิงคโปร์มีอำนาจเผด็จการมากกว่าที่โจรู้สึกเมื่ออ่านอัตชีวประวัติของลี กวนยู

ไม่แน่ใจว่าระบบแบบสิงคโปร์เหมาะสมกับประเทศอื่นหรือไม่ แต่โจรู้สึกว่าแนวทางของประเทศจีนเป็นแบบสิงคโปร์

ดูหนังหลายเรื่อง

ระว่างวันหยุดในปีใหม่ที่ผ่านมา โจดูหนังหลายเรื่องเหมือนปีที่แล้ว
English Vinglish…......เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงชาวอินเดียที่จะพยายามเรียนภาษาอังกฤษ ครอบครัวของเธอทุกคนสามารถพูดภาษาอังกฤษกับภาษาฮินดีได้ แต่ภาษาอังกฤษของเธอไม่ค่อยเก่งและเธอรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น ระหว่างที่เธอไปช่วยงานแต่งงานของญาติที่นครนิวยอร์ก เธอตัดสินใจว่าจะเรียนภาษาอังกฤษ โจรู้สึกประทับใจกับฉากสุดท้ายที่เขากล่าวสุนทรพจน์ให้คู่แต่งงานโดยใช้ภาษาอังกฤษ
 The Grand Budapest Hotel…......เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพนักงาน ๒ คนของโรงแรมที่ดีชื่อแกรนด์บูดาเปสต์ พวกเขาได้เข้าไปมีส่วนพัวพันกับคดีฆาตกรรมของลูกค้าที่เคยมาพัก จะอธิบายความน่าดึงดูดของเรื่องนี้ยาก แต่โจชอบบรรยากาศของเรื่องนี้
The Tale of the Princess Kaguya…......เรื่องนี้มาจากนิทานโบราณของญี่ปุ่น พ่อเฒ่าเจอเจ้าหญิงในป่าไผ่ และดูแลอย่างดี พ่ออยากให้เจ้าหญิงแต่งงานกับผู้ชายที่มีตำแหน่งในสังคมชั้นสูง แต่เธอปฏิเสธความคิดของพ่อและสุดท้ายเธอจึงกลับไปดวงจันทร์ (เขามาจากดวงจันทร์) เรื่องนี้ไม่เหมือนกันกับเรื่องดั้งเดิม แต่โจรู้สึกสงสารเขามากในฉากสุดท้าย
Doraemon Stand by me…......เรื่องนี้มาจากเรื่องที่มีชื่อเสียงของโดราเอมอน เวอร์ชั่นหนังก็สนุกดี  ไม่แน่ใจว่าโจยังไม่ชินกับวอยซ์แอกเตอร์ (เสียงพากษ์)ใหม่หรือไม่ แต่โจรู้สึกว่าเวอร์ชั่นการ์ตูนยังดีกว่า
Rurouni Kenshin......เรื่องนี้ก็มาจากการ์ตูน โจรู้สึกว่าสำหรับเนื้อหาเวอร์ชั่นการ์ตูนดีกว่า แต่รู้สึกว่าฉากแอคชั่นดีมาก และการแสดงของนักแสดง ฟุจิวะระ ทะสึยะ ดี
Scissor Hands…......เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่มีมือเป็นกรรไกร (คนที่ผลิตเขาเสียชีวิตก่อนเปลี่ยนมือเป็นมือธรรมดา) ตอนแรกเขาใช้ชีวิตคนเดียวที่บ้านที่อยู่ไกลจากเมือง แต่ผู้ญิงที่เข้าบ้านเจอกับเขา และให้เขาอยู่กับครอบครัวของเธอ เขา(หุ่นยนต์) นิสัยดีและอยากจะอยู่กับหลายคนอย่างดี แต่มือของเขาเกิดหลายปัญหา โจอยากจะรู้ว่าทัศนคติของผู้คนมีต่อเธอสะท้อนความรู้สึกของเราต่อชนกลุ่มน้อย หรือไม่

