Monday 11 February 2013

นโยบายด้านแรงงานผู้สูงอายุของญี่ปุ่น



ปีนี้โจต้องตรวจสอบสถานการณ์เศรษฐกิจของต่างประเทศในเอเชียจึงไม่มีเวลาที่เขียนรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวนี้มีหัวข้อที่โจรู้สึกสนใจมาก เดี๋ยวนี้หลายบริษัทเพิ่มอายุเกษียณจาก ๖๐ ปี เป็น ๖๕ ปี แล้วและผู้สูงอายุสามารถทำงานต่อไปได้และบริษัทมีอำนาจที่จะเลือกว่าบริษัทจะจ้างพวกเขาต่อไปหรือไม่ แต่ตั้งแต่เดือนเมษายนหน้า นโยบายด้านแรงงานผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลง หลังจากเมษายนหน้า ถ้าพนักงานผู้สูงอายุอยากจะทำงานต่อไปหลังจากเกษียณอายุแล้ว บริษัทจะต้องจ้างพวกเขาต่อไป
นโยบายนี้เปลี่ยนแปลงเป็นแบบนี้ เพราะงบประมาณของรัฐบาลญี่ปุ่นมีปัญหามากและจะต้องเพิ่มอายุที่ผู้สูงอายุเริ่มได้รับเงินบำนาญ (จาก ๖๐ ปี เป็น ๖๕ ปี) รัฐบาลอยากจะให้โอกาสผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง ๖๐ ปี ถึง ๖๕ ปี ในการทำงานมากขึ้นเพื่อทำให้ชีวิตของพวกเขามั่นคง แต่หลายคนกลัวว่านโยบายนี้จะเกิดผลเสียต่อแรงงานรุ่นใหม่

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่าคนที่คิดแบบนั้นเข้าใจผิดว่าจำนานการทำงานในสังคมมีจำกัด ถ้าผู้สูงอายุจะทำงานต่อไป เศรษฐกิจจะขยายตัวและจำนวนแรงงานในสังคมก็เพิ่มขึ้นด้วย
 (จริงๆแล้ว ในประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศที่มีอัตราการเข้าร่วมตลาดแรงงานของคนรุ่นเก่าสูงนั้น อัตราของรุ่นใหม่ก็สูงด้วย)
โจก็คิดว่าในสังคมทีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มและจำนวนวัยรุ่นลดลง ผู้สูงอายุควรจะทำงานนานกว่าเมื่อก่อนและควรจะช่วยเหลือเศรษฐกิจ โจเห็นด้วยกับนโยบายการเพิ่มอายุเกษียณกับนโยบายการเพิ่มอายุได้รับเงินบำนาญ แต่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบบนี้ เพราะโจคิดว่าบริษัทควรจะมีอำนาจที่ไม่จ้างพนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ /ความสามารถ/ไม่ตั้งใจทำงาน หรือ มีอำนาจที่ลดร้ายได้ของผู้สูงอายุเพื่อให้รายได้ของพวกเขาเหมาะกับประสิทธิภาพ /ความสามารถของพวกเขา (ในสังคมญี่ปุ่น หลายบริษัทมีระบบรายได้แบบที่แรงงานใหม่ได้รบร้ายได้น้อยกว่าประสิทธิภาพ /การทำงาน แต่ แรงงานรุ่นเก่าได้รับมากกว่าประสิทธิภาพ /การทำงาน เพื่อ อยากจะให้แรงงานใหม่ทำงานที่บริษัทตัวเองนาน )
seniority
 
ดูเหมือนว่าหลายบริษัทคิดว่าพวกเขาจะต้องจ้างแรงงานผู้สูงอายุที่ไม่มีประสิทธิภาพ /ความสามารถ หรือ ไม่ตั้งใจทำงานมากต่อไป และ เศรษฐกิจจะไม่ขยายตัว แม้ว่าบริษัทจะลดรายได้ของผู้สูงอายุ รายได้ของพวกเขาก็ยังสูงว่าความสามารถของพวกเขา  หลายบริษัทก็เลยเริ่มลดรายได้ของแรงงานรุ่นใหม่และลดจำนวนพนักงานใหม่ที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยลงแทน เพื่อป้องกันแรงงานผู้สูงอายุที่ไม่มีประสิทธิภาพ โจคิดว่านโยบายใหม่นี้จะช่วยเหลือ แค่กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มี ประสิทธิภาพ /ความสามารถ/ไม่ตั้งใจทำงานเท่านั้น (เพราะถึงไม่มีนโยบายนี้ คนที่มีประสิทธิภาพ /ความสามารถ/ตั้งใจทำงาน ก็ยังอาจจะสามารถหาโอกาสทำงานต่อไปได้) ดูเหมือนว่าผู้จัดการคิดว่าการลดรายได้ของแรงงานรุ่นใหม่ง่ายกว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของผู้สูงอายุ
โจไม่ชอบสถานการณ์แบบนี้เลย ถ้ามีเวลามากกว่าตอนนี้อยากจะเขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ (แต่ดูเหมือนว่าการประเมินประสิทธิภาพของแรงงานแต่ละรุ่นยากมาก)

No comments:

Post a Comment