Sunday, 11 January 2015

การไปเที่ยวไทย



สิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาโจไปเที่ยวไทยเหมือนเดิม ครั้งนี้ไม่ค่อยไปหลายที่และพักผ่อนนานๆที่หัวหินกับกรุงเทพฯ เพราะว่าปีที่แล้ว โจไปเชียงใหม่และเป็นหวัด  รู้สึกตกใจที่รู้ว่าหัวหินเย็นมากกว่ากรุงเทพฯ(จึงไม่สามารถว่ายน้ำได้เลย ) ตอนโจพักที่หัวหิน โจไปเที่ยวที่วังบ้านปืน – เพชรบุรีกับ กองบิน ๕ –ประจวบ รู้สึกว่าประจวบก็น่าอยู่(ชายหาดมีคนน้อยและเงียบกว่าหัวหิน)  
 
สำหรับอาหาร โจรู้สึกว่าอาหารของโรงแรมเชราตันอร่อยมากๆ (เมื่อไปทานอาหาร โจไม่ค่อยหิว แต่ยังรู้สึกอร่อยมาก อยากจะรู้ว่าจะรู้สึกอย่างไรเมื่อรู้สึกหิวมาก )

หลังจากกลับกรุงเทพฯ โจไปทานอาหารหรือกาแฟกับเพื่อนหลายคน ดีใจที่ได้รู้ว่าทุกคนสบายดีเหมือนเดิม 

นอกจากนี้แล้ว โจไปที่ที่ยังไม่เคยไปด้วย เช่นโจไปห้องสมุดแห่งชาติเพื่อหาข้อมูลฉบับเก่าๆสถิติทางเศรษฐกิจ ดูเหมือนว่าถ้าเช็คหนังสือเก่า เราสามารถเก็บข้อมูล ราวๆ ๓๐- ๕๐ ปี ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒  ได้   หลังจากนั้น โจแวะถนนข้าวสารเป็นครั้งแรกใน รอบ ๘ ปีที่ผ่านมาและคิดถึงสมัยนักศึกษาที่มาที่นี่บ่อยๆ รู้สึกว่าบรรยากาศเปลี่ยนไปนิดหน่อย และ สะอาดขึ้นด้วย 
ไม่แน่ใจว่าปีนี้จะมาเที่ยวไทยกี่ครั้งเพราะว่าค่าเงินเยนลดลงมากๆ และรู้สึกว่าอะไรๆแพงมากราวๆ๓๐- ๔๐ เปอร์เซ็นต์ (ราคาอาหารญี่ปุ่นที่โจทานที่สยามพารากอนก็แพงกว่าญี่ปุ่น) ยังไม่แน่ใจว่าค่าเงินเยนจะแข็งขึ้นอีกครั้งหรือไม่ แต่โจเริ่มคิดว่าระหว่างค่าเงินเยนถูกมาก จะไปเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นแทนไทยก็ดี (ยังมีหลายที่ที่ยังไม่เคยไป)

เป้าหมายในปี ๒๕๕๘



ปีที่แล้วก็มีเรื่องดีกับเรื่องไม่ดีหลายเรื่อง แต่โจรู้สึกว่าโดยสรุป ปีที่แล้วเป็นปีไม่ค่อยดีเพราะว่าโจไม่ค่อยสบายและไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของปีที่แล้วที่โจคิดเอาไว้ได้เลย (ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับความเครียดหรือไม่ แต่ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โจรู้สึกเจ็บกระเพาะมากบ่อยๆและทำให้โจรู้สึกเหนื่อยและหมดแรง) 
ในที่สุดโจก็เข้าใจความสำคัญของสุขภาพกับการออกกำลังกาย ดังนั้นเป้าหมายของปีนี้ คือ จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นและบรรลุเป้าหมายของปีที่แล้วที่ยังไม่บรรลุเลยให้ได้